เกี่ยวกับเรา

ภาควิชาสัตวบาล

     ภาควิชาสัตวบาล ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 ในชื่อแผนกสุขศาสตร์และการเลี้ยงบำรุงสัตว์ โดยมี ศาสตราจารย์ มานิต พยัคฑนันท์ เป็นหัวหน้าแผนกท่านแรก และต่อมามี อาจารย์ ประจำคือ ศาสตราจารย์ น.สพ. ดร. เล็ก ธนสุกาญจน์ วิชาที่สอนในระยะแรกเริ่มมี 5 วิชา คือ
        1. การเลี้ยงสัตว์ (การจัดการสัตว์)
        2. การคัดเลือกสัตว์ (Animal selection)
        3. สุขศาสตร์ (Hygiene)
        4. กรรมพันธุ์วิทยา (Genetic)
        5. อาหารสัตว์ (โภชนาการสัตว์)
     ต่อมา ได้มีการพัฒนาหลักสูตร ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ หลายครั้ง และได้มีการเปลี่ยนชื่อแผนกเป็น ภาควิชาสัตวบาล (Department of Animal Husbandry) จนถึงปัจจุบัน
     ปัจจุบัน ภาควิชาฯ มีภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบ ในด้านการเรียนการสอน ใน 3 หลักสูตร คือ สัตวแพทยศาตร์บัณฑิต และ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต และวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต นอกจากนี้ ยังมีภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบ การเลี้ยงสัตว์ที่ศูนย์ฝึกนิสิต (ส่วนภาควิชาสัตวบาล) จังหวัดนครปฐม รวมไปถึง การให้บริการด้านการเรียนการสอน และการวิจัย ต่อหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกคณะ ซึ่งจำเป็นต้อง ใช้สัตว์ทดลอง และหรือ ห้องปฎิบัติการ

ประวัติภาควิชาสัตวบาล

     ตามพระราชบัญญัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 ซึ่งตราไว้เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2478 ได้มีการจัดตั้ง แผนกวิชาสัตวแพทยศาสตร์ขึ้น ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเปิดทำการสอนขึ้นเป็นปีแรก เมื่อ พ.ศ. 2480 โดยได้ยืมตัว พันโทหลวงชัยอัศวรักษ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง หัวหน้ากองสัตวรักษ์กรมเกษตร กระทรวงเกษตราธิการ มาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าแผนกสัตวแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 (คำสั่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ 9/438) และได้เริ่มต้น ทำการสอน โดยอาศัยสถานที่ส่วนหนึ่ง ของตึกวิทยาศาสตร์คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สมัยนั้น หลักสูตรที่แผนกสัตวแพทยศาสตร์วางไว้ มีกำหนด 5 ปี โดยต้องสำเร็จ เตรียมสัตวแพทยศาสตร์ 2 ปีก่อน และเข้าศึกษาสัตวแพทยศาสตร์อีก 3 ปี จึงจะได้ปริญญาสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต ในด้านการเรียนการสอน ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน มาเป็นอาจารย์พิเศษ และได้บรรจุคนไทย ผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาการสัตวแพทยศาสตร์ เข้าเป็นอาจารย์ประจำในสาขาวิชาการต่างๆ 
     ในปี พ.ศ. 2485 โดยพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พุทธศักราช 2485 กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้ถูกสถาปนาขึ้น ในกระทรวงสาธารณสุข และโดยพระราชกฤษฏีกา จัดวางระเบียบราชการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ แผนกสัตวแพทยศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โอนไปสังกัด กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเลื่อนฐานะขึ้นเป็น คณะสัตวแพทยศาสตร์ สำหรับการเรียนการสอนวิชาสัตวบาล ก็คงเป็นเช่นเดิม
     ในปี พ.ศ. 2498 ได้มีการโอน คณะสัตวแพทยศาสตร์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดแบ่งคณะใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทางผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พิจารณาเห็นว่า ได้มีการเรียนการสอนวิชาสัตวบาล ในคณะกสิกรรมและสัตวบาล ซึ่งมีคณาจารย์และอุปกรณ์ สถานที่พร้อมมูลอยู่แล้ว หากจะให้นิสิตสัตวแพทย์ ไปเรียนก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณ และไม่เป็นการซ้ำซ้อนอีกด้วย จึงได้ยุบแผนกวิชาสุขศาสตร์และการเลี้ยงบำรุงสัตว์ และให้อาจารย์ของแผนก ซึ่งมีเพียงสองท่าน ไปสังกัดแผนกวิชาสรีรวิทยา อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนวิชาสัตวบาล ในคณะสัตวแพทยศาสตร์ ก็ยังคงเหมือนเดิม
     ในปี พ.ศ. 2511 คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้โอนกลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง และศาสตราจารย์เตียง ตันสงวน คณบดีสมัยนั้น ได้เสนอให้มีการจัดตั้งแผนกวิชาสัตวบาลขึ้นใหม่ โดยในระยะเริ่มต้น ศาสตราจารย์ ดร.เล็ก ธนสุกาญจน์ สังกัดแผนกวิชาพยาธิวิทยาฯ เป็นผู้รักษาการหัวหน้าแผนกวิชาสัตวบาล ต่อมา สภามหาวิทยาลัย ได้แต่งตั้ง ศาสตราจารย์เตียง ตันสงวน คณบดีดำรงตำแหน่ง หัวหน้าแผนกวิชาสัตวบาลเป็นท่านแรก และต่อมา ศาสตราจารย์มานิต พยัคฆนันทน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนกวิชาสัตวบาลในปี พ.ศ. 2515
     เมื่อมีการตั้งแผนกวิชาสัตวบาลขึ้นใหม่ หลังจาก คณะกลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ศาสตราจารย์เตียง ตันสงวน ได้วางโครงการจัดตั้ง College Farm เช่นที่มีในต่างประเทศ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์และสนับสนุนจาก จอมพลประภาส จารุเสถียร ซึ่งเป็นอธิการบดี และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสมัยนั้น ทำให้ได้ที่ดินแปลงหนึ่งจำนวน 79 ไร่ อยู่ติดกับกรมการสัตว์ทหารบก ในตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่ดินแปลงนี้ ทางกระทรวงมหาดไทย มีแผนจะใช้เป็นเรือนจำกลางจังหวัดนครปฐมแห่งใหม่ จึงต้องนำเรื่อง เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้มีมติให้ มอบที่ดินแปลงนี้ ให้กับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับได้ว่า จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นผู้มีพระคุณในการที่ทำให้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้มีสถานที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ และเป็นที่ฝึกงานของนิสิตจนทุกวันนี้ เมื่อเริ่มต้น คณะฯ จึงได้ขอใช้ชื่อ "ไร่ฝึกนิสิตจารุเสถียร" และจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2515 อีกด้วย
     เมื่อมีที่ดินเป็นของตนเอง ทางคณะฯ ได้ใช้งบประมาณ ในการปรับปรุงพื้นที่ สร้างถนน ปลูกสร้างอาคาร บ้านพัก โรงเรือนคอกสัตว์ชนิดต่างๆ ที่ทำการขุดบ่อบาดาล พัฒนาการเลี้ยงสัตว์ปลูกพืช ฯลฯ และได้ให้มีอาจารย์ ไปอยู่ประจำ อาจารย์ส่วนใหญ่ของภาควิชา ได้เคยทำงานที่ศูนย์ฝึกฯ และมีส่วนร่วมในการพัฒนา การเลี้ยงสัตว์ ตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อให้นิสิต ได้ใช้ในการฝึกงาน โดยเฉพาะการฝึกงาน ทางด้านสัตวบาล และสนับสนุนการเรียนการสอน ของภาควิชาอื่น รวมทั้ง งานวิจัยของอาจารย์ ในคณะด้วย แต่การบริหารงาน จำเป็นต้องทำให้เกิดรายได้ เพื่อเลี้ยงตัวเองด้วย เนื่องจากคณะ มีงบประมาณให้จำนวนจำกัด ตัวอย่าง การบุกเบิกในระยะแรกๆ ได้แก่ การกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงทุนก่อสร้างคอกสุกรขุน ซื้อพันธุ์สุกรและอาหารสัตว์ โดยวางแผนใช้เงินทุนในระดับที่ เกษตรกรจะนำไปเป็นแบบอย่างได้ เมื่อมีรายได้จากการจำหน่ายสุกร ก็ส่งคืนเงินให้มหาวิทยาลัยทั้งหมด นอกจากสุกรแล้ว ยังมีการเลี้ยงเป็ดไก่ไข่ โดยนำผลผลิต เข้ามาจำหน่ายเป็นสวัสดิการ ให้แก่บุคลากรในคณะ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ ยังได้มีการเลี้ยง กระต่ายและแกะ เพื่อประโยชน์ ในการศึกษาวิจัย ของอาจารย์และนักวิจัย ของมหาวิทยาลัย และในสถาบัน อื่น ๆ
     หลังเหตุการณ์ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ด้วยเหตุผลและความจำเป็นทางสังคม “ไร่ฝึกนิสิตจารุเสถียร” จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” หน่วยงานศูนย์ฝึกนิสิต จ.นครปฐม ศาสตราจารย์ น.สพ.เตียง ตันสงวน ได้ให้แผนกวิชาสัตวบาล จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาสัตว์ทดลอง (Laboratory Animal Sciences) นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรก ที่มีการสอนวิชานี้ ในประเทศไทย ในระยะเริ่มต้น ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ เมืองทอง แขมมณี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้วางหลักสูตร และเป็นผู้สอนร่วมกับอาจารย์ ในแผนกวิชาสัตวบาล และอาจารย์พิเศษที่มีความรู้ในด้านนี้ และได้จัดหาทุนให้อาจารย์ของแผนกวิชาสัตวบาล ได้ไปศึกษาอบรมวิชาสัตว์ทดลอง ที่ประเทศญี่ปุ่น และดูงานที่ประเทศ เกาหลีใต้ ไต้หวันและฮ่องกง อีกด้วย
     สำหรับ การพัฒนาของภาควิชา ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การเรียนการสอน วิชาสัตวบาล ตามหลักสูตรของคณะสัตวแพทยศาสตร์ หลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ มีการจัดตั้ง ห้องปฏิบัติการ ทำผลิตภัณฑ์สัตว์เพื่อการสอนนิสิต  จัดตั้งห้องปฏิบัติ การวิเคราะห์อาหารสัตว์ และห้องปฏิบัติการ เซลล์พันธุศาสตร์ในสัตว์
     สำหรับ การพัฒนาในระดับบัณฑิตศึกษา ได้เปิดการเรียนการสอน หลักสูตรปริญญาโท สาขาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ในปีการศึกษา 2537 และสาขาอาหารสัตว์ในปี พ.ศ. 2544

     รายนามผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสัตวบาล อดีต - ปัจจุบัน 

พ.ศ. 2514 – 2515        ศาสตราจารย์ น.สพ. เตียง ตันสงวน
พ.ศ. 2515 – 2517        ศาสตราจารย์ น.สพ. มานิต พยัคฆนันทน์
พ.ศ. 2517 – 2526        รองศาสตราจารย์ น.สพ. สุจินต์ ชลายนคุปต์
พ.ศ. 2526 – 2530        รองศาสตราจารย์ สพ.ญ. วรรณี เมืองเจริญ
พ.ศ. 2530 – 2538        รองศาสตราจารย์ น.สพ. สุจินต์ ชลายนคุปต์
พ.ศ. 2538 – 2539        รองศาสตราจารย์ สพ.ญ. วรรณี เมืองเจริญ
พ.ศ. 2539 – 2547        รองศาสตราจารย์ น.สพ. วิวัฒน์ ชวนะนิกุล
พ.ศ. 2547 – 2551        ศาสตราจารย์ น.สพ. สมชาย จันทร์ผ่องแสง
พ.ศ. 2551 – 2555        รองศาสตราจารย์ น.สพ. ดร. บุญฤทธิ์ ทองทรง
พ.ศ. 2555 – 2563        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ. ชาตรี คติวรเวช
พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน   รองศาสตราจารย์ น.สพ. ดร. จักรกริศน์ เนื่องจำนงค์

บุคลากร

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
รศ. น.สพ. ดร.
จักรกริศน์ เนื่องจำนงค์

รศ. น.สพ. ดร.
จักรกริศน์ เนื่องจำนงค์

หัวหน้าภาควิชาสัตวบาล

อีเมล : Chackrit.N@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022-189684

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
ศ. น.สพ. ดร. 
บุญฤทธิ์ ทองทรง

ศ. น.สพ. ดร.
บุญฤทธิ์ ทองทรง

อาจารย์

อีเมล : Boonrit.T@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189685

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
รศ. สพ.ญ. ดร.
อุตรา จามีกร

รศ. สพ.ญ. ดร.
อุตรา จามีกร

อาจารย์

อีเมล : Uttra.J@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189687

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย

ผศ.น.สพ.
ชาตรี คติวรเวช

อาจารย์

อีเมล : Chatree.K@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189686

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
ผศ. สพ.ญ. ดร.
อนงค์นาฏ อัศวชีพ

ผศ. สพ.ญ. ดร.
อนงค์นาฏ อัศวชีพ

อาจารย์

อีเมล : Anongnart.S@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189683

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
ผศ.ดร.
หทัยรัตน์ พลายมาศ

ผศ. ดร.
หทัยรัตน์ พลายมาศ

อาจารย์

อีเมล : Hatairat.P@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189682

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
อ. สพ.ญ. ดร.
เพราพิลาส ภักดีดินแดน

อ. สพ.ญ. ดร.
เพราพิลาส ภักดีดินแดน

อาจารย์

อีเมล : Praopilas.P@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189625

 







นักวิทยาศาสตร์
นาง
จุฑารัตน์ จิระศุภโชค

นักวิทยาศาสตร์

อีเมล : Jutarat.C@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189678







นักวิทยาศาสตร์
นางสาว
สุกันดา พลสันต

นักวิทยาศาสตร์

อีเมล : Sukanda.p@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022-189678







เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)
นางสาว
รัฐติยากรณ์ เขียวมรกฎ

เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

อีเมล : Rattiyakorn.K@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022-189678







นักวิทยาศาสตร์
นางสาว
พรภัสสร มูลสูงเนิน

นักวิทยาศาสตร์

อีเมล : pronpatsorn.m@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022-189678

 

 

 

 

 

 

เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

นาง
ละเอียด นาคอ่อน

เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

อีเมล : Laiad.N@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022-189679

 

 

 

 

 

 

เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

นางสาว
เพ็ญโฉม เพ็ชรมณี

เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

อีเมล : kea_252426@hotmail.com

เบอร์โทร : 022-189859

 

 

 

 

 

 

พนักงาน

นาย
เดชา ภู่สุวรรณ์

พนักงาน

อีเมล : Decha.p@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022-189859

 

 

 

 

 

 

บุคลากร จ.นครปฐม

นาย
อาทิตย์ เชยกลิ่น

บุคลากร จ.นครปฐม

อีเมล : arthit.c@chula.ac.th

เบอร์โทร : 034-270968

 

 

 

 

 

 

บุคลากร จ.นครปฐม

นางสาว
ชนิตรา แสงอรุณ

บุคลากร จ.นครปฐม

อีเมล : chanitra.s@chula.ac.th

เบอร์โทร : 034-270968

 

 

 

 

 

 

บุคลากร จ.นครปฐม

นางสาว
สรัณภัสร์ วีระพัฒน์

บุคลากร จ.นครปฐม

อีเมล : sarunphas.v@chula.ac.th

เบอร์โทร : 034-270968

 

 

 

 

 

 

บุคลากร จ.นครปฐม

นาย
นิพนธ์ ศรีนุ่นอินทร์

บุคลากร จ.นครปฐม

อีเมล : niphon.sr@chula.ac.th

เบอร์โทร : 034-270968

 

 

 

 

 

 

บุคลากร จ.นครปฐม

นาย
ภิญโญ พลศร

บุคลากร จ.นครปฐม

อีเมล : pinyo.p@chula.ac.th

เบอร์โทร : 034-270968

หลักสูตรที่เปิดสอน

หลักสูตรรายวิชา

หลักสูตรรายวิชาที่ภาควิชารับผิดชอบในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต  

  ระดับปริญญาตรี     รหัสวิชา  

3103102
3103111
3103212
3103303
3103304
3103104
3103305
3103215
3103501

  การดูแลสัตว์เลี้ยง  
  หลักการสัตวบาล 1 
  หลักการสัตวบาล 2  
  การฝึกภาคสนามด้านสัตวบาล
  อาหารสัตว์
  การเลี้ยงสัตว์แปลกต่างถิ่น
  สัตว์ทดลอง                    
  การปรับปรุงพันธุ์สัตว์
  ทักษะทางโภชนาการคลินิคสัตว์เลี้ยง

 

ระดับบัณฑิตศึกษา    รหัสวิชา  

3103714
3103715
3103794

  ชีวสถิติทางวิทยาศาสตร์สัตว์
  การวางแผนการทดลองทางสัตวศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์
  สัมมนาทางสัตวศาสตร์ประยุกต์ 1

                   

รายวิชาเลือก               แบบ  2.1 : 6 หน่วยกิต
                                  แบบ 2.2 : 18 หน่วยกิต
ระดับบัณฑิตศึกษา    รหัสวิชา  

3100700
3103701
3102705
3103702
3103703
3103704
3103716
3103717
3103740
3103741
3103742
3103743
3103748
3103749
3103750
3103751
3103752
3103795
3103796
3103797
3103798
3103718
3103897

  วิธีวิทยาการวิจัยทางสัตวแพทยศาสตร์
  สรีรวิทยาขั้นสูงของระบบทางเดินอาหารในปศุสัตว์
  การวิเคราะห์เชิงสถิติทางการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ 1
  การวิเคราะห์เชิงสถิติทางการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ 2
  พันธุศาสตร์ปริมาณในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
  อณูและเซลล์พันธุศาสตร์ในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ 
  คอมพิวเตอร์ประยุกต์เพื่อการวิจัยทางสัตวศาสตร์และสัตวแพทยศาสตร์
  ปัญหาพิเศษทางการปรับปรุงพันธุ์สัตว์
  อาหารสัตว์ขั้นสูง 1
  อาหารสัตว์ขั้นสูง 2
  การผลิตอาหารสัตว์
  เทคนิคการประเมินคุณภาพอาหารสัตว์
  อาหารสัตว์กระเพาะเดี่ยว
  ความผิดปกติที่เกิดจากสารอาหารและเมแทบอลิสมในสัตว์
  อาหารสัตว์เลี้ยง
  อาหารสัตว์กระเพาะรวม
  อณูโภชนศาสตร์ทางการสัตวแพทย์
  สัมมนาทางสัตวศาสตร์ประยุกต์ 2
  การจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์
  การจัดการธุรกิจสินค้าการเกษตร
  การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง: วิวัฒนาการโดยมนุษย์
  การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ขั้นสูง
  การสอบวัดคุณสมบัติ

 

ผลงานวิจัย

  1. Nuengjamnong, C. and Angkanaporn, K. 2018. Efficacy of dietary chitosan on growth performance, hematological parameters and gut function in broilers.Italian Journal of Animal Science. 17(2):428-435. 
  2. Vimon, S, Angkanaporn, K. and Nuengjamnong, C.2021. Evaluation of dietary probiotic (Bacillus subtilis KMP-BCP-1 and Bacillus licheniformis KMP-9) supplementation and their effects on broiler chickens in a tropical region. J. Applied Animal Research. 48(1):365-371. 
  3. Thuekeaw, S, Angkanaporn, K., Chirachanchai, S. and Nuengjamnong, C.2021.Dual pH responsive via double - layered microencapsulation for controlled release of active ingredients in simulated gastrointestinal tract: A model case of chitosan-alginate microcapsules containing basil oil (Ocimum basilicum Linn.). Polymer Degradation and Stability. 191.https://doi.org/10.1016/j.polymdegradstab.2021.109660. 
  4. Ruchusatsawat, K., Nuengjamnong, C.,Tawatsin, A., Thiemsing, L., Kawidam, C., Somboonna, N.and Nuanualsuwan,S. 2021.Quantitative Risk Assessments of Hepatitis A Virus and Hepatitis E Virus from Raw Oyster Consumption. Risk Analysis. https://doi.org/10.1111/risa.13832.
  5. Thuekeaw, S, Angkanaporn, K. and Nuengjamnong, C.2022.  6icroencapsulated basil oil (Ocimum basilicum Linn.) enhances growth performance, intestinal morphology, and antioxidant capacity of broiler chickens in the tropics. Animal Bioscience. 35(5): 752-762. 
  6. Khantasup, K., Tungwongjulaniam, C., Theerawat, R., Lamaisri, T., Piyalikit, K., Nuengjamnong, C.and Nuanualsuwan, S. 2022. Cross-sectional risk assessment of zoonotic Streptococcus suis in pork and swine blood in Nakhon Sawan Province in northern Thailand. Zoonoses Public Health. https://doi.10.1111/zph 12951
  7. Panumas Kongpanna, Uttra Jamikorn and Dachrit Nilubol. 2019. The pig growth: The difference between feed properties and nutrient composition on performance and feed cost production in commercial farm. Proceeding of the 18th Chulalongkorn University Veterinary Conference, April 24-26, 2019, IMPACT Forum Building IMPACT Exhibition and Convention Center, Bangkok, Thailand.
  8. Panumas Kongpanna, Uttra Jamikorn, John Doerr and Dachrit Nilubol. 2019. PSXI-38-Effect of Nutrisound Dry Concentrate on Performance of Sows and Weaned Pigs on a Commercial Farm in Thailand. Proceeding of 2019 ASAS-CSAS Annual Meeting & Trade Show, Austin, Texas, July 8-11, 2019
  9. Panumas Kongpanna, Sukanda Ponsan and Uttra Jamikorn. 2022. Analysis of total amino acids in feedstuffs using a validated HPLC method with diode array detection (HPLC-DAD). Thai Journal of Veterinary Medicine. 52(Suppl.): 221-222.
  10. Aprilia Rizky Riadini, Pornchalit Assavacheep, Kris Angkanaporn and Anongnart Assavacheep. (2021). Effect of dietary microencapsulated organic acids and essential oils on sow performances. Thai Journal of Veterinary Medicine. 51(Suppl.): 249-250.
  11. Harutai Sayan, Pornchalit Assavacheep, Kris Angkanaporn and Anongnart Assavacheep. (2018). Effect of Lactobacillus salivarius on growth performance, diarrhea incidence, fecal bacterial population and intestinal morphology of suckling pigs challenged with F4+ enterotoxigenic Escherichia coli. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 31(8):1308-1314.
  12. Phan Thi Tuoi, Pornchalit Assavacheep, Kris Angkanaporn and Anongnart Assavacheep. (2016). Effects of b-Glucan and mannan-oligosaccharide supplementation on growth performance, fecal bacterial population, and immune responses of weaned pigs. Thai Journal of Veterinary Medicine. 46(4): 589-599.
  13. Harutai Sayan, Pornchalit Assavacheep, Kris Angkanaporn and Anongnart Assavacheep. (2015). Effect of Lactobacillus salivarius on growth performance, diarrhea incidence and intestinal bacterial counts of suckilng pigs challenged with Escherichia coli F4. Proceedings of the 5th National and International Conference on Sustainable Community Development. Thailand. P73.
  14. Buaban, S., K. Lengnudum, W. Boonkum, and P. Phakdeedindan. 2022. Genome-wide association study on milk production and somatic cell score for Thai dairy cattle using weighted single-step approach with random regression test-day model. Journal of Dairy Science 105(1):468-494.
  15. Phakdeedindan, P., M. Wittayarat, T. Tharasanit, M. Techakumphu, M. Shimazaki, R. Sambuu, M. Hirata, F. Tanihara, M. Taniguchi, and T. Otoi. 2022. Aberrant levels of DNA methylation and H3K9 acetylation in the testicular cells of crossbred cattle–yak showing infertility. Reproduction in Domestic Animals 57(3):304-313.
  16. Phakdeedindan P, Setthawong P, Techakumphu M, Tharasanit T. Combination of rock inhibitor, hypoxia and melatonin improved differentiation of rabbit induced pluripotent stem cells into cardiac progenitor cells. The Thai Journal of Veterinary Medicine. 2019 May 16;49(1):15-25.
  17. Phakdeedindan P, Setthawong P, Tiptanavattana N, Rungarunlert S, Ingrungruanglert P, Israsena N, Techakumphu M and Tharasanit T. 2019. Rabbit induced pluripotent stem cells retain capability of in vitro cardiac differentiation. Exp Anim. 68(1): 35-47.
  18. Setthawong P, Phakdeedindan P, Tiptanavattana N, Rungarunlert S, Techakumphu M and Tharasanit T. 2019. Generation of porcine induced-pluripotent stem cells from Sertoli cells. Theriogenology. 127: 32-40.
  19. Setthawong P, Phakdeedindan P, Techakumphu M, Tharasanit T. 186 Improving Success Rate of Establishment and Maintenance of Porcine Induced Pluripotent Stem Cells by Investigation of Colony Morphology. Reproduction, Fertility and Development. 2018 Jan 30;30(1):233.
  20. Rungarunlert S, Chakritbudsabong W, Pamonsupornvichit S, Sariya L, Pronarkngver R, Chaiwattanarungruengpaisan S, Ferreira JN, Setthawonge P, Phakdeedindan P, Techakumphu M, Tharasanit T. 184 Establishment of Porcine Induced Pluripotent Stem Cell Lines by Adding LIN 28 Transcription Factor. Reproduction, Fertility and Development. 2018 Jan 30;30(1):232

ห้องปฏิบัติการอาหารสัตว์

อัตราค่าบริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง ห้องปฏิบัติการอาหารสัตว์

การวิเคราะห์

วิธีการวิเคราะห์

ค่าบริการ (บาท/ตัวอย่าง)

 1.1 การวิเคราะห์ค่าโดยประมาณ (Proximate analysis)
        - ความชื้น   Oven drying 100
        - โปรตีน   KJeldahl Method; Nx6.25 350
        - ไขมัน   Ether extract 250
        - เยื่อใย   Fritted glass crucible method 300
        - เถ้า   Dry ash  150
 1.2 การวิเคราะห์แร่ธาตุ (Minerals)
        - แคลเซียม   TiTration 300
        - ฟอสฟอรัส             Spectrophotometry 200
   
 รายการอื่นๆ
 ค่าบริการเตรียมตัวอย่าง   บดละเอียด 50
 อบแห้งและบดละเอียด 100
 ค่าบริการออกผลภาษาอังกฤษ   100

  * ปริมาณตัวอย่างสำหรับวิเคราะห์ใช้ 100 กรัม
** กรณีอบแห้งแล้วแต่ยังไม่ได้บดละเอียดใช้ตัวอย่าง 150-200 กรัม / กรณีตัวอย่างสดยังไม่ได้อบแห้ง ใช้ตัวอย่าง 500-1,000 กรัม

การขอรับบริการ
1. การส่งตัวอย่าง
    1.1 การส่งตัวอย่างด้วยตนเอง
               ผู้รับบริการติดต่อส่งตัวอย่างและส่งแบบฟอร์มส่งตัวอย่างที่ห้องปฏิบัติการอาหารสัตว์ ภาควิชาสัตวบาล ชั้น 10 อาคาร 60 ปี
               คณะสัตวแพทยศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ในวันและเวลาราชการ   (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มส่งตัวอย่างได้ที่
               หัวข้อดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
    1.2 การส่งตัวอย่างทางไปรษณีย์
               ผู้รับบริการกรอกข้อมูลลงใน    Google form <คลิก>  หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทาง   Animalnutritionlab.vetcu@gmail.com 
               หรือโทร.  02-218-9678,  02-218-9679,    02-218-9680    เมื่อเจ้าหน้าที่พิจารณาตัวอย่างที่ต้องการส่งวิเคราะห์เรียบร้อย
               แล้วจะดำเนินการแจ้งกลับทางอีเมล์อีกครั้ง เพื่อให้ผู้รับบริการส่งตัวอย่างและแบบฟอร์มส่งตัวอย่างมาที่ ห้องปฏิบัติการอาหาร
               สัตว์ ภาควิชาสัตวบาล ชั้น 10 อาคาร 60 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เลขที่  39  ถ.อังรีดูนังต์  แขวง
               วังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหาคร 10330
2. การตรวจรับตัวอย่างและแจ้งค่าบริการ
          เจ้าหน้าที่ทำการตรวจรับตัวอย่าง และจัดทำใบแจ้งค่าบริการวิเคราะห์ตัวอย่างส่งกลับทางอีเมล์
3. การชำระเงิน (ชำระเงินได้ก็ต่อเมื่อได้รับใบแจ้งค่าบริการวิเคราะห์ตัวอย่างจากเจ้าหน้าที่แล้วเท่านั้น)
    3.1 เงินสด
               ชำระเงินที่ฝ่ายการเงิน อาคาร 50 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  
    3.2 โอนเงิน
               โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์
               ชื่อบัญชี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 152-044018-9
               เมื่อชำระเงินแล้วให้ผู้รับบริการส่งหลักฐานการโอนเงินกลับมาที่ อีเมล์ Animalnutritionlab.vetcu@gmail.com
4. การวิเคราะห์ตัวอย่าง
         เจ้าหน้าที่ดำเนินการวิเคราะห์ตัวอย่าง ใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์ประมาณ 7-10 วัน ไม่นับวันหยุดราชการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
         จำนวนตัวอย่าง โดยจะเริ่มวิเคราะห์หลังจากได้รับหลักฐานการชำระเงินแล้ว 1 วัน
5. การส่งใบรายงานผลการวิเคราะห์ตัวอย่างและใบเสร็จรับเงิน
         ห้องปฏิบัติการฯ จะจัดส่งใบรายงานผลการวิเคราะห์ตัวอย่างและใบเสร็จรับเงิน ตามที่ผู้รับบริการระบุไว้ในแบบฟอร์มส่งตัวอย่าง


 

 

ไม่มีข้อมูล

ที่ตั้ง

ภาควิชาสัตวบาล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 10 อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 39 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อเจ้าหน้าที่

Social Network