ภารกิจกายภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนผังอาคาร
แผนผังอาคารคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬา
VET 001 | อาคารสัตวแพทย์ 1
VET 014 | อาคาร 50 ปี สัตวแพทยศาสตร์
VET 015 | อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์
VET 016 | อาคารฉุกเฉินสัตว์ป่วยหนักและคลินิกนอกเวลา
VET 017 | อาคารสัตววิทยวิจักษ์
ติดต่อหน่วยงาน
VET 001 | อาคารสัตวแพทย์ 1 (อาคารชัยอัศวรักษ์)
ชื่ออาคาร |
อาคารสัตวแพทย์ 1 (อาคารชัยอัศวรักษ์) |
ที่ตั้ง |
39 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน |
กรุงเทพมหานคร 10330 |
|
ประเภทของอาคาร |
อาคารเรียนของมหาวิทยาลัย และเป็นอาคารสำนักงาน |
ปีที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ |
พ.ศ. 2515 |
ผู้ออกแบบ |
ม.ร.ว.แหลมฉาน หัสดินทร |
ประพุทธ ยุกติรัตน์ |
|
รังสรรค์ ต่อสุวรรณ |
|
พื้นที่รวม |
6 ชั้น 2,617 ตร.ม. |
VET 001 l อาคารสัตวแพทย์ 1 (อาคารชัยอัศวรักษ์)
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2514-2515 เป็นอาคารที่มีรูปลักษณ์โดดเด่น
สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวของอาคารแสดงเนื้อวัสดุคอนกรีตอย่างแจ่มชัด
ไร้การปกปิดด้วยสี ซึ่งเป็นแนวคิดที่สะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าของงานคอนกรีตเสริมเหล็ก
และเป็นรูปแบบงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ที่เกิดขึ้นในยุโรป และสหรัฐอเมริกา
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
VET 014 l อาคาร 50 ปี สัตวแพทย์ศาสตร์
ชื่ออาคาร |
อาคาร 50 ปี สัตวแพทยศาสตร์ |
ที่ตั้ง |
39 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน |
กรุงเทพมหานคร 10330 |
|
ประเภทของอาคาร |
อาคารเรียนของมหาวิทยาลัย และเป็นอาคารสำนักงาน |
ปีที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ |
พ.ศ. 2528 |
ผู้ออกแบบ |
อ.กิ ขนิษฐานันท์ |
รศ.ดร.วีระ สัจกุล |
|
|
|
พื้นที่รวม |
5 ชั้น 4,272 ตร.ม. |
VET 015 l อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์
ชื่ออาคาร |
อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์ |
ที่ตั้ง |
39 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน |
กรุงเทพมหานคร 10330 |
|
ประเภทของอาคาร |
อาคารเรียนของมหาวิทยาลัย และเป็นอาคารสำนักงาน |
ปีที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ |
พ.ศ. 2538 |
ผู้ออกแบบ |
อ.กิ ขนิษฐานันท์ |
รศ.ดร.วีระ สัจกุล |
|
|
|
พื้นที่รวม |
16 ชั้น 25,776.45 ตร.ม. |
VET 015 l อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์
แนวคิดในการสร้างอาคารหลังนี้ ตั้งใจที่จะสร้างขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาของคณะฯ ในอนาคต
มิได้เพียงแต่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะตระหนักถึงการเพิ่มขึ้นของคณาจารย์ที่ได้
รับทุนจากการพัฒนาอาจารย์ และจะกลับมาเป็นกำลังสำคัญของคณะฯ แนวโน้มของการวิจัย
ที่มุ่งเน้นไปในแนวลึก และเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่จะต้องการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย
ดังนั้น ประจวบกับการสร้างสิ่งอำนวยเพื่อการวิจัย จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคณะฯ ซึ่งปัจจุบัน
ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า งานวิจัยของบุคลากรคณาจารย์ในคณะฯ นั้นโดดเด่น ในสาขาวิชาชีพและ
สามารถได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากสภาวิจัยฯ หลายท่าน
ต่อมา ในส่วนการประโยชน์การเรียนการสอนนั้น ได้เตรียมความพร้อมเพื่อนิสิตสัตวแพทยศาสตร์
ที่จะเพิ่มขึ้นและยังได้คิดถึงการรองรับการจัดฝึกอบรม การเตรียมการศึกษาต่อเนื่อง รวมทั้งการ
สัมมนาทางวิชาการที่จะต้องมีขึ้นในอนาคต
นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมการเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของบัณฑิตศึกษาทุก ๆ สาขา ที่มีแนวโน้ม
ที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการวิจัย และสถานที่ห้องสมุด ซึ่งถือเป็นศูนย์เอกสาร
การสัตวแพทย์ที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
VET 016 l อาคารฉุกเฉินสัตว์ป่วยหนักและคลินิกนอกเวลา
ชื่ออาคาร |
อาคารฉุกเฉินสัตว์ป่วยหนักและคลินิกนอกเวลา |
ที่ตั้ง |
39 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน |
กรุงเทพมหานคร 10330 |
|
ประเภทของอาคาร |
อาคารเรียนของมหาวิทยาลัย และเป็นอาคารสำนักงาน |
ปีที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ |
พ.ศ. 2547 |
ผู้ออกแบบ |
อ.กิ ขนิษฐานันท์ |
รศ.ดร.วีระ สัจกุล |
|
|
|
พื้นที่รวม |
3 ชั้น 869.19 ตร.ม. |
VET016 l Intensive Veterinary Emergency Buildings and Out-of-Hour Clinics
นับตั้งแต่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ก่อดั้งขึ้น
คลินิกฉุกเฉินกำเนิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ จากความต้องการของประชาชนเจ้าของสัตว์ป่วย
ที่ต้องการออย่างทันท่วงทีจากสัตวแพทย์ในยามวิกาล ประกอบกับในเวลานั้นยังไม่มีคลินิก
รักษาสัตว์ ที่เปิด 24 ชั่วโมง คลินิกฉุกเฉินในเวลานั้นมิได้เปิดอย่างเต็มรูปแบบ อย่างที่เห็นกัน
ในปัจจุบัน เนื่องจากมีการบริหารงานโดยนิสิตสัตวแพทย์ปีสุดท้ายซึ่งพักอยู่ ณ หอพักนิสิตคณะ
สัตวแพทยศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึงปัจจุบันเป็นอาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์ ด้วยยังขาด
ประสบการณ์ของนิสิตสัตวแพทย์ดลอดจนขาดที่ปรึกษาที่จะให้คำปรึกษาในการรักษาสัตว์
รวมไปถึง ความไม่พร้อมของคลินิก ทั้งในด้านอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์คลินิกฉุกเฉิน
ในขณะนั้น จึงได้ปิดตัวลง จนกระทั่งเดือนเมษายน ปี 2543 คลินิกฉุกเฉินจึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา
อีกครั้ง เพื่อให้บริการแก่ประชาชนและรองรับการเรียนการสอนของนิสิตสัตวแพทย์ชั้นปีที่ 6
ประกอบกับทางคณะฯ มีอาจารย์ บุคลากร นิสิตเพิ่มขึ้นและมีเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์
และมีวิทยาการการรักษาสัตว์ที่ก้าวหน้าขึ้นในเวลานั้นคลินิกได้เปิดให้บริการในช่วงเวลาตั้งแต่
22.00 น. ถึง 8.00 น. ของวันถัดไป ผลปรากฎว่าได้รับการดอบสนองจากประชาชนทั่วไป โดย
นำสัตว์มารักษาเพิ่มขึ้น ทางคณะฯ จึงขยายเวลาเปิดให้บริการแก่ประชาชนนอกเวลาราชการ
โดยเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยทดลองเปิดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง
เดือนมิถุนายน ปี 2543 เนื่องจากได้รับการตอบรับอย่างดีมากจากประชาชน ผู้รับบริการ คลินิก
ฉุกเฉินนอกเวลาเต็มรูปแบบจึงถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากคลินิกฉุกเฉินที่เปิดบริการมี
พื้นที่คับแคบ ไม่สะดวกในการทำงาน ซึ่งจำเป็นต้องมีการขยายพื้นที่สำหรับให้บริการแต่ยังติดขัด
ในเรื่องงบประมาณดำเนินการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเจ้าางเธอ เจ้าฟ้ากัลยา
ณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงทราบถึงความจำเป็นดังกล่าว กับทรงมีพระราช
ดำริที่จะทรงช่วยเหลือสุนัขของประชาชนโดยทั่วไป และสุนัขจรจัดให้ได้รับการรักษาพยาบาล
อย่างทั่วถึงและทันท่วงที ในการนี้คุณเจริญ - คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนาภักดี จึงสนองพระราชดำริ
โดยการบริจาคทุนทรัพย์เป็นจำนวนเงิน 13 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับสร้างอาคารฉุกเฉินฯ อาคาร
ฉุกเฉินสัตว์ป่วยหนักและคลินิกนอกเวลาเป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 1,000 ตารางเมตร
ประกอบด้วย ห้องรักษาสัตว์ป่วยนอกเวลา ห้องฉุกเฉินสำหรับสัตว์ป่วยและห้องพักสัตว์ป่วยวิกฤต
นอกจากนี้ยังประกอบด้วย ห้องผ่าตัด ห้องเอ็กซเรย์ ห้องพักพิเศษสำหรับสัตว์ป่วย ห้องประชุม และ
ห้องพักแพทย์ ซึ่งเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงในการก่อสร้างอาคารใหม่ดังกล่าว เจ้าประคุณสมเด็จ
พระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวัน
พุธที่ 26 พฤษภาคม 2547 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 7 ปีวอกเวลา 15.30 ตัวอาคารใช้เวลาในการ
ก่อสร้างทั้งสิ้น 254 วัน
VET 017 l อาคารสัตววิทยวิจักษ์
ชื่ออาคาร |
อาคารสัตววิทยวิจักษ์ |
ที่ตั้ง |
39 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน |
กรุงเทพมหานคร 10330 |
|
ประเภทของอาคาร |
อาคารเรียนของมหาวิทยาลัย และเป็นอาคารสำนักงาน |
ปีที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ |
พ.ศ. 2552 |
ผู้ออกแบบ |
อ.กิ ขนิษฐานันท์ |
รศ.ดร.วีระ สัจกุล |
|
|
|
พื้นที่รวม |
11 ชั้น 13,213 ตร.ม. |
VET 017 l อาคารสัตววิทยวิจักษ์
เป็นอาคาร 11 ชั้น เป็นที่ทำการของโรงพยาบาลสัตว์เล็ก ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2552 เนื่องจากเป็นอาคารขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอย 13,213 ตารางเมตร
จึงต้องแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 เฟส โดยในช่วงแรกได้ดำเนินการงานโครงสร้างทั้งหมด และงาน
ภายในถึงชั้นที่ 6 และในเฟส ที่ 2 ได้ดำเนินการต่อจนครบ 11 ชั้น อาคารหลังนี้นอกจากที่ได้รับ
นามพระราชทาน "อาคารสัตววิทยวิจักษ์" แล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จมาเป็นองค์ประธานในการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.
2552
แบบฟอร์มต่างๆ
แบบฟอร์มใบแจ้งซ่อมและบริการ
แบบฟอร์มใบแจ้งซ่อมและบริการ
แบบฟอร์มขอใช้ห้อง(นอกจากตารางสอน,สอบ)
แบบฟอร์มขอใช้ห้อง
แบบฟอร์มใบขอยกเลิกใช้รถส่วนกลางและการเปลี่ยนแปลงการใช้รถยนต์
แบบฟอร์มใบขอยกเลิกใช้รถส่วนกลาง
แบบฟอร์มขอยกเลิกการใช้ห้องเรียน
แบบฟอร์มขอยกเลิกการใช้ห้องเรียน
แบบฟอร์มกรอกข้อมูลขอตราติดรถยนต์
แบบฟอร์มกรอกข้อมูลขอตราติดรถยนต์
แบบฟอร์มกรอกข้อมูลขอตราติดรถจักรยานยนต์
แบบฟอร์มกรอกข้อมูลขอตราติดรถจักรยานยนต์
ที่ตั้ง
ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 th
ติดต่อเจ้าหน้าที่
-
นาง อรุณี ทันตศุภารักษ์
02-218-9777 Arunee.T@chula.ac.th -
นางสาวนิภาพร คณานิตย์
02-218-9788 nipaporn.k@chula.ac.th -
นายพิทยาธร ขัติยะ
02-218-9792 pittayathon.k@chula.ac.th