โรงพยาบาลสัตว์ นครปฐม

รพ.ปศุสัตว์สมัยแรก

                 ในปี พ.ศ. 2511 ศาสตราจารย์เตียง ตันสงวน ได้เล็งถึงความสำคัญของการที่จะให้นิสิตสัตวแพทย์ได้มีโอกาสคลุกคลีกับสัตว์ฟาร์มหรือสัตว์เศรษฐกิจมากขึ้น จึงพยายามจัดหาที่เพื่อจัดตั้งฟาร์มที่เป็นไร่ฝึกนิสิตขึ้นในสมัยนั้น พลเอกประภาส จารุเสถียร อธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขณะนั้นปรารภว่า การโอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น การโอนก็ไม่มีความหมาย จึงได้โอนที่ดินของกระทรวงมหาดไทยที่ขณะนั้นว่างเปล่าอยู่ 79 ไร่ ในเขต ต.บ่อพลับ อ. เมือง จ.นครปฐม มาเพื่อจัดเป็นไร่ฝึกแก่นิสิตใช้ฝึกปฏิบัติวิชาสัตวบาล และมหาวิทยาลัยจึงขอใช้ชื่อไร่ฝึกนิสิตจารุเสถียร เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นโดยลำดับจนปัจจุบันเป็นศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรวมถึงโรงพยาบาลปศุสัตว์ ที่นอกจากจะสนับสนุนการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัยและให้บริการปรึกษา ตรวจรักษาปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยงของประชาชนในละแวกใกล้เคียงนั้น คณะยังใช้ผลผลิตฟาร์มเป็นผลพลอยได้จำหน่ายเป็นสวัสดิการให้อาจารย์ และข้าราชการในคณะและมหาวิทยาลัย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คลินิกสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน

Facebook

แผนกคลินิกสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จังหวัดนครปฐม เป็นสถานที่มุ่งเน้นสำหรับการเรียนการสอนนิสิตเพื่อเป็นที่บ่มเพาะให้นิสิตมีความพร้อมในการเป็นสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมกับการให้บริการรักษาสัตว์แก่ชุมชน การให้บริการครอบคลุมหลากหลายด้าน ประกอบด้วยอายุกรรมทั่วไปและคลินิกเฉพาะทางด้านต่าง ๆ ซึ่งให้การบริการโดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและคณาจารย์ที่มีประสบการณ์ชำนาญเป็นผู้ให้การรักษา ในปัจจุบันแผนกสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน ได้เปิดทำการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยมีรายละเอียดการเปิดให้บริการในแผนกต่าง ๆ ดังนี้

แผนกอายุรกรรม           แผนกศัลยกรรมกระดูก       แผนกศัลยกรรมเนื้อเยื่ออ่อน
แผนกผิวหนัง                แผนกสูติกรรม                   แผนกมะเร็ง
แผนกตา                       แผนกทันตกรรม                แผนกสัตว์เลี้ยงพิเศษ
แผนกม้า

 

วันและเวลาทำการ
วันจันทร์-วันศุกร์                            ช่วงเช้า                                           ช่วงบ่าย
                                       เปิดให้บริการ 
8.30-11.30 น.            เปิดให้บริการ 13.00-16.30 น.
วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
                                       เปิดให้บริการ 8.30-11.30 น.

 

คลินิกสุกร

Facebook
คลินิกสุกร (Swine unit and consultant)
1. บริการให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพสุกรอย่างเป็นรูปธรรม (Farm consultation)           
2. ให้คำแนะนำมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพภายในฟาร์ม (Biosecurity)           
3. ให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันและควบคุมโรค (Disease Prevention & Control)           
4. จัดอบรมและให้ความรู้ด้านสุขภาพสัตว์และการผลิตสุกร (Training)

รูปแบบการให้บริการ

1. เข้าเยี่ยมฟาร์มโดยตรง (Farm visit)           
2. ให้คำปรึกษาผ่านรูปแบบสื่อออนไลน์ต่าง ๆ (Online consulting service)

เวลาทำการ             
จันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.           
หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่           
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และ ID. Line: 092-8821306           
E-mail: Chalremkwan.B@chula.ac.th

คลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง

Facebook
คลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant clinic)

ให้บริการด้านการรักษาโคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ และแกะ   สนับสนุนการเรียนการสอน  งานวิจัย   และงานศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและ
นวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี โดยสัตวแพทย์และทีมคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ

ด้านการรักษา
  • อายุรกรรม เช่น โรคไข้ขาแข็ง
  • สูติกรรม เช่น การช่วยคลอดยาก / ผิดท่า
  • ศัลยกรรม เช่น การผ่าตัดไส้เลื่อน
  • การทำวัคซีน เช่น การทำวัคซีนหูด
  • อื่น ๆ เช่น การสูนเขา  การแต่งกีบ
ด้านการจัดการฟาร์ม
  • การจัดการระบบสืบพันธุ์   
    - ตรวจท้องด้วยเครื่องอุลตร้าซาวด์
    - การเหนี่ยวนำให้เป็นสัด เช่น การทำอร์โมนเหนี่ยวนำให้เป็นสัด การสอด CIDR หรือ การนับวันผสม                   
  • การจัดการคุณภาพอาหาร
    - การเก็บตัวอย่างอาหารตรวจ
    - การคำนวณสูตรอาหาร
  • การจัดการคุณภาพน้ำนม     
    - การเก็บตัวอย่างน้ำนมตรวจ
    - การเพาะเชื้อน้ำนมที่เป็นเต้านมอักเสบ (Mastitis)

 

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่           
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 034- 270968  หรือเบอร์มือถือ ID. Line:   081-941-1631

หน่วยชันสูตรโรคสัตว์และห้องปฏิบัติการ

Facebook
หน่วยชันสูตรโรคสัตว์และห้องปฏิบัติการ (Veterinary Diagnostic and laboratory)

เปิดให้บริการสำหรับงานบริการ สนับสนุนการเรียนการสอนและรองรับงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนยุทธศาสตร์
ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  งานชันสูตรโรคสัตว์มีการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์อย่างต่อเนื่อง  โดย
ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรองรับมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของ
เจ้าหน้าที่และนิสิต/นักศึกษาที่มาปฏิบัติงานในพื้นที่แห่งนี้  งานบริการของหน่วยชันสูตรโรคสัตว์  ได้แก่  งานชันสูตรซากสัตว์  งานโลหิต
วิทยาและค่าชีวเคมี  งานปรสิตวิทยา  งานอณูชีววิทยา งานจุลชีววิทยา งานซีรั่มวิทยาและงานจุลพยาธิวิทยา สนับสนุนการเรียนการสอน
ในภาคปฏิบัติของนิสิต/นักศึกษา ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย   อีกทั้งยังเป็นพื้นที่สำหรับการทำงานวิจัยของอาจารย์  บุคลากรและนิสิต/
นักศึกษาอีกด้วย

  • เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 034-270-968 ถึง 70 หรือ 064-358-3967
    E-mail: vdlcunp@hotmail.com
    Line ID: 0643583967

       เวลาส่งตัวอย่าง
       วันจันทร์ – ศุกร์                 เช้า                                     บ่าย
                              เวลา    08.30 - 11.30 น.     
 เวลา    13.00 - 16.00 น.

       เวลาส่งชันสูตรซาก
       วันจันทร์ – ศุกร์                 เช้า                                     บ่าย
                              เวลา    08.30 - 11.30 น.      
เวลา    13.00 - 15.00 น.

แบบฟอร์มต่างๆ

Facebook

ใบส่งตัวอย่างชันสูตรซากสัตว์

สำหรับกรอกข้อมูลของสัตว์เพื่อประกอบการชันสูตรซากและวินิจฉัย

ใบส่งตรวจทางจุลพยาธิวิทยา

ใบส่งตรวจทางเซลวิทยา

ใบส่งตรวจทางอณูชีววิทยา

ใบส่งตรวจทางแบคทีเรีย

ใบส่งตรวจทางซีรั่มวิทยา

ใบแจ้งค่าใช้จ่าย นครปฐม

อาคาร โรงพยาบาลปศุสัตว์ (ส่วนหน้า)

Facebook
อาคาร โรงพยาบาลปศุสัตว์ (ส่วนหน้า) เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยชั้นล่างประกอบด้วยคลินิกรักษาสัตว์ชนิดต่าง ๆ คลินิกเฉพาะทาง ห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้นและห้องเตรียมอุปกรณ์สำหรับออกนอกพื้นที ส่วนชั้น 2 เป็นสำนักงานธุรการ ห้องประชุมและห้องเรียน

อาคาร โรงพยาบาลปศุสัตว์ (ส่วนท้าย)

Facebook
อาคาร โรงพยาบาลปศุสัตว์ (ส่วนท้าย) เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยชั้นล่างประกอบด้วยห้องชันสูตรซากสัตว์ ห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคสัตว์ สำนักงานชันสูตร และห้องรับตัวอย่างส่งตรวจ ส่วนชั้น 2 เป็นห้องปฏิบัติการเพื่อการเรียนการสอน

หอพักอาจารย์

Facebook
เป็นอาคาร 4 ชั้น สำหรับอาจารย์และบุคลากรของคณะฯ

หอพักนิสิต

Facebook
สำหรับนิสิตของคณะฯ 

หอพักบุคลากร

Facebook
สำหรับบุคลากรของโรงพยาบาลสัตว์และภาควิชาต่าง ๆ

ภาควิชาสัตวบาล

Facebook
สำนักงานของภาควิชาสัตวบาล

ภาควิชาสูติศาสตร์-เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์

Facebook
สำนักงานของภาควิชาสูติศาสตร์-เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ 

ภาควิชาอายุรศาสตร์

Facebook
สำนักงานของภาควิชาอายุรศาสตร์ 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การระบาดของโรคฮิสโตโมเนียซิสในไก่สามสายจากฟาร์มเอกชนในจังหวัดนครปฐม วันที่จัดพิมพ์วิจัย : 1 ม.ค. 2549

Histomonas meleagridis เป็นสาเหตุหลักของการระบาดในไก่สามสายอายุ 19 วัน ที่เลี้ยงในฟาร์มเอกชนแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ไก่ป่วยแสดงอาการอ่อนเพลีย ง่วง ยืนหัวตก ปีกตก ซึม กินอาหารได้น้อย ผอมแห้ง หน้าอกแหลม มีท้องเสีย อุจจาระเหลวเป็นสีเหลืองกำมะถัน จากการผ่าซากตรวจพบตับขยายใหญ่และพบเนื้อตายเป็นแอ่งกลมสีเหลือง ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม. หรือมากกว่า นอกจากนี้ยังพบการบวมน้ำบริเวณใต้ท้อง ผิวหนังและกล้ามเนื้อซีดมีสีเหลือง พบแผลเปื่อยที่ผนังไส้ตัน ผนังลำไส้หนาตัวและมีเนื้อตาย พบเนื้อตายและเศษเซลล์คล้ายเนยแข็งค้างอยู่ในไส้ตันและมีกลิ่นเหม็น รอยโรคทางจุลพยาธิวิทยา พบลักษณะเนื้อตายกระจายทั่วตับและผนังไส้ตันร่วมกับเซลล์อักเสบ โดยสามารถพบเชื้อ H. meleagridis แทรกกระจายอยู่ทั่วเนื้อตับ ไส้ตัน และไต พบการติดพยาธิ Heterakis gallinarum และ Ascaridia galli ร่วมด้วย โดยพบอัตราการป่วย ร้อยละ 1-10 และอัตราการป่วยตาย ร้อยละ 70-80 ผลการทดลองรักษาด้วย dimetridazole ในขนาดความเข้มข้นร้อยละ 0.06-0.08 ละลายน้ำให้กิน และยา furazolidone ขนาด 0.1 ซีซี/น้ำหนัก 300 กรัม/วัน พบว่าไม่ได้ผลดีในไก่ที่มีลักษณะผอมแห้งอย่างมาก

สถานภาพทางซีรั่มวิทยาของเชื้อเซอร์โคไวรัสชนิดที่ 2 ในฟาร์มสุกรในประเทศไทย วันที่จัดพิมพ์วิจัย : 16 มี.ค. 2560

การสำรวจทางพยาธิวิทยาของ Melanosis coli ในโรงเชือดในประเทศไทย วันที่จัดพิมพ์วิจัย : 11 ธ.ค. 2562

กิจกรรม

23ธ.ค. 3108
ใหม่

มอบรางวัลฟ้าหม่นคนดี

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสวัสดีปีใหม่ต้อนรับปีกระต่าย 2566 พร้อมทั้งมอบรางวัล "ฟ้าหม่นคนดี" โดยโรงพยาบาลสัตว์ จ.นครปฐม ขอแสดงความยินดีกับ นางสาว พนิดา วชิรอนันต์ เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลนี้ในสาขา บุคลากรดีเด่นสายปฏิบัติงาน ด้านงานบริการ
28พ.ย. 3108
ใหม่

โครงการสัตวแพทย์จุฬาฯ อาสาเพื่อพัฒนาชุมชนเมืองและชนบท (สพช.)

กิจกรรมการออกหน่วยบริการ “โครงการสัตวแพทย์จุฬาฯ อาสาเพื่อพัฒนาชุมชนเมืองและชนบท (สพช.) ครั้งที่ 48 พ.ศ. 2565” วันที่ 28 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. โดยมีกิจกรรมออกหน่วยบริการสุนัข แมว โค แพะ พร้อมเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ การทำหมันสุนัข แมวและม้า และดูแลรักษาแผลหลังผ่าตัด
1มิ.ย. 2563

ทำบุญตักบาตร ค่ายน้องใหม่

ทำบุญตักบาตร ค่ายน้องใหม่ ซึ่งจัดทุกปี เพื่อต้อนรับนิสิตชั้นปีที่ 1 
22ส.ค. 2562

โครงการต้นแบบการบริการชุมชนด้านการสัตวแพทย์

กิจกรรมโครงการนครปฐมเมืองแห่งความทรงจำของชาวจุฬาฯ กับต้นแบบการบริการชุมชนด้านการสัตวแพทย์ 2562 (CU Community Engagement) งานลงพื้นที่ปฏิบัติการ ณ วัดสามกระบือเผือก จ.นครปฐม
13ก.พ. 2562

โครงการ big cleaning

โครงการ big cleaning เป็นโครงการที่จัดทุกปี ณ โรงพยาบาลปศุสัตว์และศูนย์ฝึกนิสิตฯ จ.นครปฐม เพื่อให้อาจารย์ นิสิต เจ้าหน้าที่และบุคลากรของคณะฯ มาทำกิจกรรมร่วมกัน ในการทำความสะอาดและปรับปรุงพื้นที่โดยรอบให้ดีขึ้น
8พ.ย. 2561
ใหม่

ทอดกฐินของคณะฯ ประจำปี

ทอดกฐิน คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ วัดสามกระบือเผือก จ.นครปฐม

ที่ตั้ง

โรงพยาบาลปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 57 หมู่ที่ 1 ถนนทหารบก ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000

ติดต่อเจ้าหน้าที่

Social Network