เกี่ยวกับเรา

เกี่ยวกับภาควิชากายวิภาคศาสตร์

        ภาควิชากายวิภาคศาสตร์คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้ทำการสอนในรายวิชาหลักของหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ตั้งแต่ปี 1935 ในปัจจุบันภาควิชารับผิดชอบในรายวิชา กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ วิทยาฮิสโตทางสัตวแพทย์ กายวิภาคศาสตร์พัฒนาการและประสาทกายวิภาคศาสตร์สำหรับผู้เรียนในระดับปริญญาบัณฑิต นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาคือหลักสูตรชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์และหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางสัตวแพทย์

พันธกิจของภาควิชา

        ในฐานะที่เป็นกระดูกสันหลังของประชาคมสัตวแพทย์ พันธกิจสำคัญของภาควิชาคือการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีพสำหรับนิสิตสัตวแพทย์และประชาคมทางด้านชีวศาสตร์ทุกแขนง ยิ่งไปกว่านั้นภาควิชาฯมี พันธกิจในการสนับสนุนความร่วมมือทางด้านงานวิจัย การฝึกอบรมทางด้านสัตวแพทย์ รวมทั้งด้านการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต

วัตถุประสงค์ของภาควิชา

     1. เพื่อส่งเสริมการศึกษาอย่างมีคุณภาพทางด้านกายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์แก่นิสิตสัตวแพทย์ หรือศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
     2. เพื่อผลิตและต่อยอดงานวิจัยพื้นฐานรวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการในทุก ๆ ด้านเพื่อความเป็นเลิศทางด้านงานวิจัย
     3. เพื่อสนับสนุนให้เกิดงานบริการวิชาการในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องโดยที่จะนำไปสู่การสนับสนุน และการมีส่วนร่วมกับประชาคมทั้งหมด

 
 

บุคลากร

ผลงานวิจัย




รศ.สพ.ญ.ดร.
ศยามณ ศรีสุวัฒนาสกุล

รศ.สพ.ญ.ดร.
ศยามณ ศรีสุวัฒนาสกุล

หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์

อีเมล : sayamon.s@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189693

รศ.สพ.ญ.ดร. อรสิริ ชื่นทรวง
Assoc.Prof. Dr. Ornsiri Cheunsuang

รศ.สพ.ญ.ดร.
อรสิริ ชื่นทรวง

รองศาสตราจารย์

อีเมล : Ornsiri.S@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189703

ผลงานวิจัย




รศ.น.สพ.ดร.
เกรียงยศ  สัจจเจริญพงษ์

รศ.น.สพ.ดร.
เกรียงยศ สัจจเจริญพงษ์

รองศาสตราจารย์

อีเมล : Kriengyot.S@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189702

ผลงานวิจัย




รศ.น.สพ.ดร.
วุฒิชัย  กลมเกลียว

รศ.น.สพ.ดร.
วุฒิชัย กลมเกลียว

รองศาสตราจารย์

อีเมล : Wuthichai.k@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189707

ผลงานวิจัย




รศ.น.สพ.ดร.

ไพศาล เทียนไทย

รศ.น.สพ.ดร.
ไพศาล เทียนไทย

รองศาสตราจารย์

อีเมล : Paisan.T@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189698

ผลงานวิจัย




รศ.น.สพ.ดร.
ดำริ  ดาราวิโรจน์

รศ.น.สพ.ดร.
ดำริ ดาราวิโรจน์

รองศาสตราจารย์

อีเมล : Damri.d@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189658

ผลงานวิจัย




รองศาสตราจารย์ น.สพ.
ก้องเกียรติ ศรีสุวัฒนาสกุล
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการจัดการสารสนเทศและชีวิตดิจิตอล

รศ.น.สพ.
ก้องเกียรติ ศรีสุวัฒนาสกุล

รองศาสตราจารย์

อีเมล : kongkiat.s@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189658

ผลงานวิจัย




ผศ.สพ.ญ.ดร.

พรหมพร  รักษาเสรี

ผศ.สพ.ญ.ดร.
พรหมพร รักษาเสรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อีเมล : Promporn.R@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189658

ผศ.น.สพ.กมล  สกุลวิระ

Asst. Prof .Kamol sakulwira

ผศ.น.สพ.
กมล สกุลวิระ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อีเมล : kamol.s@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189658

ผศ.น.สพ.ปุณณรัตน์  วิบูลย์จันทร์

Asst. Prof. Punnarat Vibulchan

ผศ.น.สพ.
ปุณณรัตน์ วิบูลย์จันทร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อีเมล : punnarat.v@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189658

ผศ.น.สพ.อดิศร  อดิเรกถาวร

Asst. Prof. Adisorn Adirekthaworn

ผศ.น.สพ.
อดิศร อดิเรกถาวร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อีเมล : Adisorn.A@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189658

ผลงานวิจัย




ผศ.สพ.ญ.
ภาวนา  เชื้อศิริ

ผศ.สพ.ญ.
ภาวนา เชืั้อศิริ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อีเมล : Pawana.U@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189658

ผลงานวิจัย




อ.สพ.ญ.ดร.
เบญจพร ลิ้มเจริญ

อ.สพ.ญ.ดร.
เบญจพร ลิ้มเจริญ

อาจารย์

อีเมล : Benchaphorn.l@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189658

นายธนัท ไตรอังกู
เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ P7

นาย
ธนัท ไตรอังกู

เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ P7

อีเมล : Tananu

เบอร์โทร : 22

นางสาวอรจิรา คำพิละ
เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ P7

นางสาว
อรจิรา คำพิละ

เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ P7

อีเมล : Ornjira.k@chula.ac.th

เบอร์โทร : 09596

นางจันทิมา อินทรปัญญา
Ms. Juntima Intarapunya
 
นาง
จันทิมา อินทรปัญญา

เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ (P7)

อีเมล : Jantima.i@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189696

นายภักดี สุดถนอม
Mr.phakdee sutthanom

นาย
ภักดี สุดถนอม

เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา (P7)

อีเมล : phakdee.s@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189697

ว่าที่ ร.ต.หญิงจุฑาภรณ์ พาวินัย

ว่าที่ ร.ต.หญิง
จุฑาภรณ์ พาวินัย

เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ (P7)

อีเมล : Juthapron.P@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189696

นางสาวสุกัญญา ใจปิง
Sukanya Jaiping

 
นางสาว
สุกัญญา ใจปิง

เจ้าหน้าที่สำนักงาน (P7)

อีเมล : Sukanya.jai@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189697

ปัญญา  ริอุบล

Panya Riubon

นาย
ปัญญา ริอุบล

เจ้าหน้าที่บริการงานแพทย์

อีเมล : panya.r@chula.ac.th

เบอร์โทร : 022189697

กมลพร  สุนทร

Kamolpond Suntorn

นางสาว
กมลพร สุนทร

เจ้าหน้าที่บริการทั่วไป

อีเมล : -

เบอร์โทร : 022189658

ณภัทร  จันทร์แก้ว

Naphat Junkaew

นาย
ณภัทร จันทร์แก้ว

เจ้าหน้าที่บริการทั่วไป

อีเมล : -

เบอร์โทร : 022189658

ms

นางสาว
เบญจาวรรณ แป้งหอม

เจ้าหน้าที่สำนักงานธุรการ P8

อีเมล : Benjawan.pa@chula.ac.th

เบอร์โทร : 83937

หลักสูตรที่เปิดสอน

VETERINARY BIOSCIENCES   (2022)

Graduate Program in Veterinary Biosciences
     Master of Science (MS)
     Doctor of Philosophy (PhD)

Responsible by   
     The Department of Anatomy and Department of Physiology: Biochemistry Unit

Degree offer 
     MS in Veterinary Biosciences
     PhD in Veterinary Biosciences

What is VETERINARY BIOSCIENCES?
     Veterinary Biosciences is a biological sciences program dedicated to those areas underpinning veterinary medicine.

Why study VETERINARY BIOSCIENCES?
     Veterinary Biosciences program offers excellent opportunities for career development in both veterinary and biomedical fields.
     This program is designed to emphasize interdisciplinary approaches in veterinary and bioscience research. Our students will specialize in gross, microscopic, ultrastructural and applied anatomy, cytology, biochemistry, molecular biology and biotechnology to improve the management and health of animals. The students will be exposed to customized coursework, instructed by experienced staffs. They will also develop teamwork skills, written and oral presentation skills and gain research experience at our outstanding facilities.
     Graduates from this program will be well-prepared and ready to initiate their own research in both applied and clinical veterinary sciences.

CAREER AFTER GRADUATION:
     1. Professor
     2. Researcher in Veterinary Sciences and Life Sciences
     3. Scientist
     4. Veterinarian

PROGRAM STRUCTURE
     1. Master of Science Program in Veterinary Biosciences (2 years study)
     2. Doctor of Philosophy Program in Veterinary Biosciences for applicant with or without Master Degree
         (3 or 5 years study)

     Both programs have 2 patterns: Thesis only or Thesis and course work

KEY RESEARCH AREAS
     1. Gross, microscopic and ultrastructural anatomy
     2. Developmental Anatomy
     3. Applied Veterinary Anatomy
     4. Biochemistry
     5. Cell Biology and Molecular genetics
     6. Molecular diagnosis
     7. Bio-Engineering
     8. Genomics and Proteomics
     9. Cellular and Clinical Imaging
   10. Stem cell research
   11. Cancers

THE CURRENT RESEARCH HIGHLIGHTS
     1. Reference genome and genetic variations of Eld’s deer
     2. Feline ovarian tissue cryopreservation and primary culture of feline ovarian cells
     3. Gene expression and proteomics of canine amniotic extracts
     4. Dental and osteogenic stem cells
     5. Expression of protein receptors in goat female reproductive tract
     6. Genomics Approach for conservation of Asian king vulture and steppe eagle
     7. Stem cells and canine corneal degeneration
     8. Cecal Proteomics in pigs

 Eligibility of Applicants  
     1. Applicants must have completed Bachelor’s Degrees in Veterinary, Biological Science or related discipline.
     2. Minimum English proficiency score according to Chulalongkorn University’s requirement;
     3. Consideration of the Program Committee as eligible for admission.
     4. Others as required from Chulalongkorn University.

REQUIRED DOCUMENTS
Fill in the online application form at Chulalongkorn’s Graduate Admission website;

  • A printed copy of the completed application form with a one-inch photograph attached;
  • An official transcript of academic records;
  • A photocopy of identification card/passport;
  • English proficiency test score: CU-TEP, TOEFL, or IELTS.
  • Two letters of recommendation from instructors and supervisors

 

Contact person for enquiries
Assistant Professor Dr. Promporn Raksaseri 
E-mail: Promporn.R@chula.ac.th

 

Department of Anatomy, Faculty of Veterinary Science,
Chulalongkorn University,
Henri-Dunant Rd., Pathumwan,
Bangkok 10330, Thailand.
Tel.+66 (0) 2218-9658 Fax.+66(0)2218-9657

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์

งานวิจัย ภาควิชากายวิภาคศาสตร์

งานวิจัย

          ภาควิชากายวิภาคศาสตร์มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติโดยมุ่งเน้นในหัวข้อที่แตกต่างกันได้แก่ ด้านกายวิภาคศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์คลินิก ประสาทวิทยาศาสตร์ โครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย พัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ วัสดุชีวภาพ รวมทั้งงานวิจัยด้านสัตวแพทยศาสตร์ศึกษา งานวิจัยจำนวนมากในภาควิชาเป็นความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ให้การสนับสนุนและมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อตอบสนองพันธกิจทางงานวิจัยในการที่จะเพิ่มพูนและต่อยอดความสำคัญของงานวิจัยทางด้านกายวิภาคศาสตร์กับงานวิจัยในศาสตร์อื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง ยิ่งไปกว่านั้นงานวิจัยของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ มิได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในส่วนของสัตว์เท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นในการทำงานวิจัยในระดับเซลล์รวมทั้งในการค้นคว้าวิจัยทางด้านโครงสร้างคล้ายอวัยวะ หรือออแกนนอยด์ ต่อไปในอนาคต

บริการทำสไลด์ และสแกนสไลด์

งานด้านฮิสโตเทคนิค

          ภาควิชามีการนำเสนอในส่วนของงานบริการวิชาการในการทดสอบตัวอย่างในระดับจุลกายวิภาควิทยา ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมเนื้อเยื่อ การตัดเนื้อเยื่อความเย็น ขบวนการฮิสโตเคมี ขบวนการฮิสโตเคมิสทรี และขบวนการอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์ นอกจากนี้ทางภาควิชามีงานบริการด้านการแสกนสไลด์ การวิเคราะห์ภาพชนิดต่าง ๆ สำหรับงานวิจัยและพัฒนาขบวนการรวมไปถึงงานทดสอบวัสดุชีวภาพ งานบริการวิชาการส่วนใหญ่จะเป็นแบบจำเพาะเจาะจงในแต่ละการออกแบบงานวิจัย ทางภาควิชายังมีการให้บริการเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ด้านจุลกายวิภาคศาสตร์เช่น การใช้กล้องถ่ายภาพในระดับจุลกายวิภาควิทยา การใช้โปรแกรมวิเคราะห์ภาพ และการใช้เครื่องตัดชิ้นเนื้อที่อุณหภูมิต่ำ ทั้งนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่งานบริการวิชาการของภาควิชา 

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

02-218-9658

 

งานบริการสตัฟฟ์สัตว์

โครงการบริการทำสตัฟฟ์สัตว์

           โครงการบริการทางวิชาการที่แสดงถึงบทบาทและอัตลักษณ์ของภาควิชาฯ ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งยังประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คือ การทำสตัฟฟ์สัตว์ (stuff technique) โดยการทำสตัฟฟ์สัตว์เป็นเทคนิคที่สำคัญทางกายวิภาคศาสตร์สำหรับใช้ในการคงสภาพร่างกายสัตว์หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว ให้สามารถเก็บรักษาอยู่ได้นาน และยังคงลักษณะของสัตว์ไว้เหมือนเดิมทุกประการ จากการสำรวจผ่านทางรูปแบบต่าง ๆ พบว่า ความต้องการที่จะรับความรู้และวิธีการเกี่ยวกับเทคนิคการทำสตัฟฟ์สัตว์ในปัจจุบันนี้มีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก เทคนิคดังกล่าวนี้ สามารถรองรับความต้องการของเจ้าของสัตว์ที่มีความผูกผันกับสัตว์เลี้ยงได้อย่างหลากหลายชนิด อาทิเช่น สุนัข แมว กระต่าย หรือกระรอก เป็นเทคนิคสำหรับผู้ที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สัตว์ป่าหายาก และราคาแพง รวมถึงผู้เลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ เช่น กุ้ง ปู ปลา เป็นต้น ที่มีความประสงค์จะคงสภาพของสัตว์ไว้ นอกจากนี้ ทางหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือแม้กระทั่งสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่ต้องการคงสภาพของสัตว์ชนิดต่าง ๆ สัตว์ชนิดพิเศษ ซึ่งมีจำเพาะของหน่วยงานนั้น เพื่อนำไปแสดงนิทรรศการ การจัดทำพิพิธภัณฑ์ เพื่อการเรียนการสอนนิสิต และให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์สำหรับประชาชนก็มีมากขึ้น ทางภาควิชาจึงเห็นควรให้มีการจัดโครงการบริการการทำสตัฟฟ์สัตว์ ขึ้น เพื่อเป็นงานบริการทางวิชาการด้านการสตัฟฟ์สัตว์ ให้กับ หน่วยงาน หรือบุคคลทั่วไป  และ เพื่อให้บริการเทคนิคการเก็บรักษาสภาพสัตว์จริงด้วยวิธีการทำสตัฟฟ์สัตว์ เพื่อให้เกิดเครือข่ายด้านการอนุรักษ์สัตว์

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การทำสตัฟฟ์สัตว์ ครั้งที่ 13 : สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก”
3 พ.ค. 2567


ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การทำสตัฟฟ์สัตว์ ครั้งที่ 13 : สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก”

โดยมี รศ. สพ.ญ. ดร.ศยามณ ศรีสุวัฒนาสกุล หัวหน้าภาคกายวิภาคศาสตร์ เป็นประธาน และ ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ ประธานจัดงาน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องปฏิบัติการ 301 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นโครงการอบรมเทคนิคและวิธี การนำสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่ไม่มีชีวิตแล้วมาเก็บรักษา

โครงการ “การทำสตัฟฟ์สัตว์” ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี และในปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 13 มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 37 คน ประกอบด้วย นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป โครงการนี้เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถนำความรู้ทางเทคนิคด้านกายวิภาคศาสตร์มาใช้เกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรม ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าอบรมทุกท่านจะได้รับความรู้พื้นฐานในการสตัฟฟ์ และเกิดประโยชน์จากการเรียนรู้ในช่วงเวลาสั้นๆ ของการอบรมอย่างคุ้มค่า ได้ช่วยกันให้ความรู้ด้านการสตัฟฟ์กับผู้เข้าอบรมฯ อย่างเต็มที่

ติดตามการอบรมครั้งต่อไปได้ที่เพจ โครงการให้บริการและอบรมสตัฟฟ์สัตว์ สัตวแพทย์ฯ จุฬาฯ
https://www.facebook.com/stuffcuvet

#CUVET

 

การกำซาบด้วยสารพลาสติก

การกำซาบด้วยสารพลาสติก

            เพื่อที่จะทำการเก็บรักษาตัวอย่างเพื่อการศึกษาทางสัตวแพทย์ ทางภาควิชาได้นำเอาเทคนิคการกำซาบด้วยสารพลาสติกเข้ามาใช้และพัฒนาเป็นงานบริการวิชาการ โดยสามารถใช้ได้กับเนื้อเยื่อทุกชนิดตั้งแต่ลูกสัตว์ทั้งตัว อวัยวะภายใน ระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยผลผลิตที่ผ่านการกำซาบด้วยสารพลาสติกเรียบร้อยแล้วจะสามารถเก็บรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลานาน ไม่มีความเป็นพิษ ไม่มีกลิ่น และมีลักษณะเนื้อเยื่อ สี ใกล้เคียงกับในสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นผลผลิตเหล่านี้สามารถใช้สำหรับการศึกษาในส่วนของวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

ข่าวสารและกิจกรรม

29ต.ค. 2565

ไขข้อข้องใจกระดูกปริศนา

  สัตวแพทย์ จุฬาคอนเฟิร์ม ไขข้อข้องใจกระดูกปริศนา โดย รศ.น.สพ.ก้องเกียรติ ศรีสุวัฒนาสกุล ในคอลัมภ์ สัตวเลี้ยงแสนรัก เดลินิวส์https://www.dailynews.co.th/articles/1229224/    

ที่ตั้ง

ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ติดต่อเจ้าหน้าที่

  • ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
    022189658 -

Social Network