หน่วยพยาธิวิทยา
เกี่ยวกับเรา
ประวัติภาควิชา
ภาควิชาพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นภาควิชาที่เก่าแก่ของคณะฯ ควบคู่กับการพัฒนาการศึกษาสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย จากวันที่ 16 เมษายน 2478 ถึงวันที่ 16 เมษายน 2558 ในวาระครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนาคณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การพัฒนาทางการศึกษา และวิทยาการทางพยาธิวิทยาของภาควิชา ยังคงก้าวหน้าต่อเนื่องต่อไป ด้วยความต่อเนื่องจากบทความรวบรวมประวัติของท่านอดีตคณบดี และคณาจารย์อาวุโส ที่ได้วางรากฐานวิชาการทางพยาธิวิทยาและการเปลี่ยนแปลงต่างๆจากบทความในวาระการฉลองครบรอบ 72 ปี โดย ท่านอาจารย์อาวุโสเกษียณ รศ. น.สพ. ดร. เล็ก อัศวพลังชัย และ รศ. สพ.ญ. ดร. อัจฉริยา ไศละสูต ได้รวบรวมไว้ และรวบรวมถึงปัจจุบัน ดังนี้
ปี พ.ศ. 2478 จากเตรียมสัตวแพทย์ในคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี ศ.หลวงพรต พิทยพยัต
เป็นคณบดีเปิดหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต 4 ปี
ปี พ.ศ. 2480 การสอนแผนกสัตวแพทย์ได้เริ่มขึ้นอย่างชัดเจนในโดยมี ร.อ.หลวงชัย อัศวรักษ์ เป็นผู้อำนวยการสอน มีการสอนวิชา
การสัตวแพทย์เพียง 8 วิชา
ปี พ.ศ. 2482 หลักสูตรปริญญาสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต ได้เปลี่ยนแปลงเป็นหลักสูตร 5 ปี โดยที่แผนกพยาธิวิทยา และแบคทีเรีย
วิทยา รับผิดชอบสอนในชั้นปีที่ 4 และเป็นวิชาที่มีเนื้อหารวมหลายอย่าง คือ พยาธิวิทยา แบคทีเรียวิทยา ไวรัสวิทยา
และปรสิตวิทยา
ปี พ.ศ. 2485 แผนกสัตวแพทยศาสตร์ ได้ยกฐานะเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ ในวันที่ 10 มีนาคม 2485 ขึ้นกับ กรมมหาวิทยาลัย
แพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข โดย พ.ท. หลวงชัย อัศวรักษ์ เป็นคณบดี รศ.น.สพ. เตียง ตันสงวน เป็นหัวหน้า
แผนกพยาธิวิทยา และแบคทีเรียวิทยา
ปี พ.ศ. 2497 คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้โอนย้ายจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กระทรวงเกษตร
(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน) โดยมี ศ. น.สพ. เตียง ตันสงวน เป็นคณบดี ในวันที่ 28 ธันวาคม 2497
ปี พ.ศ. 2500 คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต เป็น 6 ปี จนถึงในปัจจุบัน โดยมีแผนกที่
รับผิดชอบเกี่ยวกับการสอน ในขณะนั้น 10 แผนก มี ศ. น.สพ. เตียง ตันสงวน เป็นหัวหน้าแผนกพยาธิวิทยา
อ. น.สพ. ดร. เล็ก ธนสุกาญจน์ เป็นหัวหน้าแผนกแบคทีเรีย และ อ. น.สพ. จิตร วรมนตรี เป็นหัวหน้าแผนกปรสิต
วิทยา แต่เนื่องจากยังขาดความพร้อม จึงให้นิสิตเรียนวิชาพยาธิวิทยาทั่วไป(General Pathology)ที่คณะแพทยศาสตร์
และ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยมี ศ.นพ. ประดิษฐ์ ตันสุรัต รับผิดชอบช่วยสอนให้
ปี พ.ศ. 2502 – 2504
ได้เชิญ Professor Zacarias de Jesus ผู้เชี่ยวชาญชาวฟิลิปปินส์ จาก Department of Veterinary Parasitology,
The College of Veterinary Medicine and Graduate School, University of Philippines มาเป็นที่ปรึกษา
และพัฒนาการสอนวิชาปรสิตวิทยา
ปี พ.ศ. 2507 Dr. Rue Jensen, Dean College of Veterinary Medicine, Colorado State University, U.S.A. ได้รับเชิญให้มาเป็น
ที่ปรึกษาการบริหารคณะ และได้ช่วยพัฒนาทางด้านวิชาการ โดยเฉพาะด้านพยาธิวิทยา และปรสิตวิทยา ภายใต้ความ
ร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัย ฮาวาย
ปี พ.ศ. 2510 คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้โอนย้ายจากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กลับมา สังกัดจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย อีกครั้ง
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2510 โดยมี ศ. น.สพ. เตียง ตันสงวน คณบดี เป็นหัวหน้าแผนกพยาธิวิทยา ศ. น.สพ. ดร. เล็ก
ธนสุกาญจน์ เป็นหัวหน้าแผนกแบคทีเรีย และ อ.สพ.ญ.ดร. สุภรณ์ โพธิ์เงิน เป็นหัวหน้าแผนกปรสิตวิทยา
ปี พ.ศ. 2511 – 2512
ได้เชิญ Major W.L. Wooding และ Major J.D. Pulliam สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพยาธิวิทยา ชาวอเมริกันจาก
SEATO มาช่วยสอน และพัฒนาการสอนวิชาพยาธิวิทยา
ปี พ.ศ. 2513 ได้เชิญ Professor Dr. Karl Friedhoff จากประเทศเยอรมันตะวันตก มาช่วยพัฒนาด้านการสอน และวิจัยทางด้าน
ปรสิตวิทยา
ปี พ.ศ. 2515 น.สพ. ดร. เล็ก ธนสุกาญจน์ เป็นหัวหน้าแผนกพยาธิวิทยา และดำเนินการรวมวิชาทางด้านพยาธิวิทยา แบคทีเรีย
วิทยา และปรสิตวิทยา เข้าด้วยกันเป็นแผนกพยาธิวิทยา
ปี พ.ศ. 2518 แผนกพยาธิวิทยาเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกวิชาพยาธิวิทยา
ปี พ.ศ. 2519 ศ. น.สพ. ดร. เล็ก ธนสุกาญจน์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาพยาธิวิทยา ได้แบ่งแผนกวิชาเป็น 3 หน่วยงาน คือ
หน่วยพยาธิวิทยา หน่วยจุลชีววิทยา และหน่วยปรสิตวิทยา
ปี พ.ศ. 2522 แผนกวิชาพยาธิวิทยาเปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาพยาธิวิทยา และยังคงแบ่งหน่วยงานเป็น 3 หน่วยงาน
ปี พ.ศ. 2528 วิชาไวรัสวิทยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยจุลชีววิทยา ได้แยกการบริหารออกเป็นหน่วยไวรัสวิทยา
ปี พ.ศ. 2539 หน่วยจุลชีววิทยาได้จัดตั้งเป็นภาควิชาจุลชีววิทยา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2539
ปี พ.ศ. 2539 ภาควิชาพยาธิวิทยาประกอบด้วย 3 หน่วยย่อย คือ หน่วยพยาธิวิทยา หน่วยปรสิตวิทยา และหน่วยไวรัสวิทยา
ปี พ.ศ. 2556 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2556 หน่วยไวรัสวิทยา ได้ย้ายไปสังกัด ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา จึงเหลือเพียง
2 หน่วยงาน คือ หน่วยพยาธิวิทยา และหน่วยปรสิตวิทยา จนถึงปัจจุบัน
บุคลากร
อาจารย์
เจ้าหน้าที่บริหารภาควิชา
พยาธิสัตวแพทย์
นักวิจัย
เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์
เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์
เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์
นางสาว
นริศรา ฉิมนาคบุญ
เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์
เจ้าหน้าที่ธุรการ
เจ้าหน้าที่ทั่วไป
หลักสูตรที่เปิดสอน
ชื่อหลักสูตร : ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์คลินิก (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2557)
ชื่อย่อ : ป.บัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์คลินิก
ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน TRANSCRIPT : FIELD OF STUDY: VETERINARY PATHOBIOLOGY
1. ลักษณะและประเภทของหลักสูตร : หลักสูตรปกติ (เชิงการจัดการและการจัดเก็บเงิน)
2. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. การรับเข้าศึกษา : รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ
5. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร : -
6. ระบบการจัดการศึกษา : ระบบทวิภาคและ ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
และมีการจัด การศึกษาภาคฤดูร้อน
7. การลงทะเบียนเรียน : ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาปกติไม่เกิน 15 หน่วยกิต
ภาคฤดูร้อนไม่เกิน 6 หน่วยกิต
8. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา : สำเร็จปริญญาสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยของรัฐ
หรือมหาวิทยาลัยอื่นๆที่ สัตวแพทยสภารับรอง
: คุณสมบัติอื่นๆเป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป
หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
9. หลักสูตร : จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 24 หน่วยกิต 114 วิชา ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี
10. โครงสร้างหลักสูตร : จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 24 หน่วยกิต
: รายวิชาบังคับร่วม 9 หน่วยกิต
: รายวิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา 5 หน่วยกิต
: รายวิชาเลือก 10 หน่วยกิต
11. รายวิชาเรียน
• รายวิชาบังคับร่วม 9 หน่วยกิต
3100701 สัมมนาคลินิกปฏิบัติ 1 2 (2-0-6)
Seminar in Veterinary Clinical Science I
3100702 สัมมนาคลินิกปฏิบัติ 2 2 (2-0-6)
Seminar in Veterinary Clinical Science II
3100703 คลินิกปฏิบัติทั่วไป 1 2 (0-6-2)
General Clinical Practice I
3100704 คลินิกปฏิบัติทั่วไป 2 3 (0-9-3)
General Clinical Practice II
• รายวิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา 5 หน่วยกิต
แขนงวิชาพยาธิวิทยาชันสูตร (Veterinary Pathology)
3105715 สัมมนาพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์ 1 1 (1-0-3)
Seminar in Veterinary Pathology I
3105716 สัมมนาพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์ 2 1 (1-0-3)
Seminar in Veterinary Pathology II
3105721 การแปลผลการวินิจฉัยโรค 1 (1-0-3)
Diagnostic Interpretation
3105775 การศึกษาด้วยตนเองทางพยาธิวิทยาชันสูตร 2 (0-0-8)
Independent Study in Veterinary Pathology
• รายวิชาเลือก 10 หน่วยกิต
12. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
• ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมขั้นตํ่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
• เกณฑ์อื่นๆ เป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรในแต่ละปีการศึกษา
ชื่อหลักสูตร : วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)
ชื่อย่อ : วท.ม.
ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน TRANSCRIPT : FIELD OF STUDY: VETERINARY PATHOBIOLOGY
1. ลักษณะและประเภทของหลักสูตร : หลักสูตรปกติ (เชิงการจัดการและการจัดเก็บเงิน)
2. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
3. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. การรับเข้าศึกษา : รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ
5. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร :
ลำดับ |
ชื่อ – นามสกุล |
ตำแหน่ง |
คุณวุฒิ |
สาขาวิชา |
สำเร็จการศึกษา |
|
สถาบัน |
ปีที่สำเร็จ |
|||||
1 |
ณุวีร์ ประภัสระกูล |
รองศาสตราจารย์ |
สพ. บ. |
จุฬาฯ |
2539 |
|
Ph.D. |
Animal Production |
Tokyo University of Agriculture |
2546 |
|||
2 |
ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดิ์ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ |
สพ. บ. |
จุฬาฯ |
2539 |
|
วท.ม. |
พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ |
จุฬาฯ |
2542 |
|||
Ph.D. |
Tropical Medicine |
Mahidol University |
2546 |
|||
3 |
ธีระยุทธ แก้วอมตวงศ์ |
รองศาสตราจารย์ |
สพ. บ. (เกียรตินิยม) |
จุฬาฯ |
2542 |
|
Ph.D. |
Veterinary Pathology |
The United Graduated School of |
2550 |
6. ระบบการจัดการศึกษา : ระบบทวิภาคและ ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
และมีการจัด การศึกษาภาคฤดูร้อน
7. การลงทะเบียนเรียน : ระดับมหาบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาปกติไม่เกิน 15 หน่วยกิต
ภาคฤดูร้อนไม่เกิน 6 หน่วยกิต
8. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา : สำเร็จปริญญาสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิต แพทยศาสตร์บัณฑิต ทันตแพทยศาสตร์
บัณฑิต เภสัชศาสตรบัณฑิต หรือสำเร็จปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยา
ศาสตร์ชีวภาพ หรือสุขภาพ หรือเทียบเท่า
: คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัย จะประกาศให้ทราบเป็นปีๆ ไป
หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตร พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
9. หลักสูตร : จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี
แผนการศึกษา |
จำนวนหน่วยกิต(หน่วยกิต) |
ระยะเวลาการศึกษา (ปี) |
แผน ก แบบ ก1 |
36 |
2 |
แผน ก แบบ ก2 |
36 |
2 |
10. โครงสร้างหลักสูตร : แผน ก แบบ ก1 (รหัสหลักสูตร 2622): Coursework program
: แผน ก แบบ ก2 (รหัสหลักสูตร 2623): Non- coursework program
|
แผน ก แบบ ก1 |
แผน ก แบบ ก2 |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร |
36 |
36 |
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ |
36 |
18 |
11. รายวิชาเรียน
• รายวิชาบังคับ 7 หน่วยกิต
3100700 วิธีวิทยาการวิจัยทางสัตวแพทยศาสตร์ 2 (2-0-6)
Research Methodology in Veterinary Science
3105700 ชีววิทยาระดับโมเลกุลประยุกต์ 3 (3-0-9)
Applied Molecular Biology
3105702 สัมมนาพยาธิชีววิทยา 2 (2-0-6)
Seminar in Pathobiology
• รายวิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา
แผน ก แบบ ก1 36 หน่วยกิต
แผน ก แบบ ก2 18 หน่วยกิต
• รายวิชาเลือก 11 หน่วยกิต
รายละเอียดวิชาเลือก
12. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
• แผน ก แบบ ก1
1. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
2. การเผยแพร่วิทยานิพนธ์
ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ได้รับการตีพิมพ์ หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทาง
วิชาการหรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings)
• แผน ก แบบ ก2
1. ได้ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
2. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
3. การเผยแพร่วิทยานิพนธ์
ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์
ทางวิชาการหรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings)
ชื่อหลักสูตร : วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)
ชื่อย่อ : วท.ด.
ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน TRANSCRIPT : FIELD OF STUDY: VETERINARY PATHOBIOLOGY
1. ลักษณะและประเภทของหลักสูตร : หลักสูตรปกติ (เชิงการจัดการและการจัดเก็บเงิน)
2. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
• แบบ 1.1 ผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต 60 หน่วยกิต
• แบบ 1.2 ผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต 72 หน่วยกิต
• แบบ 2.1 ผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต 60 หน่วยกิต
• แบบ 2.2 ผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต 72 หน่วยกิต
3. รูปแบบของหลักสูตร : ปริญญาโท
4. ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5. การรับเข้าศึกษา : รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ
6. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร :
ลำดับ |
ชื่อ – นามสกุล |
ตำแหน่ง |
คุณวุฒิ |
สาขาวิชา |
สำเร็จการศึกษา |
|
สถาบัน |
ปีที่สำเร็จ |
|||||
1 |
ณุวีร์ ประภัสระกูล |
รองศาสตราจารย์ |
สพ. บ. |
จุฬาฯ |
2539 |
|
Ph.D. |
Animal Production |
Tokyo University of Agriculture |
2546 |
|||
2 |
ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดิ์ |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ |
สพ. บ. |
จุฬาฯ |
2539 |
|
วท.ม. |
พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ |
จุฬาฯ |
2542 |
|||
Ph.D. |
Tropical Medicine |
Mahidol University |
2546 |
|||
3 |
ธีระยุทธ แก้วอมตวงศ์ |
รองศาสตราจารย์ |
สพ. บ. (เกียรตินิยม) |
จุฬาฯ |
2542 |
|
Ph.D. |
Veterinary Pathology |
The United Graduated School of |
2550 |
7. ระบบการจัดการศึกษา : ระบบทวิภาคและ ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
และมีการจัด การศึกษาภาคฤดูร้อน
8. การลงทะเบียนเรียน : ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาปกติไม่เกิน 15 หน่วยกิต
ภาคฤดูร้อนไม่เกิน 6 หน่วยกิต
9. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา :
• สำหรับผู้สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต แบบ 1.1 และ แบบ 2.1
1) สำเร็จปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตหรือเทียบเท่าจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมอย่างน้อย 3.25 ตามระบบ
คะแนน 4 แต้ม
2) คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัย จะประกาศให้ทราบเป็นปีๆไป หรือคณะกรรมการบริหาร
หลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้
• สำหรับผู้สำเร็จปริญญาบัณฑิต แบบ 1.2 และ แบบ 2.2
1) สำเร็จปริญญาสัตวแพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม แพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต
เกียรตินิยมเภสัชศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม คะแนนเฉลี่ยสะสม อย่างน้อย 3.25 ตามระบบคะแนน 4 แต้ม
2) คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศ ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหาร
หลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษาได้
10. หลักสูตร : จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรและะยะเวลาการศึกษา
แบบ 1
แบบ 1.1 ผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต 60 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
แบบ 1.2 ผู้ที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต 72 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
แบบ 2
แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญามหาบัณฑิต 60 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาบัณฑิต 72 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
11. โครงสร้างหลักสูตร : จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรและระยะเวลาการศึกษา
รหัสหลักสูตร |
แบบ 1.1 |
แบบ 1.2 |
แบบ 2.1 |
แบบ 2.2 |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร |
60 |
72 |
60 |
72 |
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ |
60 |
72 |
48 |
48 |
12. รายวิชาเรียน
• รายวิชาบังคับ แบบ 2.1 และแบบ 2.2 7 หน่วยกิต
3100700 วิธีวิทยาการวิจัยทางสัตวแพทยศาสตร์ 2 (2-0-6)
Research Methodology in Veterinary Science
3105700 ชีววิทยาระดับโมเลกุลประยุกต์ 3 (3-0-9)
Applied Molecular Biology
3105702 สัมมนาพยาธิชีววิทยา 2 (2-0-6)
Seminar in Pathobiology
• รายวิชาเลือก
แบบ 2.1 5 หน่วยกิต
แบบ 2.2 17 หน่วยกิต
• วิทยานิพนธ์
แบบ 1.1 60 หน่วยกิต
แบบ 1.2 72 หน่วยกิต
แบบ 2.1 และแบบ 2.2 48 หน่วยกิต
• การสอบวัดคุณสมบัติ
การสอบวัดคุณสมบัติ S/U
Qualifying Examination
13. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
• หลักสูตรระดับปริญญาเอก
แบบ 1
- สอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (qualifying exam)
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
- การเผยแพร่วิทยานิพนธ์
- หลักสูตรกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์กายภาพ
ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรือยอมรับให้ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารทาง
วิชาการ จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งต้องเป็นวารสารระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 ฉบับ
แบบ 2
- ได้ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
- สอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (qualifying exam)
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
- การเผยแพร่วิทยานิพนธ์
- หลักสูตรกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์กายภาพ
ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรือยอมรับให้ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารทาง
วิชาการ ระดับนานาชาติ จำนวน 1 ฉบับ
STAR
Virome ของสัตว์และการพัฒนาการวินิจฉัย
หน่วยปฏิบัติการวิจัยพยาธิวิทยาในสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงพิเศษและสัตว์น้ำ
1. เพื่อศึกษาวิจัย เป็นแหล่งอ้างอิง พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้
2. การเฝ้าระวังโรค การศึกษาพยาธิวิทยาเปรียบเทียบในทางการแพทย์
3. การผลิตบัณฑิตศึกษา และบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านพยาธิวิทยา
CE
มะเร็งในสัตว์
งานบริการตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา
ติดต่อสอบถาม ( 0-2218-9613 )
ที่ตั้ง
หน่วยพยาธิวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา
ชั้น 8 อาคารสัตววิทยจักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ติดต่อเจ้าหน้าที่
-
นางสาว ศิระสา สุขพิศาล (เจ้าหน้าที่บริหารภาควิชา)
02-2189615 ssicecy@gmail.com -
นาง วันทนา อัศวเลิศแสงดี (เจ้าหน้าที่ธุรการหน่วย)
022189621 wantana.u@chula.ac.th