จุลชีววิทยา
เกี่ยวกับเรา
ประวัติของภาควิชา
ในอดีตสาขาวิชาจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ (Veterinary Microbiology) คือสาขาวิชาที่รวมถึงการตรวจหาจุลชีพที่ได้จากตัวอย่างสัตว์ป่วย ซากสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ วิทยาภูมิคุ้มกันทางสัตวแพทย์ (Veterinary Immunology) การฝึกพิเศษทางวิทยาภูมิคุ้มกัน (Special Practice in Immunology) และไวรัสวิทยาทางสัตวแพทย์ (Veterinary Virology) เป็นวิชาหลักที่ได้รับการบรรจุในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2478 ในเบื้องต้นได้ก่อตั้งเป็นหน่วยจุลชีววิทยาสังกัดภาควิชาพยาธิวิทยา (แผนกพยาธิวิทยา) โดยมีศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.เล็ก ธนสุกาญจน์ เป็นหัวหน้าหน่วยจุลชีววิทยาคนแรก และศาสตราจารย์เตียง ตันสงวนเป็นหัวหน้าแผนก (ภาควิชา) พยาธิวิทยา แต่เนื่องจากวิชา จุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์และวิทยาภูมิคุ้มกันทางสัตวแพทย์ มีเนื้อหาสาระมากและหลากหลายประกอบกับการตระหนักดีถึงความสำคัญของจุลชีพก่อโรคต่างๆ ในสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมถึงภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ จึงเล็งเห็นว่าสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตในอนาคตควรจะมีความรู้ความสามารถทางด้านจุลชีววิทยาและด้านภูมิคุ้มกันในสัตว์อย่างลึกซึ้ง ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเห็นสมควร ให้จัดตั้งเป็นภาควิชาจุลชีววิทยาในคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. โสมทัต วงศ์สว่าง ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยจุลชีววิทยาในขณะนั้น เป็นผู้ดำเนินการในการขออนุมัติจัดตั้งภาควิชาจุลชีววิทยา โดยมีแนวคิดร่วมกับรองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. เกรียงศักดิ์ สายธนู (ผู้ล่วงลับ) และรองศาสตราจารย์ น.สพ. เกรียงศักดิ์ พูนสุข ที่จะดำเนินการในการขออนุมัติจัดตั้งเป็นภาควิชาจุลชีววิทยาอย่างแข็งขันจนได้รับการอนุมัติเป็นภาควิชาจุลชีววิทยา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ซึ่งนับเป็นวิชาล่าสุด ภาควิชาที่ 10 ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยนั้น โดยมี รองศาสตราจารย์ น.สพ.เกรียงศักดิ์ พูนสุข เป็นหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาคนแรกและรองศาสตราจารย์ สพ.ญ. อินทิรา กระหม่อมทอง เป็นคนถัดมา จนถึงผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาคนปัจจุบัน ได้รับแต่งตั้งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ภาควิชาจุลชีววิทยามีคณาจารย์ทั้งหมด 7 คน ทำงานร่วมกับบุคลากรสายสนับสนุน 7 คน
บุคลากรสำคัญของภาควิชาฯที่ในอดีตเคยมีส่วนร่วมและเป็นเสมือนเครื่องจักรที่สำคัญที่คอยขับเคลื่อนภาควิชาจุลชีววิทยา และพวกเราชาวจุลชีววิทยาไม่เคยลืมเลือนคือ รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร. เกรียงศักดิ์ สายธนู (ผู้ล่วงลับ) ท่านเป็นครูจุลชีววิทยาที่มีผลงานวิจัยทางจุลชีววิทยาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะผลงานชิ้นเอกที่ท่านฝากให้แก่พวกเราก็คือชุดตรวจสอบยาปฏิชีวนะตกค้างในน้ำนม (KS-9) ซึ่งต่อมาก็ได้มีการวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยรองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ธงชัย เฉลิมชัยกิจ เพื่อให้สามารถใช้ตรวจสอบยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อสัตว์ได้ด้วย ซึ่งชุดตรวจสอบดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของภาควิชา ฯ มีในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการบริหาร จึงนับได้ว่าเป็นภาควิชาฯ เล็กๆ ที่มีบุคลากรเพียงไม่กี่ท่านแต่เติบโตขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำเนียบหัวหน้าภาค
ลำดับที่ | รายชื่อ | ระหว่างปี พ.ศ. |
บุคลากร
รองศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
ณุวีร์ ประภัสระกูล
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
รองศาสตราจารย์ สพ.ญ. ดร.
อัญญรัตน์ ต้นธีรวงศ์
รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
รองศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
ภัทรรัฐ จันทร์ฉายทอง
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
เดชฤทธิ์ นิลอุบล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.
หลักสูตรที่เปิดสอน
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์
โปรแกรมจุลชีววิทยา และ โปรแกรมไวรัสวิทยา
1.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์และเทคโนโลยี
(หลักสูตรนานาชาติ) โปรแกรมจุลชีววิทยา และ โปรแกรมไวรัสวิทยา
1.2 หลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต
1.3 หลักสูตรสหสาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมสอนกับ
- ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์
- ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์
- ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์
- ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
งานบริการของภาควิชาจุลชีววิทยา
ภาควิชาฯ มีการให้บริการทางด้านวิชาการต่างๆ และเป็นห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานสากล สามารถใช้อ้างอิงในเชิงวิชาการได้ อันได้แก่ การให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์ปีก สุกร โค กระบือและ สัตว์น้ำ ทางด้านการป้องกันโรค การหาสาเหตุของโรคที่เกิดขึ้น รวมถึงการใช้วัคซีนชนิดต่างๆ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก การเป็นแหล่งข้อมูลทางด้านวิชาการของการศึกษาถึงสาเหตุของโรคติดเชื้อการ ป้องกันโรคระบาดโดยการใช้วัคซีนชนิดต่างๆ คุณภาพของวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทย และมีการจัดอบรมสัมมนาและร่วมเป็นวิทยากรในการอบรมสัมมนาในด้านจุลชีววิทยา ให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจทางด้านจุลชีววิทยารวมทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์อย่างต่อเนื่อง
ที่ตั้ง
ชั้น 12 อาคาร 60 ปี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
ติดต่อเจ้าหน้าที่
-
ธุรการ ภาควิชาจุลชีววิทยา
02-218-9582 .