สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสัตวแพทยศาสตร์โดยพัฒนา บุกเบิก ค้นคว้า ทางการวิจัย ตลอดจนประยุกต์วิชาความรู้ที่ได้รับเพื่อการบริการแก่สังคมและเพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ ที่ตอบสนองนโยบายของประเทศ และเชื่อมโยงองค์ความรู้กับนานาประเทศได้

ข่าวประชาสัมพันธ์

รายงานสรุปผลการดําเนินการ

บุคลากร

 

 

 

 

 

 

 

หัวหน้ากลุ่มภารกิจวิจัยและนวัตกรรม

นางสาว
สุคนธา ทองบริสุทธิ์

หัวหน้ากลุ่มภารกิจวิจัยและนวัตกรรม P6

อีเมล : sukhontha.t@chula.ac.th

เบอร์โทร : 02-2189440

 

 

 

 

 

 

 

เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา P7

นางสาว
สุทินา ศิรประภาพงศ์

เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา P7

อีเมล : suthina.s@chula.ac.th

เบอร์โทร : 02-2189793

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

นางสาว
ลาวัลย์ จรรยากูล

ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

อีเมล : lawan.j@chula.ac.th

เบอร์โทร : 02-2189676

สถาบันการศึกษาชั้นนำด้านสัตวแพทย์ เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและนานาชาติ

ฐานข้อมูลที่รวบรวมประวัติความเชี่ยวชาญและผลงานของประชาคมวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งหมายถึง คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ 

การสนับสนุนภายนอก

การสนับสนุนภายใน

โรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์

มีบุคลากรที่มีความรู้และความพร้อมในการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์  ผลการศึกษาวิจัยของศูนย์ฯ
นำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ การควบคุมและป้องกันโรคอุบัติใหม่ในคนและสัตว์ รวมถึงสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์ทำงาน
ที่เกี่ยวข้องกับโรคอุบัติใหม่ในสัตว์  รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเข้าร่วมเครือข่ายห้องปฏิบัติการของทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อความ
ร่วมมือในการศึกษาวิจัยและเตรียมความพร้อมสำหรับโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

 

ด้านการวิจัยโรคสัตว์น้ำ



ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการวิจัยโรคสัตว์น้ำ

     เป็นผู้นำทางด้านสัตวแพทย์สัตว์น้ำในระดับชาติและนานาชาติ  ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับสัตวแพทย์สัตว์น้ำทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ 
พัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำ รวมไปถึงบริการวิชาการ ด้านการตรวจโรค วินิจฉัย  รักษา และให้คำแนะนำ
ด้านสัตว์น้ำแก่ประชาชน 

ด้านโรคติดเชื้อของปลา



ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อของปลา

     ผลิตและสร้างสรรค์งานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อต่างๆ ของปลาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
     เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของสัตวแพทย์ นักวิชาการสัตว์น้ำ/ประมง และเกษตรกรในด้านโรคติดเชื้อต่างๆของปลาเศรษฐกิจและ
     สร้างบัณฑิตและนักวิจัยทางด้านสุขภาพปลาเศรษฐกิจและโรคติดเชื้อของปลาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพออกสู่สังคม


วิทยาการสืบพันธุ์สุกร


ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิทยาการสืบพันธุ์สุกร

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวินิจฉัยและติดตามเชื้อโรคจากสัตว์



ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวินิจฉัยและติดตามเชื้อโรคจากสัตว์

     อุบัติการณ์โรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากโรคจากสัตว์สู่คนและเชื้อโรคในสัตว์ต่าง ๆ   ได้แก่  เชื้อไวรัส  เชื้อแบคทีเรีย  และ    เชื้อรา
มีรายงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมักเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ แต่ในทางปฏิบัติยังมีข้อจำกัดด้านวิทยาการเทคโนโลยี  เครื่องมือ
และการบูรณาการความความรู้และร่วมมือในระดับองค์กร ทีมวิจัยได้นำเสนองานวิจัยเชิงลึกและเชิงประยุกต์ต่อวงการจุลชีววิทยา
ทางสัตวแพทย์อย่างต่อเนื่อง เช่น เชื้อแบคทีเรียดื้อยา เชื้อไวรัสอุบัติใหม่ และการวินิจฉัยเชื้อราในสัตว์   หน่วยวิจัยฯมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาวิจัย   เพื่อลดข้อจำกัดด้านงานวินิจฉัยเชื้อโรคทางสัตวแพทย์   พัฒนาวิธีการ    ตรวจเชื้อโรคให้มีความหลากหลาย  และ
ถูกต้อง และเผยแพร่ข้อมูลหน่วยวิจัยได้รับความสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาวิจัยการเกษตร และบริษัทเอกชนอย่าง
ต่อเนื่อง   ประกอบกับได้ความร่วมมือกับหน่วยธนาคารเชื้อโรคจากสัตว์    หน่วยงานราชการ    มหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ
หน่วยวิจัยมีเป้าหมายสำคัญ  ในการยกระดับมาตรฐานการตรวจและการติดตามเชื้อโรคจากสัตว์ที่สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลของ
เชื้อโรคจากมนุษย์เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงด้านงานวิจัยที่สำคัญแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 


โรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง


ศูนย์เชี่ยวชาญฌแพาะทางโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง

การวิเคราะห์ความเสี่ยงอาหารและน้ำ

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงอาหารและน้ำ

     การยกระดับความปลอดภัยด้านสาธารณสุข สุขภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อม ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงอาหารและน้ำ
            1. การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)  การประเมินโอกาสหรือความเป็นไปได้  ในการเกิดผลกระทบทางสุขภาพจาก
                อันตรายจุลินทรีย์และอันตรายเคมีในอาหารและน้ำ
            2. การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) การลดโอกาสหรือควบคุมอันตรายจุลินทรีย์และอันตรายเคมีในอาหารและน้ำ
            3. การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication)   การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการประเมินความเสี่ยง และ การจัดการ
                ความเสี่ยงให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อาหารและน้ำ

สูติศาสตร์และวิทยาการสืบพันธุ์ในสัตว์


หน่วยปฏิบัติการสูติศาสตร์และวิทยาการสืบพันธุ์ในสัตว์ (ORA)

     เป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านสัตวแพทย์มืออาชีพ  และนักวิจัยในด้านการปฏิบัติก่อนคลินิก และทางคลินิก 
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา  ORA  ได้ดำเนินการวิจัยขั้นพื้นฐานและประยุกต์อย่างต่อเนื่องในด้านวิทยาศาสตร์การสืบพันธุ์ของสัตว์
โดยเน้นที่สายพันธุ์เพื่อนและสัตว์ป่า   ในบรรดาสิ่งพิมพ์ระดับชาติ  และระดับนานาชาติจำนวนมาก   ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ภาคเอกชน    และหน่วยงานภาครัฐ     ร่วมกับภาควิชาสูติศาสตร์   นรีเวชวิทยาและการสืบพันธุ์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     ORA  เป็นผู้นำในการสร้างโปรแกรมการศึกษาที่ไม่ใช่ปริญญา และให้การฝึกอบรมแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและนัก
วิจัยหลังปริญญาเอก นอกเหนือจากเครือข่ายภายในแล้ว ORA  ยังร่วมมือกับนักวิจัยที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศในพื้นที่โดย
มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

สุขภาพสัตว์ปีก

หน่วยปฏิบัติการวิจัยสุขภาพสัตว์ปีก

     หน่วยปฏิบัติการวิจัยสุขภาพสัตว์ปีก ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบคำถามที่เกิดขึ้นจากปัญหาจริงๆ ในฟาร์มสัตว์ปีกในประเทศไทย โดยทำการ
วิจัยเกี่ยวกับเชื้อโรคและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของไก่    ทั้งงานวิจัยเชิงลึกและงานวิจัยเพื่อการทดสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัท
เพื่อให้ได้องค์ความรู้และความเข้าใจในด้านโรคและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง        โดยบุคลากรของหน่วยปฏิบัติการวิจัยสุขภาพสัตว์ปีก
สามารถให้คำปรึกษาที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้โดยตรง       รวมถึงนำความรู้ที่ได้ไปสอนนิสิตให้ทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ
นอกจากนี้ ยังจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร สัตวแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

ความปลอดภัยอาหารทางจุลชีววิทยาและการดื้อยา


หน่วยปฏิบัติการวิจัยความปลอดภัยอาหารทางจุลชีววิทยาและการดื้อยา

พยาธิวิทยาในสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงพิเศษและสัตว์น้ำ



หน่วยปฏิบัติการวิจัยพยาธิวิทยาในสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงพิเศษและสัตว์น้ำ

          1. เพื่อศึกษาวิจัย เป็นแหล่งอ้างอิง พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้

          2. การเฝ้าระวังโรค การศึกษาพยาธิวิทยาเปรียบเทียบในทางการแพทย์


          3. การผลิตบัณฑิตศึกษา และบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านพยาธิวิทยา

โรคติดเชื้อในสัตว์ที่มีพาหะนำโรค

หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคติดเชื้อในสัตว์ที่มีพาหะนำโรค

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัยโรคที่เกิดจากพาหะนำโรคในสัตว์ คือ เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากพาหะนำโรคในสัตว์ ชีววิทยา
และนิเวศวิทยาของพาหะที่สำคัญ และการเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่และอุบัติใหม่จากสัตว์และจากสัตว์สู่คน

นวัตกรรมข้อมูลเพื่อการพัฒนาปศุสัตว์



หน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมข้อมูลเพื่อการพัฒนาปศุสัตว์

     ผู้นำด้านการพัฒนาอัลกอริทึ่ม เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการจัดการปศุสัตว์ ทั้งการจัดการระดับตัวสัตว์ ฟาร์ม โรงงานผลิตภัณฑ์
จากปศุสัตว์ และการจัดการการผลิตปศุสัตว์ 
ในระดับพื้นที่

การเจริญพันธุ์ในสัตว์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเจริญพันธุ์ในสัตว์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     เป็นหน่วยวิจัยบูรณาการเชิงลึกด้านการพัฒนาเทคโนโลยี   และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มการเจริญพันธุ์ในสัตว์ในระดับนานาชาติ    จุดหมาย
ปลายทางที่หน่วยวิจัยมุ่งหวัง คือการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) และภาวะความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ (infertility)
ในสัตว์ 
ก่อให้เกิดองค์ความรู้เป็นที่ยอมรับทางวิชาการและสังคมภายนอก รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ การเพาะ
เลี้ยงเซลล์ระบบสืบพันธุ์ นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อการวินิจฉัยโรค การรักษา และการจัดการฝูงสัตว์ นำไปสู่การพัฒนาเป็นศูนย์เชี่ยวชาญ
เฉพาะทางระบบสืบพันธุ์และการจัดการปัญหาการเจริญพันธุ์ในสัตว์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE CU-RI) เพื่อโดยมุ่งเน้นการตรวจ-
สอบยา   สารออกฤทธิ์   และการจัดการที่มีผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ในปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง   ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงบวกในการ
ขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ

     โดยสรุปหน่วยวิจัยฯ   ตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคนิค   เทคโนโลยีชีวภาพทางระบบสืบพันธุ์    และนวัตกรรมในการวินิจฉัย    รวมไปถึง
แนวทางรักษาปัญหาการเจริญพันธุ์ ใน 3 เป้าหมายสำคัญได้แก่

          2.1 ปัญหาความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำในเพศเมียที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเยื่อบุมดลูก
          2.2 ปัญหาความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำในเพศผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและการทำงานของอสุจิ
          2.3 ปัญหาการสูญเสียตัวอ่อนในระหว่างการตั้งท้อง

เซลล์ต้นกำเนิดและชีววิศวกรรมทางสัตวแพทย์คลินิก

 

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดและชีววิศวกรรมทางสัตวแพทย์คลินิก

     เป็นหน่วยวิจัยที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเซลล์ต้นกำเนิดทางสัตวแพทย์และเป็นแหล่งอ้างอิงด้านวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ

หน่วยวิจัยปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์


หน่วยวิจัยปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์

     หน่วยวิจัยฯ ผลิตผลงานที่เป็นแหล่งอ้างอิงของประเทศ ด้านปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน สามารถผลิตกำลังคน
ที่มีศักยภาพในการทำงาน
วิจัยสูง โดยบัณฑิตเหล่านี้จะช่วยในการขยายเครือข่ายนักวิจัยทางด้านปรสิตวิทยาทั้งระดับชาติและนานาชาติ

วิวัฒนาการของเชื้อไวรัสและการพัฒนาวัคซีนในสุกร


หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสและการพัฒนาวัคซีนในสุกร

ไวรัสในสัตว์และการพัฒนาการตรวจวินิจฉัย

กลุ่มวิจัยไวรัสในสัตว์และการพัฒนาการตรวจวินิจฉัย

     ศึกษาและจำแนกไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการเฝ้าระวังโรคสัตว์สู่คน หรือคนสู่สัตว์
พัฒนาการตรวจวินิจฉัยให้มีความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงและตอบปัญหาของสังคมได้ในอนาคต

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในปรสิตวิทยาของสัตว์

กลุ่มวิจัยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในปรสิตวิทยาของสัตว์

     1. ศึกษาค่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในโรคปรสิตในสัตว์ เพื่อทำให้ทราบถึงความก่อโรค ความรุนแรงของโรค และรวมไปถึงช่วยในขั้นตอน
         การรักษาสัตว์ที่ป่วยจากโรคทางปรสิต

     2. เพื่อนำไปใช้พัฒนาในการตรวจวินิจฉัยโรคปรสิตในสัตว์ต่อไปในอนาคต
     3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือวิจัยกับหน่วยงานด้านปรสิตในระดับนานาชาติ

คู่มือ

คู่มือของทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัย CE&RU&STAR (ระบบ My Research)

คู่มือของทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัย CE&RU&STAR (ระบบบริหารจัดการ My Research) สำหรับอาจารย์ และนักวิจัย

คู่มือการจัดทำประกาศแหล่งทุนวิจัยภายนอก

คู่มือทุนพัฒนาอาจารย์ใหม่/นักวิจัยใหม่

คู่มือทุนพัฒนาอาจารย์ใหม่ / นักวิจัยใหม่ผ่านระบบ Chula eRM

ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยงาน (DRMS)

เป็นระบบบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยงาน (DRMS) ของ Basic Research (Fundamental Fund)

คู่มือการขอทุนสนับสนุนการตีพิมพ์ (eRM)

คู่มือการขอทุนสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ ผ่านระบบ Electronic Research Management (eRM)

คู่มือการทำประกาศแหล่งทุนภายนอก (Extramural Grant)

คู่มือการทำประกาศแหล่งทุนภายนอก (eRM)

คู่มือทำหนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney)

หนังสือมอบอำนาจ แหล่งทุนภายนอก (eRM)

ขั้นตอนการส่งรายงานผลการดำเนินงาน (CE/RU/STAR)

ขั้นตอนการส่งรายงานผลการดำเนินงาน (CE/RU/STAR)

คู่มือการใช้งาน Web MIS Dashboard (Single Web Share Portal)

เป็นเว็บไซด์แหล่งรวบรวม Dashboard ของมหาวิทยาลัย ที่จัดทำโดยหน่วยงานต่างๆ /ส่วนงาน (คณะ สถาบัน ฯลฯ) เช่น สำนักบริหารแผนและงบประมาณ (สบผ) สำนักยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน (สยข) สำนักทะเบียน (สนท) และสำนักงานแผนงานกองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) เป็นต้น Dashboard ทั้งหมดนี้ถูกแชร์ผ่านเว็บไซด์นี้เพียงช่องทางเดียว (Single Web Share Portal) เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้สามารถ Log in ด้วย CUNET account ของมหาวิทยาลัย ทุกคนทุกกลุ่มระดับสายงาน (กลุ่มผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มผู้บริหารระดับคณะ/สถาบัน/หน่วยงาน กลุ่มอาจารย์ กลุ่มเจ้าหน้าที่) เข้ามาดู Dashboard ได้ โดยมีการกำหนดสิทธิ์ให้แต่ละกลุ่มสามารถเข้าดูได้ตามประเภทของ Dashboards (ข้างล่าง) ตามความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน วิเคราะห์ วางแผนยุทธศาสตร์ ติดตามงาน และเผยแพร่ ข้อมูลสำคัญของมหาวิทยาลัยให้ทุกคนรับทราบโดยทั่วถึง

แบบฟอร์มฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

แบบฟอร์มต่าง ๆ ของคณะสัตวแพทย์

แบบฟอร์มฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

Google Drive แบบฟอร์มฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม Click      • กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช      • ค่าสนับสนุนการตีพิมพ์      • ค่าสนับสนุนส่งผลงานนวัตกรรมเข้าประกวด (คณะสัตวแพทยศาตร์)      • คู่มือการใช้ระบบ eRM เพื่อโครงการวิจัย      • โครงการวิจัยเงินทุนคณะฯ      • โครงการวิจัยแหล่งทุนภายนอก      • ทุน FF (ววน)      • ทุน_STAR_RU_CE      • ระเบียบข้อบังคับของมหาลัย      • IACUC Form and IBC Form      • Panership Researcher  

ข่าวประชาสัมพันธ์งานวิจัย

2พ.ค. 2566
ใหม่

CUVET Enterprise (CUVE) ร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CUVC 2023 เปิดตัว 8 สตาร์ทอัพ ผลักดันนวัตกรรมนักวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง

30ม.ค. 2566
ใหม่

ทุนสนับสนุนตีพิมพ์ผลงานวิชาการระดับนานาชาติ (บทความ Veterinary Subject)

การเบิกตีพิมพ์บทความ Veterinary Subject บทความละ 5,000 บาท โดยมีผลตามประกาศคณะสัตวแพทยศาสตร์ เรื่องทุนสนับสนุนตีพิมพ์ผลงานวิชาการระดับนานาชาติ
25พ.ค. 2566
ใหม่

ยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย CU & T-FIT FUNDING รอบ 2

เชิญชวนคณาจารย์และนักวิจัย CUVET ส่งโครงร่างงานวิจัยเพื่อรับทุน CU & T-FIT FUNDING งบประมาณรวมกว่า 5,000,000 บาท!!!ในหัวข้อ📌A.......
25พ.ค. 2566
ใหม่

โครงการอบรม “การใช้สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (IACUC) และการขอใช้เชื้อ และสารเคมีอันตราย (IBC) สำหรับนักวิจัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ครั้งที่ 2”

โครงการอบรม“การใช้สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (IACUC) และการขอใช้เชื้อ และสารเคมีอันตราย (IBC) สำหรับนักวิจัย คณะสัตว.......
25ก.ค. 2566
ใหม่

โครงการ Proposal Clinic & Research Grant Market ครั้งที่ 2

ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้วางนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อให้ขับเคลื่อนองค์กรของการอุดมศึกษาไทย วิทยาศา.......

CUVC

8ธ.ค. 2566
ใหม่

CUVC 2024 The theater

CUVC 2024 The theater
8ธ.ค. 2566
ใหม่

Companion animals session CUVC 2024 The theater

Companion animals session
8ธ.ค. 2566
ใหม่

Early bird registration for CUVC 2024 is now open! (until 5 April 2024)

Early bird registration for CUVC 2024 is now open! (until 5 April 20.......
8ธ.ค. 2566
ใหม่

"Anemia” At Samyan Mitrtown Hall, Bangkok, Thailand

CUVC 2024 The theater
8ธ.ค. 2566
ใหม่

CUVC 2024 “Hands-on Workshop” อบรมเชิงปฏิบัติการ ที่ทุกท่านจะได้ลงมือปฏิบัติจริง

พบกับ CUVC 2024 “Hands-on Workshop”
23ม.ค. 2567
ใหม่

𝐂𝐚𝐥𝐥 𝐟𝐨𝐫 𝐏𝐚𝐩𝐞𝐫𝐬 𝐚𝐧𝐝 𝐏𝐚𝐫𝐭𝐢𝐜𝐢𝐩𝐚𝐧𝐭𝐬: 𝐂𝐔𝐕𝐂 𝟐𝟎𝟐𝟒 𝐔𝐧𝐯𝐞𝐢𝐥𝐬 𝐭𝐡𝐞 𝐅𝐮𝐭𝐮𝐫𝐞 𝐨𝐟 𝐕𝐞𝐭𝐞𝐫𝐢𝐧𝐚𝐫𝐲 𝐒𝐜𝐢𝐞𝐧𝐜𝐞!

𝐂𝐚𝐥𝐥 𝐟𝐨𝐫 𝐏𝐚𝐩𝐞𝐫𝐬 𝐚𝐧𝐝 𝐏𝐚𝐫𝐭𝐢𝐜𝐢𝐩𝐚𝐧𝐭𝐬: 𝐂𝐔𝐕𝐂 𝟐𝟎𝟐𝟒 𝐔𝐧𝐯𝐞𝐢𝐥𝐬 𝐭𝐡𝐞 𝐅𝐮𝐭𝐮𝐫𝐞 𝐨𝐟 𝐕𝐞.......
1ก.พ. 2567
ใหม่

Swine session “Emerging disease in swine”

4มี.ค. 2567
ใหม่

ยินดีด้วยกับผู้ที่ได้รับรางวัล การนำเสนอของนักเรียน FAVA

ยินดีด้วย🥳สำหรับนักเรียน 2 คน จะได้รับ 500 USD จากรางวัล.......
4มี.ค. 2567
ใหม่

ผู้สนับสนุนรางวัลการนำเสนอผลงาน รูปแบบ Oral Presentation ในงาน CUVC มีอะไรบ้าง

📍📣📣ประกาศกำหนดการนำเสนอแบบปากเปล่า26 เมษายน 2567 ณ บ้าน 5 สามย่านมิตรทาวน์โปรดติดต่อเราหากคุณมีคำถามเพิ่มเติมผ่านทาง CUVET Line Officia.......
21ก.พ. 2567
ใหม่

CUVC 2024 : การประชุมเชิงปฏิบัติการก่อนการประชุมและการประชุมหลัก สำหรับโปรแกรมทางวิทยาศาสตร์

🌟"รายการจัดเต็ม CUVC 2024 The Theatre"📽️🍿การประชุมเชิงปฏิบัติก.......
30มี.ค. 2567
ใหม่

รายการสัตวแพทย์สนทนา หัวข้อ ความร่วมมือของ FAVA กับงาน CUVC 2024

4เม.ย. 2567
ใหม่

CUVC 2024 : เวิร์คช็อปการดูแลและควบคุมสัตว์เลี้ยงแปลกใหม่ขั้นพื้นฐาน! (สำหรับสัตวแพทย์และพยาบาลสัตว์แพทย์) , 25 เม.ย. 2567 เวลา 09.30-16.30 น.

"เหลือ 15 ที่นั่ง!!!🦜🐾 เวิร์คช็อปการดูแลและควบคุมสัตว์เลี้ยงแปลกใหม่ขั้นพื้นฐาน! (สำหรับสัตวแพทย์และพยาบาลสัตว์แพทย์)📍การประชุมหลักในวั.......