เกี่ยวกับเรา
ประวัติคณะ
วิสัยทัศน์ (Vision)
สถาบัน ทางการศึกษา ชั้นนำ ด้านสัตวแพทย์ ที่พัฒนาความรู้ วิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรม
ให้เป็นที่ยอมรับ ในระดับภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อสร้างเสริมสังคมไทย สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ประวัติคณะสัตวแพทยศาสตร์
สืบเนื่องจากความต้องการของทางราชการทั้งฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหารด้านความจำเป็นในการป้องกันและปราบปราม
โรคระบาดของสัตว์ ทำให้มีการพัฒนาการจัดการศึกษาสัตวแพทยศาสตร์โดยลำดับดังต่อไปนี้
ฝ่ายพลเรือน
พ.ศ. 2447 - 2449 เจ้าพระยาเวศร์วงศ์วิวัฒน์ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการขณะนั้นได้จัดให้ นายเอช เอส เลียวนาร์ด
นายสัตวแพทย์ชาวยุโรป ทำการอบรมวิชาสัตวแพทย์ แก่พนักงานกรมช่างไหม (ต่อมาเป็นกรมเพาะ
ปลูก กระทรวงเกษตราธิการ)
พ.ศ. 2457 พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการขณะนั้น ได้จัดให้ นายยี
เจ ฮาวี นายสัตวแพทย์ชาวอังกฤษ ทำการอบรมวิชาสัตวแพทย์อย่างจริงจังอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็น
นายเอช เอส แอล วูดส์ ในปี พ.ศ. 2465 และได้ว่าจ้าง ดร.โรเบิร์ท เพอร์ซี โยนส์ เป็นผู้อำนวยการ
อบรม
ฝ่ายทหาร
พ.ศ. 2452 กรมทหารม้า มีนายสัตวรักษ์แผนโบราณทำหน้าที่ดูแลม้า
พ.ศ. 2453 พลตรี หม่อมเจ้าทองทีฆายุ ทรงพระยศร้อยโททหารม้าในขณะนั้น ดำริให้ใช้นายสัตวแพทย์
แผนปัจจุบันเช่นเดียวกับในต่างประเทศ จึงทรงเสนอต่อพลเอก กรมหลวง พิษณุโลก
ประชานารถ กรมจเรทหารม้า ดำเนินการขออนุมัติให้กองทัพบกจัดตั้งโรงเรียนนายสัตวรักษ์
ขึ้นใช้ชื่อว่า โรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก ในปี พ.ศ. 2454 โดยมี พลตรี หม่อมเจ้าทองทีฆายุ
ทรงดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนอัศวแพทย์ฯ นี้ และมี พันตรีเฮนวิลเฮมสปาเตอร์
(ยศกองทัพบกไทย) นายสัตวแพทย์จากเยอรมันทำหน้าที่ช่วยสอน แนวคิดการจัดการศึกษา
สัตวแพทยศาสตร์ ในระดับปริญญา พบหลักฐานเป็นเอกสารการประชุมของคณะกรรมการ
ดำริรูปการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด
ให้แต่งตั้งขึ้น คณะกรรมการฯ ดังกล่าวมีพระเจ้าพี่ยาเธอกรมขุนชัยนาทนเรนทรเป็นประธาน
โดยในเบื้องต้น ให้กรมตรวจกสิกรรมร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้มีการสอน
วิชากสิกรรมและสัตวแพทย์ขึ้นเป็นหลักสูตรระดับประกาศนียบัตร สำหรับนักเรียนกสิกรรม
และสัตวแพทย์ จากดำริที่จะให้มีการเรียนการสอนสัตวแพทยศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัยที่
ทัดเทียมกับต่างประเทศ การศึกษาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ขั้นปริญญา จึงได้ถือกำเนิดขึ้นด้วย
ความร่วมมือระหว่างพลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ พลจัตวาหลวง สนั่นรักษ์สัตว์
พันเอกหลวงสนิทรักษ์สัตว์ และ พันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ โดยแรกเริ่มได้จัดตั้งแผนก
สัตวแพทยศาสตร์ ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 ตราไว้ ณ
วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2478
ลําดับความเป็นมา
พ.ศ. 2478
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลง
-กรณ์ มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้น
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2478
(ค.ศ. 1935) เปิดรับสมัครนิสิต
รุ่นแรกซึ่งรับสมัครนักเรียน จบ
ประโยคมัธยมบริบูรณ์ (มัธยม8)
แผนกวิทยาศาสตร์ เพื่อสอบคัด
-เลือกเข้าเป็นนิสิตเตรียมสัตว-
แพทยศาสตร์ แผนกสัตวแพทย
-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิท-
ยาลัย
พ.ศ. 2480
ได้เริ่มเปิดสอนวิชา สัตวแพทย
ศาสตร์ เป็นปีแรกเมื่อ พ.ศ.
2480 (ค.ศ. 1937) โดยมี
หลักสูตร สัตวแพทยศาสตร์
บัณฑิต 4 ปี แบ่งเป็น เตรียม
สัตวแพทยศาสตร์ 2 ปี และ
สัตวแพทยศาสตร์ 2 ปี โดยมหา
วิทยาลัย มอบหมายให้ศาสตรา
จารย์ หลวงพรต พิทยพยัต
คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และ
วิทยาศาสตร์ ช่วยจัดการศึกษา
พ.ศ. 2482
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้
เพิ่มระยะเวลาศึกษา เป็นหลัก
สูตร 5 ปี โดยการเรียนวิชา
เตรียมสัตวแพทยศาสตร์ 2
ปีแรกยังคงเป็นเช่นเดิม แต่มี
การเพิ่มรายวิชาเช่น วิชาหลัก
อายุรศาสตร์, วิชาอายุรศาสตร์,
วิชาศัลยศาสตร์ และวิชาการ
เลี้ยงบำรุงสัตว์ ต่อมาเกิด
สงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่น
ได้ยึดตึกสัตวแพทยศาสตร์เป็น
ที่พัก ด้วยความเอื้ออารีของ
คณะเภสัชศาสตร์ แผนกสัตว-
แพทยศาสตร์ จึงได้ย้ายไปเปิด
การเรียนการสอน ที่คณะเภสัช
ศาสตร์
พ.ศ. 2485
แผนกสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬา
ลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้เลื่อน
ฐานะขึ้นเป็น คณะสัตวแพทย
ศาสตร์ สังกัดวิทยาลัยแพทย
ศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
(ตามพระราชกฤษฎีกา จัดวาง
ระเบียบราชการ กรมมหาวิทยา
ลัย แพทยศาสตร์ กระทรวง
สาธารณสุข พ.ศ. 2485 ตราไว้
ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485)
มีร้อยเอก หลวงชัย อัศวรักษ์
เป็นคณบดีคนแรก
พ.ศ. 2490
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับ
มอบตึกเรียนคืน จึงย้ายกลับ
มาเปิดการเรียนการสอน ที่
สถานศึกษาเดิม (บริเวณใกล้
กับโรงพยาบาลหญิงในปัจจุบัน)
พ.ศ. 2494
ด้วยความเอื้ออารีของ พันเอก
หลวงวาจ วิทยาวัฒน์ คณบดี
คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้
แบ่งพื้นที่ให้ คณะสัตวแพทย
ศาสตร์ จัดตั้งสถานศึกษาและ
โรงพยาบาลสัตว์ ขึ้นที่ถนน
สนามม้า จุฬาลงกรณ์ ซอย
12 (ถนนอังรีดูนังต์ จุฬา
ลงกรณ์ ซอย 12 ในปัจจุบัน)
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้
ย้ายมาอยู่สถานที่ใหม่ ในปี
พ.ศ.2495
พ.ศ. 2497
ด้วยความต้องการพัฒนา ด้าน
การเกษตรของประเทศ รัฐบาล
สมัยนั้น เร่งปรับปรุงการศึกษา
ด้านการเกษตร และได้ขยายมหา
วิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เป็นเหตุ
ให้ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬา
ลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกย้าย
เข้าไปเป็นคณะ ในสังกัดมหา
วิทยาลัย เกษตรศาสตร์
กระทรวงเกษตร ตามพระราช
บัญญัติ มหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2497
ตราไว้ ณ วันที่ 28 ธันวาคม
พ.ศ. 2497 โดยให้คณะ
กสิกรรมและสัตวบาล รับผิด-
ชอบการเรียนการสอน ชั้น
เตรียมสัตวแพทยศาสตร์ ส่วน
ชั้นปรีคลินิกและคลินิก ยังคง
ดำเนินการ ณ อาคาร เดิมที่
ถนนอังรีดูนังต์ จุฬาลงกรณ์
ซอย 12
พ.ศ. 2500
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้ปรับ
ปรุงหลักสูตร สัตวแพทยศาสตร์
บัณฑิต โดยเพิ่มเวลาเรียน จาก
5 ปี เป็น 6 ปี
พ.ศ. 2502
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหา
วิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้
เปลี่ยนไปสังกัดสำนักนายก
รัฐมนตรี
พ.ศ. 2507
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแนว
คิดโอนย้าย คณะสัตวแพทย
ศาสตร์ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นที่จุฬา
ลงกรณ์ มหาวิทยาลัยกลับคืน
แต่ที่ประชุมสภา มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ไม่เห็นด้วย และให้
สร้างอาคาร คณะสัตวแพทย-
ศาสตร์ ขึ้นที่บางเขน เพื่อย้าย
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จาก
บริเวณถนนอังรีดูนังต์ ไปที่
บางเขน
พ.ศ. 2508
คณะสัตวแพทยศาสตร์ โดยท่าน
คณบดี ศาสตราจารย์เตียง ตัน
สงวน ได้ทำหนังสือ แสดงความ
เห็นไม่ขอย้าย จากที่ตั้งเดิม
บริเวณถนนอังรีดูนังต์ ไปที่
บางเขน
พ.ศ. 2510
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้โอน
ย้ายกลับมาสังกัด จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย สำนักนายก
รัฐมนตรี ตามพระราชกฤษฎีกา
พ.ศ. 2510 ตราไว้ ณ วันที่
15 ตุลาคม พ.ศ. 2510 และ
ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 4 ตอนที่ 102 ลงวันที่
24 ตุลาคม พ.ศ. 2510
ทั้งนี้ ยังคงมีนิสิตส่วนหนึ่ง
ศึกษาต่อใน คณะสัตวแพทย-
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์
พ.ศ. 2511
ขณะนั้น พลเอกประภาส จารุ
เสถียร ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย
ท่านคณบดี ศาสตราจารย์เตียง
ตันสงวน คณะสัตวแพทย
ศาสตร์ ได้รับมอบที่ดิน 79 ไร่
ในเขต ต.บ่อพลับ อ.เมือง จ.นคร
ปฐม เพื่อจัดเป็นไร่ฝึกสำหรับ
นิสิต ใช้ฝึกปฏิบัติวิชาสัตวบาล
และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอ
ใช้ชื่อว่า
“ ไร่ฝึกนิสิตจารุเสถียร ”
ปัจจุบัน คือศูนย์ฝึกนิสิต คณะ
สัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล
ปศุสัตว์ จ.นครปฐม
พ.ศ. 2514
ตามหนังสือสำนัก ก.พ. ลงวันที่
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 ได้
อนุมัติและรับรองปริญญาวิทยา
ศาสตร์บัณฑิต (สาขาสัตว-
ศาสตร์) แก่นิสิตที่เรียนจบชั้นปี
ที่ 4 ของ หลักสูตร 6 ปี คณะ
สัตวแพทยศาสตร์ เวชชสาร
สัตวแพทย์ถือกำเนิดขึ้น โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตว-
แพทย์ หม่อมหลวงอัคนี นวรัตน์
และเป็นบรรณาธิการ คนแรก
พ.ศ. 2515
มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งจุฬา
ลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้โอน
จากสำนักนายกรัฐมนตรี มา
สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2522
ยกเลิกการอนุมัติปริญญาวิทยา
ศาสตร์บัณฑิต (สาขาสัตว
ศาสตร์)เว้นแต่นิสิตที่ไม่ประสงค์
จะศึกษาต่อใน 2 ปีสุดท้ายของ
หลักสูตร และมีหน่วยกิตสะสม
ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด และ
ปรับปรุงรายวิชา เตรียมสัตว-
แพทย์ และในปี พ.ศ. 2524 ได้
ปรับปรุงหลักสูตร สัตวแพทย-
ศาสตร์บัณฑิต มีโครงสร้างวิชา
เตรียมสัตวแพทย์ ปรีคลินิกและ
คลินิกสัดส่วน 2:2:2
พ.ศ. 2533
คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ
โครงการผลิตบัณฑิต สาขา
สัตวแพทยศาสตร์ เป็นสาขา
ขาดแคลนสาขาหนึ่งของประเทศ
ที่ทบวงมหาวิทยาลัย ให้จัดทำ
โครงการเร่งรัด ผลิตบัณฑิต
สาขาขาดแคลน สาขาวิชาสัตว-
แพทยศาสตร์ ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.
2532 และมีมติเห็นชอบ เมื่อวัน
ที่ 1 พ.ค. 2533 ให้คณะสัตว-
แพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นสถาบัน
หนึ่งที่ต้องรับนิสิตเพิ่ม ตั้งแต่ปี
การศึกษา 2533 จากเดิม 80คน
เป็นปีละ 110 คน และรับเพิ่มเป็น
ปีละ 150 คน
พ.ศ. 2534
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬา
ลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้เริ่มจัด
ให้มี การเรียนการสอนระดับ
บัณฑิตศึกษา โดยเปิดหลักสูตร
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต 6
สาขาวิชา ดังนี้
- สาขาวิชาวิทยาการสืบพันธุ์
สัตว์ ปี 2534
- สาขาวิชาสรีรวิทยาการสัตว์
ปี 2537
- สาขาวิชาการปรับปรุงพันธุ์
สัตว์ ปี 2537
- สาขาวิชาพยาธิชีววิทยาทาง
สัตวแพทย์ ปี 2537
- สาขาวิชาศัลยศาสตร์ทางสัตว
แพทย์ ปี 2538
- สาขาวิชาสัตวแพทย
สาธารณสุข ปี 2538
พ.ศ. 2538
นำเสนอโครงสร้างหลักสูตรให้มี
สัดส่วนของหน่วยกิต วิชา
เตรียมสัตวแพทย์ : ปรีคลินิก :
คลินิก เป็น 1 : 2 : 3 จํานวน
240 หน่วยกิต และได้เริ่มรับ
นิสิตเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่เกินปีละ
80 คน เป็นปีละ 150 คน
พ.ศ. 2539
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เริ่ม
ประกาศใช้ หลักสูตรสัตวแพทย
ศาสตร์บัณฑิต ฉบับปรับปรุง
2539 โดยครอบคลุมเนื้อหา
หลักสูตรวิชาทางทฤษฎีและปฏิ-
บัติทั้งหมดใน 5 ปีแรก และเปิด
โอกาสให้ นิสิตปีสุดท้ายได้เลือก
ฝึกปฏิบัติ ทางคลินิกในสายสัตว์
เลี้ยงเป็นเพื่อน และสายสัตว์ที่ใช้
เป็นอาหาร อย่างใดอย่างหนึ่ง
พ.ศ. 2548
เปิดหลักสูตร ประกาศนียบัตร
บัณฑิตวิทยาศาสตร์ การสัตว-
แพทย์คลินิก 1 หลักสูตร เริ่มมี
ความร่วมมือ ทางวิชาการ
ระหว่างจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยา-
ลัย โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์
กับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราช
มงคลล้านนา จ.น่าน เพื่อพัฒนา
การผลิตบัณฑิต สาขาสัตว-
ศาสตร์ และการจัดตั้งศูนย์วิทยา
การ วิทยาศาสตร์การสัตว์
จ.น่าน ต่อการขยายบริการการ
ศึกษาสู่จังหวัดน่าน การวิจัยและ
พัฒนา รวมทั้ง บริการวิชาการ
สู่ท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายในภาพ
รวม เพื่อพัฒนาจังหวัดน่าน และ
ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐ ที่
ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2550
คณะฯ ได้จัดสร้าง หอประวัติ
หอเกียรติยศ และสร้าง ห้อง
ประชุม ประสิทธิ์ โพธิปักษ์
สำหรับจัดประชุมผู้บริหาร และ
ห้องรับรอง สำหรับผู้มาเยือน
คณะฯ โดยมีพิธีเปิดห้องประชุม
“ ประสิทธิ์ โพธิปักษ์ ”
ในวันครบ 6 รอบ หรือ 72 ปี
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬา
ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2551
ปรับปรุง หลักสูตรสัตวแพทย
ศาสตร์บัณฑิตใหม่ และจัดตั้ง
หลักสูตรต่อเนื่อง ปริญญาโท
-เอก สาขาชีวศาสตร์ ทางสัตว
แพทย์ (Veterinary Biosciences)
เริ่มมีการบริหารงาน ในรูปแบบ
ศูนย์และยังมีการริเริ่มโครงการ
ใหม่ ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมที่
สำคัญ ทั้งทางด้านวิชาการและ
สังคมอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ
- ศูนย์ข้อมูลและประชาสัมพันธ์
- ศูนย์คอมพิวเตอร์และการ
เรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
การผลิตปศุสัตว์
- ศูนย์ติดตามการดื้อยาฯ
- ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์กลาง
พ.ศ. 2552
พ.ศ. 2552 - 2555
คณะฯ มีโครงการก่อสร้างอา-
คารวิจัยพัฒนา และบริการทาง
สัตวแพทยศาสตร์ ด้วยเงิน
- งบประมาณแผ่นดิน
- งบประมาณเงินรายได้มหา-
วิทยาลัย และ
- งบประมาณเงินรายได้คณะฯ
บางส่วน
ต่อมา อาคารดังกล่าว ได้รับพระ
ราชทานนามจากสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ ว่า
“ อาคารสัตววิทยวิจักษ์ ”
ซึ่งสามารถเปิดให้บริการ ตรวจ
รักษาพยาบาลสัตว์ แก่บุคคล
ภายใน และภายนอก ตั้งแต่ปี
พ.ศ.2557
พ.ศ. 2566
ครบรอบ 88 ปี
ปัจจุบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีภาค
วิชา ซึ่งรับผิดชอบการเรียนการ
สอนระดับปริญญาตรี ปริญญา
โท และปริญญาเอก จำนวน 10
ภาควิชา ได้แก่
- กายวิภาคศาสตร์
- สรีรวิทยา
- สัตวบาล
- เภสัชวิทยา
- พยาธิวิทยา
- ศัลยศาสตร์
- สูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและ
วิทยาการสืบพันธุ์
- อายุรศาสตร์
- สัตวแพทยสาธารณสุข
- จุลชีววิทยา
ปรัชญา (Philosophy)
เป็นสถาบันชั้นนำในการจัดการศึกษาทางสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีความรู้คุณธรรมและรับใช้สังคมอย่างมีคุณภาพ
ปณิธาน (Resolution)
ผลิตสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม และจรรยาบรรณ เป็นที่ยอมรับและตรงกับ
ความต้องการของสังคม ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสัตวแพทยศาสตร์ โดยพัฒนา
บุกเบิก ค้นคว้าทางการวิจัย ตลอดจน ประยุกต์ความรู้ที่ได้รับ เพื่อการบริการแก่สังคมและเพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาการและ
วิชาชีพ ที่ตอบสนองนโยบายของประเทศ และเชื่อมโยงองค์ ความรู้กับนานาชาติ
พันธกิจ (Mission)
• สร้างผลงานวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรมในระดับนานาชาติ
• สร้างบัณฑิตที่มีความสามารถด้านวิชาการ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะทันสมัย มีคุณธรรม จิตสาธารณะ และมีภาวะความเป็น
ผู้นำ
• นำความรู้ ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ไปขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและสังคมไทยอย่างยั่งยืน
สีประจําคณะ
RGB:
R 141 G 184 B 233
HEX:
#8db8e9
RGB:
R 222 G 87 B 124
HEX:
#de577c
ทําเนียบคณบดี
ศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
สันนิภา สุรทัตต์
ปี พ.ศ. 2564-2568
คณบดีในอดีต
ทําเนียบผู้บริหาร
คณบดี
รองคณบดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ประพฤติดี ปิยะวิริยะกุล
รองคณบดีฝ่ายบริหาร
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ชัยเดช อินทร์ชัยศรี
รองคณบดีฝ่ายนโยบาย แผน และบริการวิชาการ
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ณุวีร์ ประภัสระกูล
รักษาการรองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิรัชกิจ และกิจการนิสิต
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ณุวีร์ ประภัสระกูล
รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และสื่อสารองค์กร
ผู้ช่วยคณบดี
- ฝ่ายบริหาร
- นโยบาย แผน และ บริการวิชาการ
- วิชาการ วิรัชกิจ และกิจการนิสิต
- วิจัย นวัตกรรมและสื่อสารองค์กร
- เลขานุการ
ผลงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
คมกฤช เทียนคำ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารกลาง คลังและพัสดุ
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
คมกฤช เทียนคำ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารกลาง คลังและพัสดุ
ผลงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ น.สพ.
ก้องเกียรติ ศรีสุวัฒนาสกุล
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการจัดการสารสนเทศและชีวิตดิจิตอล
รองศาสตราจารย์ น.สพ.
ก้องเกียรติ ศรีสุวัฒนาสกุล
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการจัดการสารสนเทศและชีวิตดิจิตอล
ผลงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดิ์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกายภาพและศิลปวัฒนธรรม
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดิ์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกายภาพและศิลปวัฒนธรรม
ผลงานวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ
หัวหน้าหน่วยชันสูตรโรคสัตว์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ
หัวหน้าหน่วยชันสูตรโรคสัตว์
ผลงานวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ธีรวัฒน์ สว่างจันทร์อุทัย
ผู้ช่วยคณบดีและผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์-ศูนย์ฝึกนิสิตฯ นครปฐม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ธีรวัฒน์ สว่างจันทร์อุทัย
ผู้ช่วยคณบดีและผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์-ศูนย์ฝึกนิสิตฯ นครปฐม
ผลงานวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบาย
แผนและประกันคุณภาพองค์กร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบาย แผนและประกันคุณภาพองค์กร
ผลงานวิจัย
อาจารย์ น.สพ. ชัยยศ ธารรัตนะ
ผู้ช่วยคณบดีและผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลสัตว์ กรุงเทพฯ
อาจารย์ น.สพ.
ชัยยศ ธารรัตนะ
ผู้ช่วยคณบดีและผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์ กรุงเทพฯ
ผลงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
เยาวลักษณ์ ปัญญสิงห์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา
รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
เยาวลักษณ์ ปัญญสิงห์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา
ผลงานวิจัย
ผศ. น.สพ. ดร.
นวพล เตชะเกรียงไกร
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
นวพล เตชะเกรียงไกร
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ
ผลงานวิจัย
ผศ. น.สพ. ดร.
เกษม รัตนภิญโญพิทักษ์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
เกษม รัตนภิญโญพิทักษ์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต
ผลงานวิจัย
อาจารย์ น.สพ.ดร.
สิรวิทย์ ภักดีพาณิชย์กิจ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายทะเบียนการศึกษา
อาจารย์ น.สพ.ดร.
สิรวิทย์ ภักดีพาณิชย์กิจ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายทะเบียนการศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
ศิริรัตน์ รัตนภุชพงศ์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสัตวแพทยศาสตร์ศึกษาและรับรองหลักสูตร
ผลงานวิจัย
ผศ. สพ.ญ. ดร.
ทรายแก้ว สัตยธรรม
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ. ดร.
ทรายแก้ว สัตยธรรม
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ
ผลงานวิจัย
ศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
สมพร เตชะงามสุวรรณ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย
ศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
สมพร เตชะงามสุวรรณ
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย
ผลงานวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
นัทธี อ่ำอินทร์
ผู้ช่วยคณบดีและผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
นัทธี อ่ำอินทร์
ผู้ช่วยคณบดีและผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง
ผลงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
มรกต นันทไพฑูรย์
ผู้ช่วยคณบดีและเลขานุการคณะกรรมการบริหารคณะฯ
รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
มรกต นันทไพฑูรย์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และภาพลักษณ์องค์กร
ผลงานวิจัย
อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมวิจัย
และผู้ประกอบการ
อาจารย์ ดร.
ธีรพงศ์ ยะทา
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมวิจัยและผู้ประกอบการ
ผลงานวิจัย
รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
มรกต นันทไพฑูรย์
ผู้ช่วยคณบดีและเลขานุการคณะกรรมการบริหารคณะฯ
รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร..
มรกต นันทไพฑูรย์
ผู้ช่วยคณบดีและเลขานุการคณะกรรมการบริหารคณะฯ
ผู้อำนวยการ
หัวหน้ากลุ่มภารกิจ
นาง
อรุณี ทันตศุภารักษ์
หัวหน้ากลุ่มภารกิจกายภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ
นางสาว
กรวรรณ เวชชานุเคราะห์
หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารและธุรการ
พันธมิตรของเรา
บจก. เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป
บริษัท เจ.เอฟ.แอดวานเมด จำกัด
IDEXX Laboratories Co., Ltd.
บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด
ฟิลลิปส์ อินเตอร์เนชั่นแนล
บจก. เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป
บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)
บริษัม โรยัล คานิน จำกัด
บริษัท ซียู เว็ท เอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
บริษัท ซินโปร แอนนิมอล นูทริชั่น (ไทยแลนด์) อิงค์ จำกัด
บริษัท ซีวา แอนิมัล เฮลธ์ (ประเทศไทย) จำกัด
AVO Biotech Pte. Ltd. (Synthgene group)
บริษัท บีโอเมริเยอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท โซเอทิส (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ดีเคเอสเอช ( ประทศไทย ) จำกัด
บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)
บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ แอนิมอล เฮลท์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ไบโอซายน์ แอนิมัล เฮลธ์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด
บริษัท เวทโปรดักส์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด
บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ออคต้า เมมโมเรียล จำกัด
บริษัท อีแลนโค (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท โอ สแควร์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด
บริษัท ไอซายเอนซ์ เทคโนโลยี จำกัด
พันธมิตรมหาวิทยาลัย
บริษัท แอนิคอน เลเบอร์ จำกัด (Ani(mal) Con(trol))
มหาวิทยาลัย แห่งชาติ ซุงนัม : ประเทศเกาหลีใต้
สมาพันธ์สมาคมสัตวแพทย์แห่งเอเชีย (FAVA) : ประเทศฟิลิปปินส์
มหาวิทยาลัย ฮกไกโด : ประเทศญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต : ประเทศ สหรัฐ อเมริกา
มหาวิทยาลัย เจมส์คุก : รัฐควีนส์ แลนด์ ,ประเทศ ออสเตรเลีย
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตมองโกเลีย : ประเทศมองโกเลีย
มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน : ประเทศไต้หวัน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย : จ.สงขลา ประเทศไทย
มหาวิทยาลัย เซี่ยงไฮ้ : ประเทศจีน
เครือข่ายมหาวิทยาลัยสุขภาพแห่งเอเชียอาคเนย์ : SEAOHUN
มหาวิทยาลัยซียาห์ กัวลา : ประเทศอินโดนีเซีย
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลแห่งโตเกียว : ประเทศญี่ปุ่น
ยูนิเวอร์ซิทัส แอร์ลังกา : ประเทศอินโดนีเซีย
มหาวิทยาลัยแห่งชาติ มาเลเซีย : ประเทศมาเลเซีย