เกี่ยวกับเรา

     ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ  ซึ่งงานด้านสัตวแพทยสาธารณสุขเป็นงานที่เกี่ยวกับ สุขอนามัยของคนและสัตว์ และเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ด้านโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonoses)  ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) และอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health)  ซึ่งแนวทางการดำเนินงานและการศึกษาดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติของภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

     ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นภาควิชา ที่เปิดสอนเป็นลำดับที่  9  ของหลักสูตร สัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต   โดยประกาศ เป็นทางการ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 218 วันที่ 12 ธันวาคม 2532  ซึ่งขณะนั้น รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. เกรียงศักดิ์  สายธนู (ผู้ล่วงลับ) ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขจนถึงปี 2538  ทั้งนี้งานด้านสัตวแพทยสาธารณสุขเป็นงานที่เกี่ยวกับสุขอนามัยของคนและสัตว์  และเศรษฐกิจของประเทศ  เช่น  ด้านโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน (Zoonoses) ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) และอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health) ซึ่งแนวทางการดำเนินงานและการศึกษาดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการบริหารจัดการภาควิชาและมีหัวหน้าภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข ตามลำดับดังนี้

  รายชื่ออาจารย์ ดำรงตำแหน่ง ระหว่างปี
1   รศ.น.สพ.ดร. เกรียงศักดิ์ สายธนู   รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชา   ปีพุทธศักราช 2532 ถึง 2538
2   ผศ.ดร. สุเทพ เรืองวิเศษ   หัวหน้าภาควิชา   วันที่ 26 ต.ค. 2538 ถึงวันที่ 26 ต.ค. 2546
3   ผศ.สพ.ญ.ดร. เบญจมาศ ปัทมาลัย   หัวหน้าภาควิชา   วันที่ 27 ต.ค. 2546 ถึงวันที่ 27 ต.ค. 2550
4   รศ.น.สพ.ดร. อลงกร อมรศิลป์   หัวหน้าภาควิชา   วันที่ 28 ต.ค. 2550 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2556
5   รศ.สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์ ชวนชื่น   รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชา   วันที่  1 ต.ค. 2556 ถึงวันที่ 30 ม.ค. 2557
6   ผศ.สพ.ญ.ดร. เบญจมาศ ปัทมาลัย   หัวหน้าภาควิชา   วันที่ 31 ม.ค. 2557 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2558
7   รศ.สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์ ชวนชื่น   หัวหน้าภาควิชา   วันที่  1 ต.ค. 2558 ถึงวันที่ 27 ม.ค. 2565
8   ศ.น.สพ.ดร. อลงกร อมรศิลป์   หัวหน้าภาควิชา   วันที่ 28 ม.ค. 2565 ถึงปัจจุบัน

พันธกิจของภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

          ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข    มีพันธกิจที่จะถ่ายทอดความรู้   โดยจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์   และ
บัณฑิตศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ มีคุณธรรม และจริยธรรม  ตลอดจน  สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้
อย่างมีคุณภาพ บุกเบิกและค้นคว้างานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาทางการสัตวแพทย์และเพิ่มผลผลิตทาง
ปศุสัตว์อย่างได้ผล  และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ  ให้บริการวิชาการทางสัตวแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ  และเผยแพร่
แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการในระดับประเทศและสากล โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
         1. เพื่อผลิตบัณฑิตและนักวิชาการชั้นสูงทางด้านสัตวแพทยสาธารณสุข ให้มีความรู้และความสามารถอย่างถ่องแท้ สามารถ
คิด และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งศักยภาพ ในการพัฒนาตนเอง และสร้างชื่อเสียงให้แก่สถาบัน
ระดับประเทศ และนานาชาติ
         2. เพื่อผลิตและพัฒนางานวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสัตวแพทยสาธารณสุข  เพื่อวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี  ที่
ทันสมัย อันเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และการแก้ไขปัญหาทางสัตวแพทย์
         3. เพื่อผลิตผลงานทางวิชาการ และบริการทางวิชาการ  อย่างต่อเนื่อง   บุกเบิกวิชาการด้วยงาน   วิจัยทางการสัตวแพทย
สาธารณสุข ที่มีคุณภาพแก่สังคม รวมทั้งให้คำปรึกษา การฝึกอบรม การจัดประชุมวิชาการ  และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
ทางวิชาการเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

บทบาทและหน้าที่ของภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

         1. การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและประสิทธิภาพในด้านสัตวแพทยสาธารณสุข  โดยมุ่งผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์ใน
ระดับปริญญาตรี  ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญพื้นฐานแล้ว     ยังผลิตบัณฑิตศึกษา    ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต  และหลักสูตร
วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุข  ให้มีความรู้ความสามารถในระดับสูงขึ้น สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ใน
สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
         2. การวิจัยด้านสัตวแพทยสาธารณสุข เป็นบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของภาควิชา เนื่องจากงานด้านสัตวแพทยสาธารณสุขมี
ความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับสาขาอื่นมาก และยังมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  การที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อ
รับใช้สังคมจำเป็นต้องมีรากฐานมาจากงานวิจัย  ซึ่งบุคลากรในภาควิชาได้มีบทบาทในการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพและสังคมอย่างต่อ
เนื่อง  นอกจากนี้  ภาควิชายังมีบทบาท และหน้าที่   ในการแก้ปัญหาด้านการผลิตสัตว์  และการส่งออกผลิตภัณฑ์จากสัตวให้ทันต่อ
เหตุการณ์ปัจจุบัน เช่น งานวิจัยด้านการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก  งานวิจัยด้านเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพจากการใช้ยาต้านจุลชีพใน
การผลิตสัตว์เพื่อการบริโภค  งานวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยงทางเคมีและจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ งาน
วิจัยด้านการจัดการของเสียและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากฟาร์มปศุสัตว์ และงานวิจัยด้านโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์ เป็นต้น
         3. การบริการวิชาการ  ภาควิชามุ่งเน้นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับงานด้านสัตวแพทยสาธารณสุข
งานบริการวิชาการนี้มีความสอดคล้องอย่างดียิ่งกับบทบาทและหน้าที่อื่น ๆ ด้วย  เนื่องจากความสามารถในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ส่งผลให้ภาควิชาใช้ข้อมูลเชื่อมต่อเป็นงานวิจัย    และนำไปประกอบเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการผลิตบัณฑิตที่รู้เท่าทันปัญหาสังคมใน
ปัจจุบัน
          ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ทั้งบทบาทและหน้าที่ของภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขเมื่อแรกเริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมิได้เปลี่ยนแปลง
แต่กลับจะทวีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับตั้งแต่การรับผิดชอบด้านสุขอนามัยของคนและสัตว์ และเศรษฐกิจของประเทศ การผลิต
สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์   สำหรับการบริโภคภายในประเทศ   ไปจนถึงระดับการส่งออกระหว่างประเทศ  นำมาซึ่งสุขภาพที่ดีของ
ประชาชนและเศรษฐกิจที่ดีของประเทศไทย

บุคลากร

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
ศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
อลงกร อมรศิลป์

ศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
อลงกร อมรศิลป์

หัวหน้าภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

อีเมล : Alongkorn.A@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189571

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
ศ. สพ.ญ. ดร.
รุ่งทิพย์ ชวนชื่น


ศาสตราจารย์ สพ.ญ. ดร.
รุ่งทิพย์ ชวนชื่น

อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

อีเมล : Rungtip.C@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189575

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
รศ. น.สพ. ดร.
ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ


รองศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ

อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

อีเมล : Suphachai.N@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189578

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
ผศ. น.สพ. ดร.
ธราดล เหลืองทองคำ

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
ธราดล เหลืองทองคำ

อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

อีเมล : Taradon.L@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189574

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
ผศ. สพ.ญ. ดร.
สหฤทัย เจียมศรีพงษ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ. ดร.
สหฤทัย เจียมศรีพงษ์

อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

อีเมล : Saharuetai.j@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189579

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
อ. น.สพ. ดร.
สิรวิทย์ ภักดีพาณิชย์กิจ


อาจารย์ น.สพ. ดร.
สิรวิทย์ ภักดีพาณิชย์กิจ

อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

อีเมล : Sirawit.P@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189580

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
อ. สพ.ญ. ดร.
กมลพรรณ  เจริญกุล


อาจารย์ สพ.ญ. ดร.
กมลพรรณ เจริญกุล

อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

อีเมล : Kamonpan.C@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189578

 

 

 

 

 

 

ผลงานวิจัย
อ. สพ.ญ. วรญาณี  ธรรมธร

อาจารย์ สพ.ญ.
วรญาณี ธรรมธร

อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

อีเมล : Worrayanee.T@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189592

 

 

 

 

 

 

กรัณยภรณ์  ศรีศักดา
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
(บริหารงานทั่วไป P7)

กรัณยภรณ์
ศรีศักดา

เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป)

อีเมล : Karanyaporn.S@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189598

 

 

 

 

 

 

สุวณี เฉลิมชัยนุกูล
(เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ P7)

สุวณี
เฉลิมชัยนุกูล

เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์

อีเมล : Suwanee.C@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189597

 

 

 

 

 

 

นวพร รุ่งโรจน์มงคล
(เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ P7)

นวพร
รุ่งโรจน์มงคล

เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์

อีเมล : Nawaphorn.R@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189572

 

 

 

 

 

 

อดิศร สังฆโต
(พนักงานสถานที่)

อดิศร
สังฆโต

พนักงานสถานที่

อีเมล : Adisorn.S@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189577

หลักสูตรที่เปิดสอน

หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต

 

  ชื่อวิชา  

  รหัสวิชา  

จำนวน 17 หน่วยกิต

1

  หลักการทางสัตวแพทยสาธารณสุข

3109301

1

2

  ความปลอดภัยของอาหาร

3109401

3

3

  อนามัยสิ่งแวดล้อมทางสัตวแพทย์

3109403

2

4

  อุตสาหกรรมอาหารและการควบคุมคุณภาพ

3109501

1

5

  สุขภาพหนึ่งเดียวทางสัตวแพทยสาธารณสุข

3109502

1

6

  สุขศาสตร์น้ำนมและการตรวจคุณภาพเนื้อสัตว์

3109503

3

7

  โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

3109504

3

8

  การฝึกปฏิบัติทางสัตวแพทยสาธารณสุข

3109606

3

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
รายวิชาบังคับ

 

ชื่อวิชา

รหัสวิชา

จำนวน 8 หน่วยกิต

1

  วิธีวิทยาการวิจัยทางสัตวแพทยศาสตร์

3100700

2

2

  ระบาดวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์

3109701

3

3

  สัมมนาสัตวแพทยสาธารณสุข

3109702

1

4

  กฎหมายและข้อบังคับทางสัตวแพทยสาธารณสุข

3109703

2

5

  วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต

3109813
3109816

S/U

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต รายวิชาบังคับ

 

  ชื่อวิชา  

  รหัสวิชา  

จำนวน 9 หน่วยกิต

1

  วิธีวิทยาการวิจัยทางสัตวแพทย์

  3100700  

2

2

  ระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์

   3109701  

3

3

  สัมมนาสัตวแพทยสาธารณสุข

  3109702  

1

4

  กฎหมายและข้อบังคับทางสัตวแพทยสาธารณสุข

  3109703  

2

5

  สัมมนาสัตวแพทยสาธารณสุข

3109724

1

6

  วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต

 3109828

 3109829

 3109830

S/U

7

  สัมมนาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต

 3109894

S/U

8

  การสอบวัดคุณสมบัติระดับดุษฎีบัณฑิต

 3109897

S/U

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต รายวิชาเลือก

 

  ชื่อวิชา  

  รหัสวิชา  

  หน่วยกิต  

1

  สถิติทางการแพทย์

3014707

2

2

  โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์

3109704

3

3

  สุขศาสตร์อาหาร

3109706

2

4

  เรื่องพิเศษทางสัตวแพทยสาธารณสุข

3109715

3

5

  การประเมินความเสี่ยงจุลชีพเชิงปริมาณ

3109716

3

6

  ระบาดวิทยาระดับโมเลกุลทางการสัตวแพทย์

3109717

3

7

  จุลชีววิทยาทางสัตวแพทยสาธารณสุข

3109718

3

8

  อณูชีววิทยาการดื้อยาทางการสัตวแพทย์

3109719

3

9

  การประเมินความเสี่ยงจุลชีพเชิงปริมาณขั้นสูง

3109720

3

10

  ชีวสารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์ 

3109722

2

11

  ความปลอดภัยและการควบคุมคุณภาพอาหารทางสัตวแพทยสาธารณสุข

3109725

3

12

  สุขภาพหนึ่งเดียวทางสัตวแพทยสาธารณสุข

3109726

3

มคอ. 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุข (หลักสูตรปรับปรุง 2560)

มคอ. 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุข (หลักสูตรปรับปรุง 2560)

มคอ. 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุข (หลักสูตรปรับปรุง 2561)

มคอ. 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุข (หลักสูตรปรับปรุง 2561)

งานวิจัยของภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข

                   

1. โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในสัตว์     
     ศึกษาวิจัย เฝ้าระวัง และตรวจวินิจฉัยโดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในสัตว์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้แก่สังคมได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำอื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากโรคสัตว์สู่คนที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทยได้ในอนาคต

2. ความปลอดภัยอาหารทางจุลชีววิทยาและการดื้อยา 
     วิจัย ติดตาม เฝ้าระวัง รวมไปถึงการพัฒนาฐานข้อมูลและระบบการควบคุมเชื้อโรคอาหารเป็นพิษและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในระดับภูมิภาคและนานาชาติ

3. การประเมินความเสี่ยงทางเคมีและจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารและผลิตภัณฑ์จากสัตว์  
     งานวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยงทางเคมีและจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และดำเนินการพัฒนาระบบความปลอดภัยของอาหารของประเทศ

บริการตรวจคุณภาพน้ำนมทางจุลชีววิทยา

 





 



 บริการตรวจคุณภาพน้ำนมทางจุลชีววิทยา

ข่าวสารและกิจกรรม

13ม.ค. 2567
ใหม่

กิจกรรมของศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะของ FAO

กิจกรรมของศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะของ FAO (FAO Reference Centre for Antimicrobial Resistance) โดย ผศ.น.สพ.ดร.ธราดล เหลืองทองคำ รองผู้อำนวยการศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.สพ.ญ.ดร.วรพร สุขุมาวาสี รับฟังได้ทางรายการสัตวแพทย์สนทนา ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ Chula Radio Plus FM 101.5 MHz. วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 เวลา 9.05-9.30 น. กิจกรรมของศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะของ FAO - Chula Radio Plus สถานีวิทยุจุฬาฯ 101.5 MHz
9ม.ค. 2567
ใหม่

UN FAO มอบประกาศนียบัตรขยายระยะเวลาการเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (FAO Reference Centre for AMR) ต่อเนื่องอีก 4 ปี ให้กับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) มอบประกาศนียบัตร ขยายระยะเวลาการเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (FAO Reference Centre for AMR) ต่อเนื่องอีก 4 ปี ให้กับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ชวี ตงอวี้ (Dr.Qu Dongyu (屈冬玉)) ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) และคณะได้ให้เกียรติมาเยือนคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี ศ.สพ.ญ. ดร.สันนิภา สุรทัตต์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ศ.สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์ ชวนชื่น ผู้อำนวยการศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข และคณะผู้บริหารจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ สำนักบริหารวิชาการสุขภาพโลก สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 ณ ห้องสาธิต ชั้น 1 อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์ เพื่อรับมอบประกาศนียบัตรขยายระยะเวลาการเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (FAO Reference Centre for AMR) ต่อเนื่องอีก 4 ปีจนถึงพฤศจิกายน 2570 และเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์อ้างอิงฯ และนิทรรศการจากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการขยายระยะเวลาเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะของ FAO – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (chula.ac.th)
27ธ.ค. 2566
ใหม่

ขอแสดงความยินดีกับ รศ.น.สพ.ดร. ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ

ขอแสดงความยินดี ขอแสดงความยินดีกับ รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข ที่ได้รับการอนุมัติและเห็นชอบให้เสนอเพื่อพิจารณาโปรดเกล้าฯ ในการกำหนดตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” จากการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 882 วันที่ 21 ธันวาคม 2566 (15) Congratulations 💐🎉 ขอแสดงความยินดีกับ รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข ที่ได้รับการอนุมัติและเห็นชอบให้เสนอเพื่อพิจารณาโปรดเกล้าฯ ในการกำหนดตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” จากการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 882 วันที่ 21 ธันวาคม 2566 Congratulations 💐🎉 Assoc.Prof.Dr.Suphachai Nuanualsuwan Department of Veterinary Public Health on the occasion that The University Council approved the appointment of higher academic position "Professor A-2" Chulalongkorn University Council Meeting No. 882 21 December... - คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Faculty of Veterinary Science, CU. | Facebook
24ธ.ค. 2566
ใหม่

Price “CE The Most Value” Award 2023

Congratulations ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์  ชวนชื่น ได้รับรางวัล Price Award ประจำปี 2566: Price “CE The Most Value” Award (15) CUVET the PRICE - 🎉🎉ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล PRICE AWARD... | Facebook
24ธ.ค. 2566
ใหม่

Price “Highest External International Funding” Award 2023

Congratulations ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. อลงกร  อมรศิลป์ ได้รับรางวัล Price Award ประจำปี 2566: Price “Highest External International Funding” Award (15) CUVET the PRICE - 🎉🎉ขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล PRICE AWARD... | Facebook
21พ.ย. 2566
ใหม่

แสดงความยินดีกับนักวิจัย รางวัล "นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น" จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.

แสดงความยินดีกับนักวิจัย รางวัล "นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น" จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ผศ.น.สพ.ดร.ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล รองคณบดีบริหาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแด่ รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ ในโอกาสที่ได้รับรางวัล "นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น" รางวัลอันดับที่ 2 ประจำปี 2566 จาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ในการประชุมวิชาการและจัดการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตร ภายใต้หัวข้อ “เปลี่ยนวิถีเกษตรไทย ด้วยงานวิจัย และนวัตกรรม” AgiTech and Innovation (Moving Forward : From Local to Global) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ณ ฮอลล์ 5 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (15) 💐 แสดงความยินดีกับนักวิจัย รางวัล "นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น" จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ✨️ ⭐️ ผศ.น.สพ.ดร.ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล รองคณบดีบริหาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแด่ รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล และ รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ ในโอกาสที่ได้รับรางวัล "นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น" รางวัลอันดับที่ 2 ประจำปี 2566 จาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ในการประชุมวิชาการและจัดการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการเกษตร ภายใต้หัวข้อ “เปลี่ยนวิถีเกษตรไทย ด้วยงานวิจัย และนวัตกรรม” AgiTech and Innovation (Moving Forward : From Local to Global) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ณ ฮอลล์ 5... - คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Faculty of Veterinary Science, CU. | Facebook
15พ.ย. 2566
ใหม่

สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักปัญหาเชื้อดื้อยา 2566

สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักปัญหาเชื้อดื้อยา 2566 ศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์ ชวนชื่น และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร. สหฤทัย เจียมศรีพงษ์ ด้วยศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ (ภายใต้ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก) คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับองค์​การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ​ (FAO) ได้กำหนดจัดกิจกรรม​ “สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักปัญหาเชื้อดื้อยา ประจำปี พ.ศ. 2566 (World AMR Awareness Week 2023; WAAW)” ขึ้น  ระหว่างวันที่ 20 – 24 พฤศจิกายน 2566  ณ อาคารสัตววิทยวิจักษ์ ชั้น 2  โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์  ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปีพร้อมกันทั่วโลก ​เพื่อให้ความรู้และตระหนักถึงปัญหา​เชื้อดื้อยากับผู้มาใช้บริการและประชาชนทั่วไป​  โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ร่วมตอบคำถามและรับของรางวัล
15พ.ย. 2566
ใหม่

“นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น” รางวัลลำดับที่ 2 ประจำปี 2566

“นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น” รางวัลลำดับที่ 2 ประจำปี 2566 รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ Congratulations รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขในโอกาสที่ได้รับรางวัล "นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น" รางวัลลำดับที่ 2 ประจำปี 2566 จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) Website Congratulations 👑😍 รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล ภาควิชาจุลชีววิทยา และ รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข ในโอกาสที่ได้รับรางวัล "นักวิจัยด้านการเกษตรดีเด่น" รางวัลลำดับที่ 2 ประจำปี 2566 จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร... - คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Faculty of Veterinary Science, CU. | Facebook
2พ.ย. 2566
ใหม่

ศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ

ศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์ ชวนชื่น Congratulations กับศูนย์ติดตามการดื้อยาของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ และ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) ให้เป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (FAO Reference Center for AMR) ต่อเนื่องอีก 4 ปีจนถึง พฤศจิกายน 2570 ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการสร้างขีดความสามารถ (capacity building) ในการเฝ้าระวังและตรวจติดตามเชื้อดื้อยาและร่วมแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาในภูมิภาคฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 โดยมี ศ.สพ.ญ.ดร.สันนิภา สุรทัตต์ คณบดี มอบกระเช้าแสดงความยินดีกับ ศ.สพ.ญ.ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น หัวหน้าศูนย์ฯ และทีมงาน เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 ณ สำนักคณบดี ชั้น 3 อาคาร 50 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ #CUVET
30ต.ค. 2566
ใหม่

Workshop on National AMR Surveillance in Livestock in Thailand: Strengthening Capacities and Laboratory Network

Workshop on National AMR Surveillance in Livestock in Thailand: Strengthening Capacities and Laboratory Network ศ.สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์  ชวนชื่น  ผศ.น.สพ.ดร. ธราดล เหลืองทองคำ และ ผศ.สพ.ญ.ดร. สหฤทัย เจียมศรีพงษ์       วันพฤหัสบดี ที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายให้ นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “National AMR Surveillance in Livestock in Thailand: Strengthening Capacities and Laboratory Network” ภายใต้โครงการ Regional tripartite AMR project with EU-Introduction โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการด้านเชื้อดื้อยาในสัตว์ ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหา และอุปสรรค ของห้องปฏิบัติการด้านเชื้อดื้อยา นำไปสู่การกำหนดแนวทางในการพัฒนา National AMR surveillance in livestock รวมถึงร่าง road map ในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายห้องปฏิบัติการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาของกรมปศุสัตว์ ตลอดจนพัฒนาระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาที่สอดคล้องกับมาตรฐานองค์การระหว่างประเทศ (Tripartie; FAO/WOAH/WHO) เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนภารกิจของกรมปศุสัตว์ในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบระบบการผลิตสัตว์ปศุสัตว์ในห่วงโซ่การผลิต เพื่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคตามหลักการอาหารปลอดภัย ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว การฝึกอบรมดังกล่าวจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 26 - 27 ตุลาคม 2566 มีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ประกอบด้วย ข้าราชการจาก สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภูมิภาค ทั้ง 8 แห่ง กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กองความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ และผู้แทนจากเครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว รวมทั้งผู้แทนจาก FAO และ WOAH เข้าร่วมด้วย ณ ห้องประชุม พญาไท โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด/กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ข่าว สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ/กรมปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 26-27 ตุลาคม 2566 รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร National AMR Surveillance in Livestock in Thailand: Strengthening Capacities and Laboratory Network (dld.go.th)
16ต.ค. 2566
ใหม่

PANDASIA-Project: discuss project descriptions and WP1 stakeholder mapping workshop preparation

PANDASIA-Project: discuss project descriptions and WP1 stakeholder mapping workshop preparation ศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.อลงกร อมรศิลป์ On October 16, 2023, the PANDASIA Team, led by Dr. Hans Overgaard, met with Prof. Dr. Sanipa Suradhat, dean of Chulalongkorn University's Faculty of Veterinary Science, and Prof. Dr. Alongkorn Amonsin to discuss project descriptions and WP1 stakeholder mapping workshop preparation, which were held in Bangkok from October 17 to 19, 2023. #horizon_eu #UKRI #CUVET #QMUL #UKHD #supa71 #IZW PANDASIA-Project SUPA71 CUEIDAs Website On October 16, 2023, the PANDASIA Team, led by... - PANDASIA-Project | Facebook
15ต.ค. 2566
ใหม่

เชื้อดื้อยาสำคัญกับมนุษย์อย่างไร

สัตวแพทย์อาสา จ.ส.100 ให้ความรู้สู่ประชาชน ศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์ ชวนชื่น เชิญชวนผู้ที่สนใจ ร่วมรับฟัง โครงการสัตวแพทย์อาสา จ.ส.100 สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดเดือน ตุลาคม 2566 รับฟังได้ทุกวันอาทิตย์ เวลา 08.15 - 08.45 น. โดยรับฟังได้จากช่องทาง สถานีวิทยุ จ.ส.100 หรือ ช่องทางออนไลน์ http://www.js100.com/live/

ที่ตั้ง

ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 11 อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อเจ้าหน้าที่

Social Network