เกี่ยวกับเรา

ประวัติภาควิชาเภสัชวิทยา

         ภาควิชาเภสัชวิทยาในระยะเริ่มแรกนั้นยังไม่มีอาจารย์ประจำภาควิชา มีแต่รักษาการหัวหน้าภาคฯ คือ ศ.พ.ท.น.สพ. หลวงชัยอัศวรักษ์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2485 เมื่อมีสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตจบเป็นรุ่นที่ 2จึงมีอาจารย์ประจำภาควิชาคนแรกและดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกเภสัชวิทยาด้วย คือ อาจารย์ น.สพ. ม.ร.ว.ชนาญวัต เทวกุล การเรียนการสอนวิชาเภสัชวิทยาในระยะแรกเป็นการเรียน Materia Medica ตามแบบอย่างของประเทศอังกฤษและได้รับความร่วมมือจากคณะเภสัชศาสตร์ ช่วยสอนด้านเภสัชกรรมหรือการปรุงยา เมื่ออาจารย์ ม.ร.ว. ชนาญวัต เข้ามาเป็นอาจารย์จึงได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีวิชาปฏิบัติการมากขึ้น และรับอาจารย์ที่จบเภสัชศาสตร์คืออาจารย์สุพิศ (ถมังรักษ์สัตว์) จินดาวณิค เข้ามาช่วยทั้งการสอนเภสัชกรรมและการปฏิบัติการด้านสรีรวิทยาและเภสัชวิทยา ต่อมาอาจารย์สุพิศย้ายไปสอนวิชาชีวเคมีซึ่งสังกัดภาควิชาสรีรวิทยา  ประมาณปี พ.ศ. 2499 เมื่ออาจารย์ ม.ร.ว. ชนาญวัต ได้รับการติดต่อไปช่วยสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์จึงได้ย้ายสังกัดและมีความก้าวหน้าในราชการเรื่อยมาจนเกษียณอายุในตำแหน่งศาสตราจารย์

 

 

อาจารย์ น.สพ.ประสงค์ เตมียาจล, M.R.C.V.S.* เข้ารับตำแหน่งอาจารย์ประจำ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกเภสัชวิทยาเป็นลำดับถัดมา จนเกษียณอายุราชการในตำแหน่งศาสตราจารย์เมื่อปี พ.ศ. 2511 ระยะนี้ภาควิชาฯได้รับโอนบุคลากรจากกรมปศุสัตว์เข้าดำรงตำแหน่งอาจารย์โทเมื่อปี พ.ศ. 2510 คือ อาจารย์ น.สพ.ดานิษ ทวีติยา-นนท์ โดยมีรักษาการหัวหน้าภาควิชาฯคือ ศ. มานิต พยัคฆนันทน์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสัตวบาลในขณะนั้น เมื่อ ศ.มานิต พยัคฆนันทน์ เกษียณอายุราชการ อาจารย์ ดานิษ ซึ่งต่อมาได้รับทุนไปศึกษาณ ประเทศเดนมาร์ค และได้รับ Cert. in Vet Pharmacology จาก The Royal Agriculture and VeterinaryCollege เข้ารับตำแหน่งรักษาการหัวหน้าภาควิชาฯอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนดำรงตำแหน่งจริงใน ปี พ.ศ. 2516 จนถึง2526 และอีกช่วงหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2531 – 2535 อาจารย์ดานิษถึงวาระเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองศาสตราจารย์เมื่อปี พ.ศ. 2540 ในช่วงเวลาที่ อ. ดานิษ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา ได้ดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นโดยแบ่งการเรียนการสอนวิชาเภสัชวิทยาเป็นเภสัชวิทยาทั่วไปและเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์มีการแยกหน่วยกิตบรรยายและปฏิบัติอย่างชัดเจน แต่ยังรวมอยู่ในวิชาเดียวกัน มีการทดลองในห้องปฏิบัติการ และนำนิสิตออกภาคสนามทั้งการฝึกปฏิบัติบริหารยาในปศุสัตว์ชนิดต่างๆ และการเยี่ยมชมโรงงานยาเช่นที่เคยปฏิบัติมา และในระยะต่อมาได้แยกวิชาเภสัชวิทยาทั่วไปออกเป็น 2 วิชาคือ ภาคทฤษฎี (เภสัชวิทยา 1) และภาคปฏิบัติ (เภสัชวิทยา 2) โดยยังคงวิชาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์ไว้ในชื่อเภสัชวิทยา 3 และเพิ่มวิชาพิษวิทยาเข้ามาในหลักสูตร  นอกเหนือจากรายวิชาที่เพิ่มขึ้น จำนวนอาจารย์ในภาควิชาก็เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนปีที่ผ่านไป ดังนี้

พ.ศ. 2516 - อาจารย์ น.สพ.สมเกียรติ ทาจำปา เข้ารับราชการ ซึ่งต่อมาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศเยอรมัน เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2543 – 2547 รวมทั้งตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาของคณะฯนอกจากนี้ยังเคยรับตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีในช่วงปี พ.ศ. 2541 อีกด้วย ในระยะที่ อ. สมเกียรติเป็นหัวหน้าภาคฯได้มีการเปิดรายวิชา“การฝึกปฏิบัติด้านเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์” ให้กับนิสิตชั้นปีที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2544 นับเป็นการเข้าสู่ยุคของ Clinical Pharmacology อย่างเต็มตัว หลังจากที่ได้มีการปูพื้นความคิดเรื่องนี้มาโดยตลอดจากอาจารย์ในยุคแรกๆ อ.สมเกียรติถึงวาระเกษียณอายุในตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 255

* Member of the Royal College of Veterinary Surgeon ประเทศอังกฤษ คนไทยที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพสัตวแพทย์ (M.R.C.V.S.) และมีสิทธิ์ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ในอังกฤษมี 6 ท่าน ได้แก่ ศ.พ.ท.น.สพ. หลวงชัยอัศวรักษ์, น.สพ. ไพโรจน์ (ลออ) คุ้มไพโรจน์, ศ.น.สพ. กำแหง พลางกูร, น.สพ. สำราญ วรรณพฤกษ์,ศ.น.สพ. ลำพูน ศศิบุตร์ และ ศ.น.สพ. ประสงค์ เตมียาจล

รายชื่ออาจารย์

ตำแหน่ง

ระหว่างปี

ศ.พ.ท.น.สพ. หลวงชัยอัศวรักษ์

หัวหน้าภาควิชา

พ.ศ.2485 - 2503

อาจารย์ น.สพ. ม.ร.ว.ชนาญวัต เทวกุล

อาจารย์

พ.ศ.2499

อาจารย์สุพิศ (ถมังรักษ์สัตว์) จินดาวณิค

อาจารย์

 

อาจารย์ น.สพ.ประสงค์ เตมียาจล

หัวหน้าภาควิชา

พ.ศ.2511

ศ.มานิต พยัคฆนันทน์

หัวหน้าภาควิชา

พ.ศ.2511 - 2516

รศ.น.สพ.ดานิศ ทวีติยานนท์

หัวหน้าภาควิชา

พ.ศ.2516 - 2526

พ.ศ.2531- 2535

รศ.น.สพ.ดร.สมเกียรติ ทาจำปา

หัวหน้าภาควิชา

พ.ศ. 2543 – 2547

 

รศ.สพ.ญ.ดร.วรา (จันทร์ศิริศรี) พานิชเกรียงไกร

 

หัวหน้าภาควิชา

พ.ศ. 2527–2531

พ.ศ. 2535 – 2539

พ.ศ. 2539 – 2543

พ.ศ. 2547-2549

 

 

พ.ศ.2549-2552

รศ.ภญ.ดร.สุพัตรา (นวอภิศักดิ์) ศรีไชยรัตน์

อาจารย์

พ.ศ.2520 - 2556

รศ. สพ.ญ.ดร.อนงค์ (โรจนโกมล) บิณฑวิหค

อาจารย์

พ.ศ. 2537 - 2556

รศ.ดร.ร.ท.หญิง สพ.ญ.เนาวรัตน์ สุธัมนาถพงษ์

อาจารย์

พ.ศ.2540 - ปัจจุบัน

รศ.สพ.ญ.ดร.ศิรินทร หยิบโชคอนันต์

หัวหน้าภาควิชา

พ.ศ.2549 - 2552

รศ.สพ.ญ. ดร.ปิยะรัตน์ (ศุภชลัสถ์) จันทร์ศิริพรชัย

หัวหน้าภาควิชา

พ.ศ. 2553-2556

พ.ศ. 2556-2561

ผศ.สพ.ญ.ดร.นิภัทรา (เทพวัลย์) สวนไพรินทร์

หัวหน้าภาควิชา

พ.ศ.2561- 2565

พ.ศ.2565 - ปัจจุบัน

ผศ.น.สพ.ดร.เจนภพ  สว่างเมฆ

อาจารย์

พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน

อาจารย์ สพ.ญ.ดร.กมลทิพย์  ถึงรัตน์

อาจารย์

1 ก.พ.2559 – 30 ก.ย.2559

 

พ.ศ. 2518 - อาจารย์ สพ.ญ. วรา (จันทร์ศิริศรี) พานิชเกรียงไกร เข้ารับราชการซึ่งต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศสหรัฐอเมริกา เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯในช่วงปี 2527–2531, 2535 – 2539, 2539 – 2543 และ 2547 จนถึง 1 ก.พ. 2549-2552 ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายบริหารคณะสัตวแพทยศาสตร์  ในช่วงเวลาที่ อาจารย์วรา ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคฯ ได้มีการขยายความรับผิดชอบด้านการเรียนการสอนของภาควิชาเพิ่มเติมจากระดับปริญญาตรีในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นระดับปริญญาโท สหสาขาวิชาเภสัชวิทยาซึ่งเริ่มหลักสูตรในปี พ.ศ. 2531 และมีการปูพื้นฐานการร่างหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์ อ. วราถึงวาระเกษียณอายุในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์

 

พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2520 – อาจารย์ สุพัตรา (นวอภิศักดิ์) ศรีไชยรัตน์ ซึ่งต่อมาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศเยอรมัน เคยดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สหสาขาวิชาเภสัชวิทยา ซึ่งเป็นหลักสูตรหลังปริญญาตรีที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาควิชาเภสัชวิทยาของคณะแพทยศาสตร์ คณะทันต-แพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มีการรับนิสิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและขยายถึงปริญญาเอกในเวลาต่อมา อาจารย์ สุพัตรา ถึงวาระเกษียณอายุในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2556

พ.ศ. 2535อาจารย์ สพ.ญ.ศิรินทร หยิบโชคอนันต์ เข้ารับราชการซึ่งต่อมาได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคฯในช่วงปี พ.ศ. 2549 และรองคณบดีปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์เล็ก ในปี พ.ศ. 2552  เป็นผู้ริเริ่มงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรเพื่อแก้ไขภาวะเบาหวานในสัตว์ จนผลงานได้รับรางวัลรัชดาภิเษกสมโภช ปี พ.ศ. 2547 และรางวัลผลงานวิจัย จากสภาวิจัยแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2549 นอกจากนี้ยังประยุกต์หลักการใช้ยาในระดับพื้นฐานเข้าสู่การใช้จริงในทางคลินิกซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่องรวมทั้งตำราวิชาการอีกหลายเล่ม อ. ศิรินทร ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2556 ในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ 

พ.ศ. 2537อาจารย์ สพ.ญ. ปิยะรัตน์ (ศุภชลัสถ์) จันทร์ศิริพรชัย เข้ารับราชการซึ่งต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศญี่ปุ่น ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯในช่วงปี พ.ศ. 2553-2556 และ ปี พ.ศ. 2556-2561เป็นผู้ที่สนใจการนำยาไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยารักษาโรคผิวหนังในสัตว์เลี้ยงซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตำราวิชาการอีกหลายเล่ม  นอกจากนี้ อ.ปิยะรัตน์ ยังมีผลงานวิจัยด้านการใช้สมุนไพรในสัตว์โดยผลงานที่ได้รับรางวัล Nagai Award จากประเทศญี่ปุ่นคือการใช้เจลทุเรียนในการรักษาแผลในสัตว์

พ.ศ. 2537อาจารย์ สพ.ญ. อนงค์ (โรจนโกมล) บิณฑวิหค โอนย้ายมาจากกรมปศุสัตว์ตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษด้านตรวจสอบและวิเคราะห์ทางวิชาการสัตวแพทย์ (พิษวิทยา) กลุ่มงานพิษวิทยาและชีวเคมี กองวิชาการ ซึ่งต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2538 ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 และเลขาธิการสภาคณาจารย์ ปี พ.ศ.2552 นับเป็นกำลังสำคัญของภาควิชาในด้านการเรียนการสอนวิชาพิษวิทยา รวมทั้งการให้บริการชันสูตรด้านพิษวิทยา นอกจากนี้ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปศุสัตว์ของคณะฯตั้งแต่ พ.ศ. 2547-2556 อ. อนงค์ ถึงวาระเกษียณอายุในตำแหน่งรองศาสตราจารย์ เมื่อปี พ.ศ. 2556

 

 

พ.ศ. 2540อาจารย์ ดร. ร.ท.หญิง สพ.ญ.เนาวรัตน์ สุธัมนาถพงษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศญี่ปุ่น เคยรับราชการที่กรมการสัตว์ทหารบก และทำงานเป็นนักวิจัยในฝ่ายวิจัยและพัฒนายาของภาคธุรกิจก่อนเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาเภสัชวิทยา  ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8 เป็นกำลังสำคัญของภาควิชาในด้านการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์ และผู้อำนวยการหลักสูตร สหสาขาวิชาเภสัชวิทยาในช่วงปี พ.ศ. 2555 – 2560 เป็นผู้ที่สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับพิษวิทยา ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์รวมทั้งตำราวิชาการหลายเล่ม

พ.ศ. 2540อาจารย์ สพ.ญ.นิภัทรา (เทพวัลย์) สวนไพรินทร์ เข้ารับราชการซึ่งต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศสหรัฐอเมริกา อ.นิภัทรา มีความเชี่ยวชาญในด้านเภสัชจลนศาสตร์ของยาในสัตว์รวมทั้งมีงานวิจัยในด้านการดื้อยาของยาปฏิชีวนะซึ่งได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ อ.นิภัทรา ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องเกี่ยวกับยาสัตว์และมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง นับเป็นกำลังสำคัญของภาควิชาในด้านการเรียนการสอนและงานวิจัยของนิสิตทั้งระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา

พ.ศ. 2556อาจารย์ น.สพ.ดร.เจนภพ  สว่างเมฆ เข้าปฏิบัติงานพนักงานมหาวิทยาลัย (อาจารย์ A-5) จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์ และปริญญาเอก สาขาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์ ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางไปฝึกอบรมและทำวิจัยในโครงการ 2013 Fulbright Research Visiting Scholar ณ Department of Bioengineering, School of Medicine, University of Washington (UW), Seattle, USA และไปทำวิจัยในฐานะ 2017 Research Visiting Scholar ณ Department of Molecular and Regenerative Prosthodontics, Graduate School of Dentistry, Tohoku University, Sendai, Japan ศึกษาวิจัยด้าน “การแพทย์และเภสัชศาสตร์ฟื้นฟูโดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิด” (Regenerative Medicine / Pharmacology using Stem Cell-based Therapy) เพื่อคิดค้นวิธีการนำเซลล์ต้นกำเนิดทั้งในส่วนของเซลล์ต้นกำเนิดจากการเหนี่ยวนำ (induced-pluripotent stem cells; iPSCs) และเซลล์ต้นกำเนิดในเนื้อเยื่อที่โตเต็มวัย (adult stem cells; ASCs) มาใช้ประโยชน์ในทางการสัตวแพทย์ (mainly focus on diabetes mellitus, eye diseases, and bone regeneration in veterinary practice) มีความสนใจด้าน clinical pharmacology ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ diabetes, pain management และ gastrointestinal drugs เป็นอาจารย์พิเศษและวิทยากรรับเชิญ รวมถึงกรรมการในหน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สัตวแพทยสภา ชมรมผู้ใช้ยาและชีวภัณฑ์สำหรับสัตว์      

 

บุคลากร


ผศ.สพ.ญ.ดร.นิภัทรา  สวนไพรินทร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
นิภัทรา สวนไพรินทร์

อาจารย์

อีเมล : Nipattra.d@chula.ac.th

เบอร์โทร : 02-2189732

รศ.ดร.ร.ท.หญิง สพ.ญ.เนาวรัตน์ สุธัมนาถพงษ์

รองศาสตราจารย์ ดร.ร.ท.หญิง สพ.ญ.
เนาวรัตน์ สุธัมนาถพงษ์

อาจารย์

อีเมล : Naowarat.S@chula.ac.th

เบอร์โทร : 02-2189729

รศ.สพ.ญ.ดร.ปิยะรัตน์ จันทร์ศิริพรชัยพร

รองศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.
ปิยะรัตน์ จันทร์ศิริพรชัย

อาจารย์

อีเมล : Piyarat.C@chula.ac.th

เบอร์โทร : 02-2189725

รศ. น.สพ. ดร. เจนภพ สว่างเมฆ

รศ. น.สพ. ดร.
เจนภพ สว่างเมฆ

อาจารย์

อีเมล : Chenpop.S@chula.ac.th

เบอร์โทร : 02-2189726

อาจารย์

อาจารย์ สพ.ญ.ดร.
กานต์อนุช วสุนธรารักษ์

อาจารย์

อีเมล : Kananuch.V@chula.ac.th

เบอร์โทร : 02-2189728

ภรัณโรจน์ จิรจริยาพัทธ์

นาย
ภรัณโรจน์ จิรจริยาพัทธ์

เจ้าหน้าที่บริหารภาควิชา

อีเมล : pharunrot.ji@chula.ac.th

เบอร์โทร : 02-2189731

กรณิศ  พัฒนชัย

นางสาว
กรณิศ พัฒนชัย

เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์

อีเมล : koranit.p@chula.ac.th

เบอร์โทร : 02-2189705

ปิยะวรรณ  เจริญเลิศกุล

นางสาว
ปิยะวรรณ เจริญเลิศกุล

เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์

อีเมล : Piyawan.c@chula.ac.th

เบอร์โทร : 0-22189727

หลักสูตรที่เปิดสอน

แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2566
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์คลินิก
Graduate Diploma in Veterinary Clinical Sciences (Veterinary Clinical Pharmacology)

 

 ภาคต้น

สัมมนาคลินิกปฏิบัติ 1

2 หน่วยกิต

คลินิกปฏิบัติทั่วไป 1

2 หน่วยกิต

วิชาเลือก

เภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์ขั้นสูง

2 หน่วยกิต

ฝึกปฏิบัติงานห้องยา

2 หน่วยกิต

การศึกษาด้วยตนเองทางเภสัชวิทยาคลินิก

2 หน่วยกิต

การศึกษาด้วยตนเองทางพิษวิทยาคลินิก

2 หน่วยกิต

รวม 12 หน่วยกิต

ภาคปลาย

สัมมนาคลินิกปฏิบัติ 2

2 หน่วยกิต

คลินิกปฏิบัติทั่วไป 2

3 หน่วยกิต

วิชาบังคับเฉพาะแขนงวิชา

 

เภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์ตามระบบขั้นสูง

4 หน่วยกิต

สัมมนาเภสัชวิทยาฯ I

1 หน่วยกิต

วิชาเลือก

เภสัชวิทยาคลินิกทางสัตวแพทย์

2 หน่วยกิต

รวม 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 24 หน่วยกิต

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์คลินิก

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์คลินิก

งานวิจัยภาควิชาเภสัชวิทยา

    Translational  bioengineered stem cell-based diabetes treatment and insulin-producing cells (IPCs) production

 

Translational stem cell-based bone tissue engineering (BTE)

 

Translational bioengineered stem cell-based corneal sheet and stromal scaffold

บริการตรวจสารพิษ

 

 

 

ข่าวสารและกิจกรรม

24พ.ค. 2566
ใหม่

เปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์

หลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาเภสัชวิทยาทางสัตวแพทย์
19ส.ค. 2565
ใหม่

Veterinary Stem Cell and Bioengineering Innovation Center

Veterinary Stem Cell and Bioengineering Innovation Center (VSCBIC)
7มี.ค. 2565
ใหม่

งานวิจัย "เนื้อสุกรเพาะเลี้ยง" คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

งานวิจัย "เนื้อสุกรเพาะเลี้ยง" คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
26ส.ค. 2562
ใหม่

PN Podcast EP.1 - ทำความรู้จักยา Generic และ ยา Original

VPN Podcast EP.1 - ทำความรู้จักยา Generic และ ยา Original
1มี.ค. 2565
ใหม่

เลือกใช้ยาต้านปรสิตอย่างไรให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

เลือกใช้ยาต้านปรสิตอย่างไรให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ Anti- parasitic drug selection: Efficacy VS Safety
21ก.ย. 2564
ใหม่

สตาร์ทอัพจุฬาฯ พัฒนา stem cell | จุฬาปริทรรศน์

สตาร์ทอัพจุฬาฯ พัฒนา stem cell | จุฬาปริทรรศน์
5ก.ค. 2562
ใหม่

Vpeople : Stem cell - Cell แห่งความหวัง

Vpeople : Stem cell - Cell แห่งความหวัง
10ธ.ค. 2562
ใหม่

6thANHPERF2019 - PL5 Panel discussion: Challenges in accreditation

6thANHPERF2019 - PL5 Panel discussion: Challenges in accreditation
30พ.ค. 2565
ใหม่

รางวัลด้านการจัดการเรียนการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ | รายการสัตวแพทย์สนทนา

รางวัลด้านการจัดการเรียนการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ | รายการสัตวแพทย์สนทนา
7มิ.ย. 2565
ใหม่

การพัฒนาการเรียนการสอนเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ | รายการสัตวแพทย์สนทนา

การพัฒนาการเรียนการสอนเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ | รายการสัตวแพทย์สนทนา
20ต.ค. 2563
ใหม่

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ควรมีติดบ้าน จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ควรมีติดบ้าน จริงหรือ ?
12ม.ค. 2566
ใหม่

VPN Topic โดย รศ.สพ.ญ.ดร.ปิยะรัตน์ จันทร์ศิริพรชัย

VPN Topic โดย รศ.สพ.ญ.ดร.ปิยะรัตน์ จันทร์ศิริพรชัย

ที่ตั้ง

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาคารชัยอัศวรักษ์  ชั้น 3 ถ.อังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
เว็บไซต์ภาควิชา www.pharmaco.vet.chula.ac.th

ติดต่อเจ้าหน้าที่

Social Network