หน่วยปรสิตวิทยา
หน่วยปรสิตวิทยา
เกี่ยวกับเรา
หน่วยปรสิตวิทยา สังกัดอยู่ในภาควิชาพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นภาควิชาที่เก่าแก่ของคณะฯ รับผิดชอบการเรียนการสอน การวิจัย และงานบริการวิชาการ ด้านปรสิตวิทยาที่มีความสำคัญทางการสัตวแพทย์ (หนอนพยาธิ กีฏวิทยาและโปรโตซัว) โดยมีการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต และระดับบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
ประวัติความเป็นมา
ภาควิชาพยาธิวิทยาซึ่งเป็นภาควิชาที่เก่าแก่ของคณะฯ ควบคู่กับการพัฒนาการศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย จากวันที่ 16 เมษายน 2478 ถึงวันที่ 16 เมษายน 2558 ในวาระครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนาคณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การพัฒนาทางการศึกษาและวิทยาการทางพยาธิวิทยาของภาควิชายังคงก้าวหน้าต่อเนื่องต่อไป ด้วยความต่อเนื่องจากบทความรวบรวมประวัติของท่านอดีตคณบดีและคณาจารย์อาวุโสที่ได้วางรากฐานวิชาการทางพยาธิวิทยา และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากบทความในวาระการฉลองครบรอบ 72 ปี โดย ท่านอาจารย์อาวุโสเกษียณ รศ.น.สพ.ดร.เล็ก อัศวพลังชัย และ รศ.สพ.ญ.ดร.อัจฉริยา ไศละสูต ได้รวบรวมไว้ และรวบรวมถึงปัจจุบัน ดังนี้
ปี พ.ศ. 2478 |
จากเตรียมสัตวแพทย์ในคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี ศ.หลวงพรตพิทยพยัต |
ปี พ.ศ. 2480 |
การสอนแผนกสัตวแพทย์ได้เริ่มขึ้นอย่างชัดเจนในโดยมี ร.อ. หลวงชัยอัศวรักษ์ เป็นผู้อำนวยการสอน มีการสอน |
ปี พ.ศ. 2482 |
หลักสูตรปริญญาสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต ได้เปลี่ยนแปลงเป็นหลักสูตร 5 ปี โดยที่แผนกพยาธิวิทยาและแบคทีเรีย |
ปี พ.ศ. 2485 |
แผนกสัตวแพทยศาสตร์ได้ยกฐานะเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในวันที่ 10 มีนาคม 2485 ขึ้นกับกรมมหาวิทยาลัย |
ปี พ.ศ. 2497 |
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้โอนย้ายจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กระทรวง |
ปี พ.ศ. 2500 |
คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิตเป็น 6 ปี จนถึงในปัจจุบัน โดยมีแผนกที่ |
ปี พ.ศ. 2502–2504 |
ได้เชิญ Professor Zacarias de Jesus ผู้เชี่ยวชาญชาวฟิลิปปินส์ จาก Department of Veterinary |
ปี พ.ศ. 2507 |
Dr. Rue Jensen, Dean College of Veterinary Medicine, Colorado State University, U.S.A. |
ปี พ.ศ. 2510 |
คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้โอนย้ายจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง |
ปี พ.ศ. 2511–2512 |
ได้เชิญ Major W.L. Wooding และ Major J.D. Pulliam สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพยาธิวิทยา |
ปี พ.ศ. 2513 |
ได้เชิญ Professor Dr. Karl Friedhoff จากประเทศเยอรมันตะวันตกมาช่วยพัฒนาด้านการสอน และวิจัยทาง |
ปี พ.ศ. 2515 |
น.สพ.ดร. เล็ก ธนสุกาญจน์ เป็นหัวหน้าแผนกพยาธิวิทยา และดำเนินการรวมวิชาทางด้านพยาธิวิทยา แบคทีเรีย |
ปี พ.ศ. 2518 |
แผนกพยาธิวิทยาเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชาพยาธิวิทยา |
ปี พ.ศ. 2519 |
ศ.น.สพ.ดร. เล็ก ธนสุกาญจน์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาพยาธิวิทยา ได้แบ่งแผนกวิชาเป็น 3 หน่วยงาน คือ |
ปี พ.ศ. 2522 |
แผนกวิชาพยาธิวิทยาเปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาพยาธิวิทยา และยังคงแบ่งหน่วยงานเป็น 3 หน่วยงาน |
ปี พ.ศ. 2528 |
วิชาไวรัสวิทยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยจุลชีววิทยา ได้แยกการบริหารออกเป็นหน่วยไวรัสวิทยา |
ปี พ.ศ. 2539 |
หน่วยจุลชีววิทยาได้จัดตั้งเป็นภาควิชาจุลชีววิทยา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2539 |
ปี พ.ศ. 2539 |
ภาควิชาพยาธิวิทยาประกอบด้วย 3 หน่วยย่อย คือ หน่วยพยาธิวิทยา หน่วยปรสิตวิทยา และหน่วยไวรัสวิทยา |
ปี พ.ศ. 2556 |
ในวันที่ 1 ตุลาคม หน่วยไวรัสวิทยา ได้ย้ายไปสังกัด ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยาจึงเหลือเพียง |
บุคลากร
รศ.น.สพ.ดร.
ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดิ์
หัวหน้าหน่วยปรสิตวิทยา
รศ. น.สพ. ดร.
มรกต แก้วธรรมสอน
อาจารย์ประจำหน่วยปรสิตวิทยา
นางสาวสุชันษา ธานี
นางสาวพัชนา คำกอง
นางสาวอัญชลี กิจการ
นางทุเรียน แก้วทอง
นางวันเพ็ญ ปะอาว
หลักสูตรที่เปิดสอน
ระดับปริญญาบัณฑิต
วิชาที่เปิดสอน : ปรสิตวิทยาทางการสัตวแพทย์ 1 รหัสวิชา 3105201
: ปรสิตวิทยาทางการสัตวแพทย์ 2 รหัสวิชา 3105305
ระดับบัณฑิตศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) สาขาวิชาพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์
งานวิจัยโรคติดเชื้อในสัตว์ที่มีพาหะนำโรค
งานวิจัยปรสิตวิทยาทางสัตวแพทย์และโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
งานวิจัยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในปรสิตวิทยาของสัตว์
ขั้นตอนการส่งตรวจตัวอย่าง
1. เก็บตัวอย่างในภาชนะหรือวัสดุที่ป้องกันการรั่วไหลหรือปนเปื้อนสู่ภายนอก
2. ตัวอย่างที่ส่งตรวจต้องระบุ
- ชื่อตัวอย่างให้ชัดเจน
- ชนิดต้วอย่าง (เลือด, อุจจาระ, อวัยวะหรือรายละเอียดอื่น ๆ)
- วันที่เก็บตัวอย่าง
3. ส่งตัวอย่างด้วยตนเองที่หน่วยปรสิตวิทยา ชั้น 14 อาคาร 60 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตั้งแต่เวลา 8.30 น.-16.00 น. (ในวันและเวลาราชการ) พร้อมใบส่งตรวจตัวอย่าง
(ดาวน์โหลดที่หน้าเว็บไซต์หรือขอได้ที่หน่วยปรสิต)
4. เจ้าหน้าที่รับตัวอย่างและแจ้งค่าบริการลงในใบส่งตรวจ
5. นำใบส่งตรวจไปชำระเงินที่ฝ่ายการเงิน คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อาคาร 50 ปี ชัยอัศวรักษ์ ชั้น 2 และส่งหลักฐานใบเสร็จ
รับเงินมาทาง อีเมล์ : cuvet.parasitology.lab@gmail.com หรือนำส่งใบเสร็จที่หน่วยปรสิตวิทยา กรุณาชำระเงินภายใน 3 วัน
ทำการ
6. เจ้าหน้าที่จะส่งผลตรวจให้ทางอีเมล์ที่ระบุไว้ในใบส่งตรวจเท่านั้น (ส่งผลตรวจเมื่อได้รับหลักฐานการชำระเงิน) ไม่มีโทรแจ้งผลตรวจ
และไม่ส่งผลตรวจทางไปรษณีย์ หากต้องการผลตรวจตัวจริง สามารถติดต่อรับด้วยตนเองที่หน่วยปรสิตเท่านั้น
7. หากเป็นตัวอย่างเร่งด่วน กรุณาติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
8. หากมีข้อสงสัยกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยปรสิตวิทยา โทร 02-218-9667
งานบริการตรวจวินิจฉัยทางปรสิตวิทยา
แบบฟอร์มสำหรับส่งตรวจตัวอย่าง
ข่าวสารและกิจกรรม
ขอแสดงความยินดี 💐🎉
ขอแสดงความยินดี 💐🎉
ที่ตั้ง
หน่วยปรสิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 14 อาคาร 60 ปี
ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330
ติดต่อเจ้าหน้าที่
-
อัญชลี กิจการ (เจ้าหน้าที่ธุรการ)
02-218-9667 anchalee150195@gmail.com -
สุชันษา ธานี (เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์) งานตรวจวินิจฉัยทางปรสิต
02-218-9668 cuvet.parasitology.lab@gmail.com