สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้านสัตวแพทยศาสตร์โดยพัฒนา บุกเบิก ค้นคว้า ทางการวิจัย ตลอดจนประยุกต์วิชาความรู้ที่ได้รับเพื่อการบริการแก่สังคมและเพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ ที่ตอบสนองนโยบายของประเทศ และเชื่อมโยงองค์ความรู้กับนานาประเทศได้

ข่าวประชาสัมพันธ์

รายงานสรุปผลการดําเนินการ

บุคลากร

 

 

 

 

 

 

 

หัวหน้ากลุ่มภารกิจวิจัยและนวัตกรรม

นางสาว
สุคนธา ทองบริสุทธิ์

หัวหน้ากลุ่มภารกิจวิจัยและนวัตกรรม P6

อีเมล: sukhontha.t@chula.ac.th

เบอร์โทร: 02-2189440

 

 

 

 

 

 

 

เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา P7

นางสาว
สุทินา ศิรประภาพงศ์

เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา P7

อีเมล: suthina.s@chula.ac.th

เบอร์โทร: 02-2189793

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

นางสาว
ลาวัลย์ จรรยากูล

ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

อีเมล: lawan.j@chula.ac.th

เบอร์โทร: 02-2189676

สถาบันการศึกษาชั้นนำด้านสัตวแพทย์ เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและนานาชาติ

ฐานข้อมูลที่รวบรวมประวัติความเชี่ยวชาญและผลงานของประชาคมวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งหมายถึง คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยที่เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ 

การสนับสนุนภายนอก

การสนับสนุนภายใน

Cluster

การวิเคราะห์ความเสี่ยงอาหารและน้ำ

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงอาหารและน้ำ

     การยกระดับความปลอดภัยด้านสาธารณสุข สุขภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อม ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงอาหารและน้ำ
            1. การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)  การประเมินโอกาสหรือความเป็นไปได้  ในการเกิดผลกระทบทางสุขภาพจาก
                อันตรายจุลินทรีย์และอันตรายเคมีในอาหารและน้ำ
            2. การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) การลดโอกาสหรือควบคุมอันตรายจุลินทรีย์และอันตรายเคมีในอาหารและน้ำ
            3. การสื่อสารความเสี่ยง (Risk Communication)   การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการประเมินความเสี่ยง และ การจัดการ
                ความเสี่ยงให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อาหารและน้ำ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวินิจฉัยและติดตามเชื้อโรคจากสัตว์



ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวินิจฉัยและติดตามเชื้อโรคจากสัตว์

     อุบัติการณ์โรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากโรคจากสัตว์สู่คนและเชื้อโรคในสัตว์ต่าง ๆ   ได้แก่  เชื้อไวรัส  เชื้อแบคทีเรีย  และ    เชื้อรา
มีรายงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ และมักเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ แต่ในทางปฏิบัติยังมีข้อจำกัดด้านวิทยาการเทคโนโลยี  เครื่องมือ
และการบูรณาการความความรู้และร่วมมือในระดับองค์กร ทีมวิจัยได้นำเสนองานวิจัยเชิงลึกและเชิงประยุกต์ต่อวงการจุลชีววิทยา
ทางสัตวแพทย์อย่างต่อเนื่อง เช่น เชื้อแบคทีเรียดื้อยา เชื้อไวรัสอุบัติใหม่ และการวินิจฉัยเชื้อราในสัตว์   หน่วยวิจัยฯมีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาวิจัย   เพื่อลดข้อจำกัดด้านงานวินิจฉัยเชื้อโรคทางสัตวแพทย์   พัฒนาวิธีการ    ตรวจเชื้อโรคให้มีความหลากหลาย  และ
ถูกต้อง และเผยแพร่ข้อมูลหน่วยวิจัยได้รับความสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานพัฒนาวิจัยการเกษตร และบริษัทเอกชนอย่าง
ต่อเนื่อง   ประกอบกับได้ความร่วมมือกับหน่วยธนาคารเชื้อโรคจากสัตว์    หน่วยงานราชการ    มหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ
หน่วยวิจัยมีเป้าหมายสำคัญ  ในการยกระดับมาตรฐานการตรวจและการติดตามเชื้อโรคจากสัตว์ที่สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลของ
เชื้อโรคจากมนุษย์เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงด้านงานวิจัยที่สำคัญแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 


ด้านการวิจัยโรคสัตว์น้ำ



ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการวิจัยโรคสัตว์น้ำ

     เป็นผู้นำทางด้านสัตวแพทย์สัตว์น้ำในระดับชาติและนานาชาติ  ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับสัตวแพทย์สัตว์น้ำทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ 
พัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำ รวมไปถึงบริการวิชาการ ด้านการตรวจโรค วินิจฉัย  รักษา และให้คำแนะนำ
ด้านสัตว์น้ำแก่ประชาชน 

โรคติดเชื้อในสัตว์ที่มีพาหะนำโรค

ศูนย์เชี่ยวาญเฉพาะทางการวิจัยโรคติดเชื้อในสัตว์ที่มีพาหะนำโรค

     วัตถุประสงค์ของหน่วยวิจัยโรคที่เกิดจากพาหะนำโรคในสัตว์ คือ เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากพาหะนำโรคในสัตว์ ชีววิทยา
และนิเวศวิทยาของพาหะที่สำคัญ และการเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่และอุบัติใหม่จากสัตว์และจากสัตว์สู่คน

พยาธิวิทยาในสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงพิเศษและสัตว์น้ำ



ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิจัยพยาธิวิทยาในสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงพิเศษและสัตว์น้ำ

          1. เพื่อศึกษาวิจัย เป็นแหล่งอ้างอิง พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้

          2. การเฝ้าระวังโรค การศึกษาพยาธิวิทยาเปรียบเทียบในทางการแพทย์


          3. การผลิตบัณฑิตศึกษา และบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านพยาธิวิทยา

ด้านโรคติดเชื้อของปลา



ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อของปลา

     ผลิตและสร้างสรรค์งานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อต่างๆ ของปลาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
     เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของสัตวแพทย์ นักวิชาการสัตว์น้ำ/ประมง และเกษตรกรในด้านโรคติดเชื้อต่างๆของปลาเศรษฐกิจและ
     สร้างบัณฑิตและนักวิจัยทางด้านสุขภาพปลาเศรษฐกิจและโรคติดเชื้อของปลาเศรษฐกิจที่มีคุณภาพออกสู่สังคม


วิทยาการสืบพันธุ์สุกร


ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิทยาการสืบพันธุ์สุกร

โรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง


ศูนย์เชี่ยวชาญฌแพาะทางโรคมะเร็งในสัตว์เลี้ยง

โรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์

มีบุคลากรที่มีความรู้และความพร้อมในการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์  ผลการศึกษาวิจัยของศูนย์ฯ
นำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ การควบคุมและป้องกันโรคอุบัติใหม่ในคนและสัตว์ รวมถึงสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์ทำงาน
ที่เกี่ยวข้องกับโรคอุบัติใหม่ในสัตว์  รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเข้าร่วมเครือข่ายห้องปฏิบัติการของทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อความ
ร่วมมือในการศึกษาวิจัยและเตรียมความพร้อมสำหรับโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

 

นวัตกรรมข้อมูลเพื่อการพัฒนาปศุสัตว์



หน่วยปฏิบัติการวิจัยนวัตกรรมข้อมูลเพื่อการพัฒนาปศุสัตว์

     ผู้นำด้านการพัฒนาอัลกอริทึ่ม เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการจัดการปศุสัตว์ ทั้งการจัดการระดับตัวสัตว์ ฟาร์ม โรงงานผลิตภัณฑ์
จากปศุสัตว์ และการจัดการการผลิตปศุสัตว์ 
ในระดับพื้นที่

หน่วยวิจัยปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์


หน่วยวิจัยปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์

     หน่วยวิจัยฯ ผลิตผลงานที่เป็นแหล่งอ้างอิงของประเทศ ด้านปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน สามารถผลิตกำลังคน
ที่มีศักยภาพในการทำงาน
วิจัยสูง โดยบัณฑิตเหล่านี้จะช่วยในการขยายเครือข่ายนักวิจัยทางด้านปรสิตวิทยาทั้งระดับชาติและนานาชาติ

เซลล์ต้นกำเนิดและชีววิศวกรรมทางสัตวแพทย์คลินิก

 

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดและชีววิศวกรรมทางสัตวแพทย์คลินิก

     เป็นหน่วยวิจัยที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเซลล์ต้นกำเนิดทางสัตวแพทย์และเป็นแหล่งอ้างอิงด้านวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ

การเจริญพันธุ์ในสัตว์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเจริญพันธุ์ในสัตว์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     เป็นหน่วยวิจัยบูรณาการเชิงลึกด้านการพัฒนาเทคโนโลยี   และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มการเจริญพันธุ์ในสัตว์ในระดับนานาชาติ    จุดหมาย
ปลายทางที่หน่วยวิจัยมุ่งหวัง คือการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) และภาวะความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ (infertility)
ในสัตว์ 
ก่อให้เกิดองค์ความรู้เป็นที่ยอมรับทางวิชาการและสังคมภายนอก รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ อาทิ การเพาะ
เลี้ยงเซลล์ระบบสืบพันธุ์ นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อการวินิจฉัยโรค การรักษา และการจัดการฝูงสัตว์ นำไปสู่การพัฒนาเป็นศูนย์เชี่ยวชาญ
เฉพาะทางระบบสืบพันธุ์และการจัดการปัญหาการเจริญพันธุ์ในสัตว์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CE CU-RI) เพื่อโดยมุ่งเน้นการตรวจ-
สอบยา   สารออกฤทธิ์   และการจัดการที่มีผลต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ในปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง   ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงบวกในการ
ขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ

     โดยสรุปหน่วยวิจัยฯ   ตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคนิค   เทคโนโลยีชีวภาพทางระบบสืบพันธุ์    และนวัตกรรมในการวินิจฉัย    รวมไปถึง
แนวทางรักษาปัญหาการเจริญพันธุ์ ใน 3 เป้าหมายสำคัญได้แก่

          2.1 ปัญหาความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำในเพศเมียที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเยื่อบุมดลูก
          2.2 ปัญหาความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำในเพศผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและการทำงานของอสุจิ
          2.3 ปัญหาการสูญเสียตัวอ่อนในระหว่างการตั้งท้อง

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในปรสิตวิทยาของสัตว์

หน่วยปฏิบัติการวิจัยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในปรสิตวิทยาของสัตว์

     1. ศึกษาค่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในโรคปรสิตในสัตว์ เพื่อทำให้ทราบถึงความก่อโรค ความรุนแรงของโรค และรวมไปถึงช่วยในขั้นตอน
         การรักษาสัตว์ที่ป่วยจากโรคทางปรสิต

     2. เพื่อนำไปใช้พัฒนาในการตรวจวินิจฉัยโรคปรสิตในสัตว์ต่อไปในอนาคต
     3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือวิจัยกับหน่วยงานด้านปรสิตในระดับนานาชาติ

ไวรัสในสัตว์และการพัฒนาการตรวจวินิจฉัย

หน่วยปฏิบัติการวิจัยไวรัสในสัตว์และการพัฒนาการตรวจวินิจฉัย

     ศึกษาและจำแนกไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการเฝ้าระวังโรคสัตว์สู่คน หรือคนสู่สัตว์
พัฒนาการตรวจวินิจฉัยให้มีความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และน่าเชื่อถือ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงและตอบปัญหาของสังคมได้ในอนาคต

วิวัฒนาการของเชื้อไวรัสและการพัฒนาวัคซีนในสุกร


หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิวัฒนาการของเชื้อไวรัสและการพัฒนาวัคซีนในสุกร

คู่มือ

แบบฟอร์มต่าง ๆ ของคณะสัตวแพทย์

ข่าวประชาสัมพันธ์งานวิจัย

CUVC