สัตวแพทยสาธารณสุข
เกี่ยวกับเรา
ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ซึ่งงานด้านสัตวแพทยสาธารณสุขเป็นงานที่เกี่ยวกับ สุขอนามัยของคนและสัตว์ และเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ด้านโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonoses) ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) และอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health) ซึ่งแนวทางการดำเนินงานและการศึกษาดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติของภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นภาควิชา ที่เปิดสอนเป็นลำดับที่ 9 ของหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต โดยประกาศ เป็นทางการในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 218 วันที่ 12 ธันวาคม 2532 ซึ่งขณะนั้น รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. เกรียงศักดิ์ สายธนู (ผู้ล่วงลับ) ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขจนถึงปี 2538 ทั้งนี้งานด้านสัตวแพทยสาธารณสุขเป็นงานที่เกี่ยวกับสุขอนามัยของคนและสัตว์ และเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ด้านโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน (Zoonoses) ความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety) และอนามัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Health) ซึ่งแนวทางการดำเนินงานและการศึกษาดังกล่าวได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันโดยมีการบริหารจัดการภาควิชาและมีหัวหน้าภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข ตามลำดับดังนี้
รายชื่ออาจารย์ | ดำรงตำแหน่ง | ระหว่างปี | |
1 | รศ.น.สพ.ดร. เกรียงศักดิ์ สายธนู | รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชา | ปีพุทธศักราช 2532 ถึง 2538 |
2 | ผศ.ดร. สุเทพ เรืองวิเศษ | หัวหน้าภาควิชา | วันที่ 26 ต.ค. 2538 ถึงวันที่ 26 ต.ค. 2546 |
3 | ผศ.สพ.ญ.ดร. เบญจมาศ ปัทมาลัย | หัวหน้าภาควิชา | วันที่ 27 ต.ค. 2546 ถึงวันที่ 27 ต.ค. 2550 |
4 | รศ.น.สพ.ดร. อลงกร อมรศิลป์ | หัวหน้าภาควิชา | วันที่ 28 ต.ค. 2550 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2556 |
5 | รศ.สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์ ชวนชื่น | รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชา | วันที่ 1 ต.ค. 2556 ถึงวันที่ 30 ม.ค. 2557 |
6 | ผศ.สพ.ญ.ดร. เบญจมาศ ปัทมาลัย | หัวหน้าภาควิชา | วันที่ 31 ม.ค. 2557 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2558 |
7 | รศ.สพ.ญ.ดร. รุ่งทิพย์ ชวนชื่น | หัวหน้าภาควิชา | วันที่ 1 ต.ค. 2558 ถึงวันที่ 27 ม.ค. 2565 |
8 | ศ.น.สพ.ดร. อลงกร อมรศิลป์ | หัวหน้าภาควิชา | วันที่ 28 ม.ค. 2565 ถึงปัจจุบัน |
พันธกิจของภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข มีพันธกิจที่จะถ่ายทอดความรู้ โดยจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์และบัณฑิตศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ มีคุณธรรม และจริยธรรม ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้อย่างมีคุณภาพ บุกเบิกและค้นคว้างานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาทางการสัตวแพทย์และเพิ่มผลผลิตทางปศุสัตว์อย่างได้ผล และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ให้บริการวิชาการทางสัตวแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ และเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการในระดับประเทศและสากล โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อผลิตบัณฑิตและนักวิชาการชั้นสูงทางด้านสัตวแพทยสาธารณสุข ให้มีความรู้และความสามารถอย่างถ่องแท้ สามารถคิดและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งศักยภาพ ในการพัฒนาตนเอง และสร้างชื่อเสียงให้แก่สถาบันระดับประเทศ และนานาชาติ
2. เพื่อผลิตและพัฒนางานวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสัตวแพทยสาธารณสุข เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย อันเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และการแก้ไขปัญหาทางสัตวแพทย์
3. เพื่อผลิตผลงานทางวิชาการ และบริการทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง บุกเบิกวิชาการด้วยงานวิจัยทางการสัตวแพทยสาธารณสุขที่มีคุณภาพแก่สังคม รวมทั้งให้คำปรึกษา การฝึกอบรม การจัดประชุมวิชาการ และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
บทบาทและหน้าที่ของภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
1. การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและประสิทธิภาพในด้านสัตวแพทยสาธารณสุข โดยมุ่งผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์ในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญพื้นฐานแล้ว ยังผลิตบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุขให้มีความรู้ความสามารถในระดับสูงขึ้น สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
2. การวิจัยด้านสัตวแพทยสาธารณสุข เป็นบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของภาควิชา เนื่องจากงานด้านสัตวแพทยสาธารณสุขมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับสาขาอื่นมาก และยังมีความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การที่จะผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้สังคมจำเป็นต้องมีรากฐานมาจากงานวิจัย ซึ่งบุคลากรในภาควิชาได้มีบทบาทในการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพและสังคมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ภาควิชายังมีบทบาท และหน้าที่ในการแก้ปัญหาด้านการผลิตสัตว์ และการส่งออกผลิตภัณฑ์จากสัตวให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่น งานวิจัยด้านการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก งานวิจัยด้านเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพจากการใช้ยาต้านจุลชีพในการผลิตสัตว์เพื่อการบริโภค งานวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยงทางเคมีและจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ งานวิจัยด้านการจัดการของเสียและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากฟาร์มปศุสัตว์ และงานวิจัยด้านโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์ เป็นต้น
3. การบริการวิชาการ ภาควิชามุ่งเน้นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับงานด้านสัตวแพทยสาธารณสุข งานบริการวิชาการนี้มีความสอดคล้องอย่างดียิ่งกับบทบาทและหน้าที่อื่น ๆ ด้วย เนื่องจากความสามารถในการแก้ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ภาควิชาใช้ข้อมูลเชื่อมต่อเป็นงานวิจัย และนำไปประกอบเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการผลิตบัณฑิตที่รู้เท่าทันปัญหาสังคมในปัจจุบัน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ทั้งบทบาทและหน้าที่ของภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขเมื่อแรกเริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมิได้เปลี่ยนแปลงแต่กลับจะทวีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับตั้งแต่การรับผิดชอบด้านสุขอนามัยของคนและสัตว์ และเศรษฐกิจของประเทศ การผลิตสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สำหรับการบริโภคภายในประเทศ ไปจนถึงระดับการส่งออกระหว่างประเทศ นำมาซึ่งสุขภาพที่ดีของประชาชนและเศรษฐกิจที่ดีของประเทศไทย
บุคลากร
ศาสตราจารย์ สพ.ญ. ดร.
รุ่งทิพย์ ชวนชื่น
อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
รองศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ. ดร.
ธราดล เหลืองทองคำ
อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
รองศาสตราจารย์ สพ.ญ. ดร.
สหฤทัย เจียมศรีพงษ์
อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
อาจารย์ น.สพ. ดร.
สิรวิทย์ ภักดีพาณิชย์กิจ
อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
อาจารย์ สพ.ญ. ดร.
กมลพรรณ เจริญกุล
อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
กรัณยภรณ์ ศรีศักดา
เจ้าหน้าที่สำนักงาน
(บริหารงานทั่วไป P7)
สุวณี เฉลิมชัยนุกูล
(เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ P7)
นวพร รุ่งโรจน์มงคล
(เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ P7)
อดิศร สังฆโต
(พนักงานสถานที่)
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
|
ชื่อวิชา |
รหัสวิชา |
จำนวน 17 หน่วยกิต |
1 |
หลักการทางสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109301 |
1 |
2 |
ความปลอดภัยของอาหาร |
3109401 |
3 |
3 |
อนามัยสิ่งแวดล้อมทางสัตวแพทย์ |
3109403 |
2 |
4 |
อุตสาหกรรมอาหารและการควบคุมคุณภาพ |
3109501 |
1 |
5 |
สุขภาพหนึ่งเดียวทางสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109502 |
1 |
6 |
สุขศาสตร์น้ำนมและการตรวจคุณภาพเนื้อสัตว์ |
3109503 |
3 |
7 |
โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน |
3109504 |
3 |
8 |
การฝึกปฏิบัติทางสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109606 |
3 |
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
รายวิชาบังคับ
|
ชื่อวิชา |
รหัสวิชา |
จำนวน 8 หน่วยกิต |
1 |
วิธีวิทยาการวิจัยทางสัตวแพทยศาสตร์ |
3100700 |
2 |
2 |
ระบาดวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์ |
3109701 |
3 |
3 |
สัมมนาสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109702 |
1 |
4 |
กฎหมายและข้อบังคับทางสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109703 |
2 |
5 |
วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต |
3109813 |
S/U |
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต รายวิชาบังคับ
|
ชื่อวิชา |
รหัสวิชา |
จำนวน 9 หน่วยกิต |
1 |
วิธีวิทยาการวิจัยทางสัตวแพทย์ |
3100700 |
2 |
2 |
ระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ |
3109701 |
3 |
3 |
สัมมนาสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109702 |
1 |
4 |
กฎหมายและข้อบังคับทางสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109703 |
2 |
5 |
สัมมนาสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109724 |
1 |
6 |
วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต |
3109828 3109829 3109830 |
S/U |
7 |
สัมมนาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต |
3109894 |
S/U |
8 |
การสอบวัดคุณสมบัติระดับดุษฎีบัณฑิต |
3109897 |
S/U |
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต รายวิชาเลือก
|
ชื่อวิชา |
รหัสวิชา |
หน่วยกิต |
1 |
สถิติทางการแพทย์ |
3014707 |
2 |
2 |
โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนในประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ |
3109704 |
3 |
3 |
สุขศาสตร์อาหาร |
3109706 |
2 |
4 |
เรื่องพิเศษทางสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109715 |
3 |
5 |
การประเมินความเสี่ยงจุลชีพเชิงปริมาณ |
3109716 |
3 |
6 |
ระบาดวิทยาระดับโมเลกุลทางการสัตวแพทย์ |
3109717 |
3 |
7 |
จุลชีววิทยาทางสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109718 |
3 |
8 |
อณูชีววิทยาการดื้อยาทางการสัตวแพทย์ |
3109719 |
3 |
9 |
การประเมินความเสี่ยงจุลชีพเชิงปริมาณขั้นสูง |
3109720 |
3 |
10 |
ชีวสารสนเทศทางสัตวแพทยศาสตร์ |
3109722 |
2 |
11 |
ความปลอดภัยและการควบคุมคุณภาพอาหารทางสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109725 |
3 |
12 |
สุขภาพหนึ่งเดียวทางสัตวแพทยสาธารณสุข |
3109726 |
3 |
มคอ. 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุข (หลักสูตรปรับปรุง 2560)
มคอ. 2 หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสัตวแพทยสาธารณสุข (หลักสูตรปรับปรุง 2561)
งานวิจัยของภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
1. โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในสัตว์
ศึกษาวิจัย เฝ้าระวัง และตรวจวินิจฉัยโดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำในสัตว์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้แก่สังคมได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ำอื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากโรคสัตว์สู่คนที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทยได้ในอนาคต
2. ความปลอดภัยอาหารทางจุลชีววิทยาและการดื้อยา
วิจัย ติดตาม เฝ้าระวัง รวมไปถึงการพัฒนาฐานข้อมูลและระบบการควบคุมเชื้อโรคอาหารเป็นพิษและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในระดับภูมิภาคและนานาชาติ
3. การประเมินความเสี่ยงทางเคมีและจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารและผลิตภัณฑ์จากสัตว์
งานวิจัยด้านการประเมินความเสี่ยงทางเคมีและจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และดำเนินการพัฒนาระบบความปลอดภัยของอาหารของประเทศ
บริการตรวจคุณภาพน้ำนมทางจุลชีววิทยา
บริการตรวจคุณภาพน้ำนมทางจุลชีววิทยา
ข่าวสารและกิจกรรม
อบรมการวิเคราะห์ความเสี่ยงจุลชีววิทยาทางอาหารและน้ำ
One health AMR - A Fact of Nature
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิเคราะห์ความเสี่ยงอาหารและน้ำ
Bioaerosol Sampling Practical Training Modules
“เบทาโกร” จับมือ “สัตวแพทย์ จุฬาฯ” และ “อีแลนโค” ลงนามความร่วมมือทางวิชาการศึกษาการดื้อยาต้านจุลชีพเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
การแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 40
ปัญหาเชื้อดื้อยาภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว
ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.สพ.ญ.ดร. สหฤทัย เจียมศรีพงษ์
การสื่อสารความเสี่ยงแบบก้าวหน้าสำหรับโรค ASF ที่ใช้เป็นต้นแบบในทางปฏิบัติเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกรมปศุสัตว์ผ่านการใช้ประโยชน์การวิจัย
กิจกรรมของศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะของ FAO
UN FAO มอบประกาศนียบัตรขยายระยะเวลาการเป็นศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (FAO Reference Centre for AMR) ต่อเนื่องอีก 4 ปี ให้กับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอแสดงความยินดีกับ รศ.น.สพ.ดร. ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
ที่ตั้ง
ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 11 อาคาร 60 ปี สัตวแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ติดต่อเจ้าหน้าที่
-
ธุรการ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข
+66 (0) 2218 9577 vetchula.vph@gmail.com